หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานสอนวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ ที่กำหนดตามหลักสูตร

สมรรถนะอาชีพผู้สอนวิทยาการคํานวณและภาษาคอมพิวเตอร์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CC-SZNZ-001

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานสอนวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ ที่กำหนดตามหลักสูตร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 2320.90 : ผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาอื่นๆ, TSCO 2331.90 : ผู้สอนในระดับประถมศึกษาอื่นๆ 

ISCO 2330 : ครูสอนระดับมัธยมศึกษา, 2341 : ครูสอนระดับประถมศึกษา, ISCO 2356 : ผู้ฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, ISCO 2359 : ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ ด้านการสอน ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนเพื่อให้เกิดทักษะการคิดเชิงคำนวณ  แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน และเป็นระบบ  ประยุกต์ใช้ความรู้วิทยาการคำนวณในการแก้ปัญหาในชีวิตจริงอย่างสร้างสรรค์ พัฒนาทักษะในการค้นหา รวบรวมข้อมูล ประเมิน  วิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำสารสนเทศไปใช้ในการแก้ปัญหา  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย รู้เท่าทัน มีความรับผิดชอบ มีจริยธรรม จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นลำดับขั้นตอน คิดเป็นระบบ การคิดเชิงตรรกะ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นไปตามตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หรือรายวิชาเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพผู้สอนวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1010101

จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ 

1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ 

1010101.01 174053
1010101

จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ 

2) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนรู้จักกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน เป็นระบบ และมีเหตุผล 

1010101.02 174054
1010101

จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ 

3) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้วิทยาการคำนวณในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

1010101.03 174055
1010102

จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  

1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถรวบรวมข้อมูล ประมวลผล และประเมินผลข้อมูล เพื่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน 

1010102.01 174056
1010102

จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  

2. จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารและนำเสนอข้อมูลหรือสารสนเทศเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

1010102.02 174057
1010102

จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  

3. จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถค้นหาข้อมูลและแสวงหาความรู้บนอินเทอร์เน็ต และประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล 

1010102.03 174058
1010102

จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  

4. จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกใช้ซอฟต์แวร์หรือบริการบนอินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน

1010102.04 174059
1010103

จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย รู้เท่าทัน มีความรับผิดชอบ มีจริยธรรม

1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย 

1010103.01 174060
1010103

จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย รู้เท่าทัน มีความรับผิดชอบ มีจริยธรรม

2. จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถรู้เท่าทันสื่อ กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โดยชอบธรรม  

1010103.02 174061

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. มีความรู้ความเข้าใจในกรอบเนื้อหาวิทยาการคำนวณและตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

2. เทคนิควิธีการสอนวิทยาการคำนวณ

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    ความสามารถในการสอนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวิทยาการคำนวณและการคิดเชิงคำนวณ

2)    ความสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

3)    ความสามารถในการสื่อสารและนำเสนอ

4)    ความสามารถในด้านทักษะดิจิทัล (Digital Literacy) 

5)    ความสามารถใช้โปรแกรมประยุกต์ อาทิ โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมการนำเสนอ และโปรแกรมตารางคำนวณ

6)    ความสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบค้นและเข้าถึงข้อมูลดิจิทัล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรอบเนื้อหาวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์

2)    ความรู้เกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ดิจิทัล (Computer Science)

3)    ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Literacy)

4)    ความรู้เกี่ยวกับการรู้ด้านดิจิทัล (Digital literacy)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    อธิบายหรือระบุความรู้เกี่ยวกับการเนื้อหาการสอนวิทยาการคำนวณและการคิดเชิงคำนวณตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของผู้เรียนตามระดับชั้นที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเป็นผู้สอน

2)    วุฒิบัตร เกียรติบัตร ใบรับรองความรู้ หรือหลักฐานการอบรม ที่แสดงถึงความรู้เกี่ยวกับการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวกับวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ อาทิ หลักฐานการผ่านการอบรม C4T หรือ C4T Plus



14.2     หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    หน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ ในระดับชั้นการศึกษาที่รับผิดชอบ

2)    แฟ้มสะสมผลงานของผู้สอนและผู้เรียน

3)    ภาพถ่ายหรือวิดีทัศน์การสอนและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

4)    วุฒิบัตร เกียรติบัตร ใบรับรองหรือผลการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาครูผู้สอนที่เกี่ยวกับวิทยาการคำนวณและเทคโนโลยีของหน่วยงานต้นสังกัด, สสวท. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ สถานศึกษา



14.3     คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ ตามข้อ 14.1 และ 14.2

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ผู้สอนสามารถปฏิบัติการสอนวิทยาการคำนวณ โดยเชื่อมโยงกับสิ่งรอบตัวในชีวิตประจำวัน โดยจัดแผนการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตามระดับชั้นที่ได้รับมอบหมายจากสถานศึกษาหรือหน่วยงานต้นสังกัดให้รับผิดชอบเป็นผู้สอน

15.1 กิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง การกระทำสิ่งต่าง ๆ ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือผู้เรียนและผู้สอนเป็นผู้ร่วมกันกระทำเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทำ เปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปตามจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่ได้กำหนดไว้ 

    15.2 แฟ้มสะสมผลงาน  หมายถึง แฟ้มสะสมผลงาน ที่ประกอบไปด้วย หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ ผลงานของผู้สอนและผู้เรียน ภาพถ่ายหรือวิดิทัศน์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วุฒิบัตร เกียรติบัตร หรือหลักฐานการอบรมที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณหรือหลักฐานการผ่านการอบรม C4T 

    15.3 แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง แผนการในการปฏิบัติการสอนที่ผู้สอนจัดทำขึ้น ในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการคำนวณ ตามตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง  และเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    15.4 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง การรวบรวมข้อมูล ประมวลผล ประเมินผล นำเสนอข้อมูลหรือสารสนเทศเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริง  ค้นหาข้อมูลและแสวงหาความรู้บนอินเทอร์เน็ต การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล การเลือกใช้ซอฟต์แวร์หรือบริการบนอินเทอร์เน็ต ข้อตกลงและข้อกำหนดในการใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลต่าง ๆ หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร

    15.5 สาระการเรียนรู้ ที่ผู้สอนนำมาใช้ต้องอ้างอิงอยู่ในตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  ในสาระที่ 4 เทคโนโลยี  มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม

    15.6 ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

    15.7 วิทยาการคอมพิวเตอร์ (computer science ) หมายถึง การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ การใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน การบูรณาการกับวิชาอื่น การเขียนโปรแกรมการคาดการณ์ผลลัพธ์การตรวจหาข้อผิดพลาด การพัฒนาแอปพลิเคชันหรือพัฒนาโครงงานอย่างสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริง



ข้อแนะนำ

1.    จัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาการคำนวณ วิเคราะห์มาตรฐาน ตัวชี้วัด และหลักสูตร แล้วออกแบบการจัดการเรียนรู้ วางแผน เขียนแผนการสอนให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา ชุมชน สังคม และวัฒนธรรมของท้องถิ่น

2.    ผ่านการอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการสอนวิทยาการคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิ หลักสูตร C4T, C4T Plus


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานเชิงประจักษ์จากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน หรือผลงานที่สามารถแสดงความเป็นเจ้าของอย่างถูกต้องของผู้เข้ารับการประเมิน หลักฐานรับรองความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่ผ่านมาก่อนหน้า ที่มีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ 



ยินดีต้อนรับ