หน่วยสมรรถนะ
ควบคุมการติดตั้งระบบกลจักรตามแบบ
สาขาวิชาชีพการเดินเรือ
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | MRT-HAZB-160A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ควบคุมการติดตั้งระบบกลจักรตามแบบ |
3. ทบทวนครั้งที่ | / |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
อาชีพช่างต่อเรือยอร์ช ISCO-08 2145 วิศกรเครื่องกล (การต่อเรือ) 2145 วิศกรเครื่องกล (เครื่องกลเรือ) 3115 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมการต่อเรือ 3115 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมอุปกรณ์เรือ 7231 ช่างเครื่องและช่างปรับแต่งเครื่องยานยนต์ 7223 ช่างซ่อมเครื่องจักรกล (เครื่องยนต์เรือ) |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีความรู้และปฏิบัติงานด้านการต่อเรือ สามารถควบคุมการติดตั้งเครื่องจักรตามแบบการติดตั้งระบบกล และระบบท่อทางสำหรับเครื่องจักรตามแบบ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ช่างต่อเรือยอร์ช |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ (ฉบับที่37) พ.ศ. 2553 ข้อบังคับกรมเจ้าท่า ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และค่าธรรมเนียมการตรวจและการออกใบสำคัญรับรองการตรวจเรือ เพื่ออนุญาตให้ใช้เรือและใบสำคัญแสดงการตรวจเรือเพื่อจดทะเบียนเรือไทย สำหรับเรือเดินทะเลเฉพาะเขตและเดินชายแดน พ.ศ. 2561 International Association of Classification Societies: IACS: No.47 Shipbuilding and Repair Quality Standard (Rev.5, Oct. 2010) Classification Society: Lloyd’s Register, Rules, and Regulations for the Classification of Ships International Organization for Standardization: ISO: 12215 Small craft — Hull construction and scantling International Convention for the Safety of Life at Sea: SOLAS International Convention for the Prevention of Pollution from Ships: MARPOL |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
YB.3.2.1 ตรวจสอบแบบการติดตั้งระบบกลจักร |
ตรวจแบบ Installation ของระบบกลจักรในเรือ |
YB.3.2.1.01 | 178510 |
YB.3.2.1 ตรวจสอบแบบการติดตั้งระบบกลจักร |
ตรวจแบบ seating (ฐานแท่นเครื่องจักรและระบบท่อทาง)
ของระบบกลจักรในเรือ |
YB.3.2.1.02 | 178511 |
YB.3.2.2 ควบคุมการติดตั้งระบบกลจักรตามแบบ |
ควบคุมการติดตั้งเครื่องจักรตามแบบการติดตั้งระบบกล |
YB.3.2.2.01 | 178512 |
YB.3.2.2 ควบคุมการติดตั้งระบบกลจักรตามแบบ |
ควบคุมการติดตั้งระบบท่อทางสำหรับเครื่องจักรตามแบบ |
YB.3.2.2.02 | 178513 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills) 1. ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน 2 ทักษะในการอ่านแบบต่อเรือ 3. ทักษะในการอ่านและใช้ภาษาเชิงวิศวกรรมศาสตร์หรือเชิงเทคนิค 4. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน 5. ทักษะในการวิเคราะห์ใช้ตรรกะและเหตุผล ทักษะในการทำงาน (Soft Skills) 1. ทักษะการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team working) (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้ในการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ 2. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์และเครื่องกลเบื้องต้น 3. ความรู้ด้าน งานเครื่องกลและระบบขับเคลื่อน 4. ความรู้ในงานท่อภายในเรือ 5. ความรู้ด้าน ship structure |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้ (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
(ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน (ง) วิธีการประเมิน 1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ 2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี) 3. พิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน ร่วมกับการสอบสัมภาษณ์ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้พื้นฐานหรือเข้าร่วมปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมการติดตั้งระบบกลจักรในเรือ (ข) คำอธิบายรายละเอียด การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) หมายถึงการควบคุมคุณภาพระบบต่างๆ ของเรือให้เป็นไปตามแบบ ตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ ด้วยกระบวนการ Inspection คือกระบวนการตรวจสอบข้อบกพร่องของงาน เพื่อที่จะทำการแก้ไขหรือเปลี่ยน จากนั้นจึงทำการบันทึกและเก็บสถิติของลักษณะรวมทั้งจำนวนของงานต่างๆที่เกิดข้อบกพร่อง สำหรับนำไปวิเคราะห์สาเหตุปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น แล้วจึงทำการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ช่างสามารถทำการประกอบชิ้นงานที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับคุณสมบัติที่ตั้งไว้มากที่สุดต่อไป |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 เครื่องมือประเมิน ความเข้าใจการวางแผนการควบคุมคุณภาพการติดตั้งระบบกลจักรในเรือ (1) ข้อเขียนแบบปรนัย/อัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพการติดตั้งระบบกลจักรในเรือ (2) การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพการติดตั้งระบบกลจักรในเรือ |