หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติตามกฎของความปลอดภัยในการประกอบเรือ

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-SQDA-153A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติตามกฎของความปลอดภัยในการประกอบเรือ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างต่อเรือยอร์ช



ISCO-08



2144 วิศวกรเรือ



3115 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมการต่อเรือ



3115 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมอุปกรณ์เรือ



7214 ช่างประกอบโครงสร้างโลหะของเรือ



7214 ช่างทำและติดตั้งโครงเหล็กตัวเรือ



7214 ช่างต่อเรือโลหะ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีความรู้และปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฎหมาย/นโยบายองค์กร ในด้านความปลอดภัยในการทำงาน สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลได้อย่างเหมาะสม มีความรู้ความเข้าใจในอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในขณะทำงาน และสามารถจัดการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงการปฐมพยาบาลได้อย่างถูกต้องในกรณีเกิดอุบัติเหตุ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างต่อเรือยอร์ช

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2555 ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทำความผิด ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทำงาน  (ฉบับที่  3) พ.ศ.  2559 พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 มาตรฐานการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (มปอ.402:2561) มาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (มปอ.401:2561) กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง (มปอ.101:2561) กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร  จัดการ  และดำเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับควาร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ  และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย 2555 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการดานความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดลอมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร  ปนจั่น  และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547 มาตรฐานของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล กระทรวงแรงงาน

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
YB.1.2.1

สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (PPE) ในการปฏิบัติงาน

เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในงานประกอบตัวเรือได้อย่างเหมาะสม

YB.1.2.1.01 178456
YB.1.2.1

สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (PPE) ในการปฏิบัติงาน

อธิบายวิธีการใช้งานได้อย่างถูกต้อง

YB.1.2.1.02 178457
YB.1.2.2

เฝ้าระวัง/ป้องกันภัยที่อาจเกิดในขณะทำงานประกอบตัวเรือ

ระบุอันตรายที่อาจเกิดในขณะทำงานประกอบตัวเรือ

YB.1.2.2.01 178458
YB.1.2.2

เฝ้าระวัง/ป้องกันภัยที่อาจเกิดในขณะทำงานประกอบตัวเรือ

ระบุวิธีป้องกันที่อาจเกิดในขณะทำงานประกอบตัวเรือ

YB.1.2.2.02 178459
YB.1.2.2

เฝ้าระวัง/ป้องกันภัยที่อาจเกิดในขณะทำงานประกอบตัวเรือ

ปฐมพยาบาลได้อย่างถูกต้องตามหลักการในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

YB.1.2.2.03 178460

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)



1. ทักษะการเลือกใช้/การใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล



2. ทักษะการสื่อสาร เช่น รายงานผลด้วยวาจาโดยการสื่อสารด้วยภาษาที่ถูกต้อง/ชัดเจน



3. ทักษะการสังเกตสิ่งผิดปกติ  ความผิดปกติของเหตุการณ์ที่อาจส่งผลต่ออันตราย ประกายไฟ



4. ทักษะการการประเมินสถานการณ์ ณ จุดเกิดเหตุ



ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)



1. ทักษะการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง



2. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team working)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลให้ถูกต้องตามลักษะงาน



2. ความรู้เกี่ยวกับอันตราย/ความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในโรงงาน



3. ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้



 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. ใบรับรองการฝึกอบรมในหลักสูตรทึ่เกี่ยวข้องจากสถานประกอบการ (ถ้ามี) ตามนโยบายด้านความปลอดภัยขององค์กร เช่น เรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในโรงงาน

  2. เอกสารแสดงการผ่านการ/ฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กฎหมายกำหนด

  3. เอกสารรับรองผลการประเมินจากการปฏิบัติงานจริง หรือ

  4. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ที่มีรายละเอียดยืนยันการฝึกอบรมตามที่กฎหมายกำหนด



 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. หลักฐานการศึกษาที่เกี่ยวข้องที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมายืนยันตัวเองตามหน่วยสมรรถนะ

  2. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

  3. เอกสารรับรองจากบริษัท

  4. แบบบันทึกผลการสอบข้อสอบข้อเขียน



 



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ



2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)



3. พิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน ร่วมกับการสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้พื้นฐานหรือเข้าร่วมปฏิบัติงานเกี่ยวกับการต่อเรือ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment :PPE) หมายถึง สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่สวมใส่ลงบนอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายหรือหลายๆ ส่วนรวมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันอันตรายให้แก่อวัยวะส่วนนั้นไม่ให้ต้องประสบกับอันตรายจากภาวะอันตรายที่จะเข้ามาถึงตัวคน



2. การปฐมพยาบาลฉุกเฉิน และการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (Emergency First Aid and Basic CPR)  คือการตรวจประเมินอาการของผู้ป่วย เพื่อวางแผนให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว มุ่งการประเมินภาวะคุกคามต่อชีวิต กรณีจำเป็นต้องทำการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)



3. มาตรฐานการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (มปอ.402:2561)



4. มาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (มปอ.401:2561)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

​​​​​​18.1 เครื่องมือประเมิน เกี่ยวกับอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล



(1) ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น มาตรฐานของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล



(2) การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคเกี่ยวกับมาตรฐานของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล



18.2 เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติงานกับงานต่อเรือตามหลักความปลอดภัยพื้นฐาน



(1) ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานกับงานต่อเรือตามหลักความปลอดภัยพื้นฐาน



(2) การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคเกี่ยวกับการปฏิบัติงานกับงานต่อเรือตามหลักความปลอดภัยพื้นฐาน



18.3 เครื่องมือประเมิน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น



(1) ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการการปฐมพยาบาลเบื้องต้น



(2) การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคเกี่ยวกับการการปฐมพยาบาลเบื้องต้น



ยินดีต้อนรับ