หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เข้าใจหลักการของเรือ

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-DRYF-152A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เข้าใจหลักการของเรือ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างต่อเรือยอร์ช



ISCO-08 2144 วิศวกรเรือ



3115 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมการต่อเรือ



3115 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมอุปกรณ์เรือ



7214 ช่างประกอบโครงสร้างโลหะของเรือ



7214 ช่างทำและติดตั้งโครงเหล็กตัวเรือ



7214 ช่างต่อเรือโลหะ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีความรู้และปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฎหมาย/นโยบายองค์กร ในด้านความปลอดภัยในการออกแบบเรือ มีความรู้เกี่ยวกับหลักการลอยตัวของเรือ การทรงตัวของเรือ (Ship Stability) การแบ่งช่องภายในเรือ (Compartment) และการประเมินความแข็งแรงของโครงสร้างเรือ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้โดยสาร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างต่อเรือยอร์ช

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ (ฉบับที่37) พ.ศ.  2553 ข้อบังคับกรมเจ้าท่า ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และค่าธรรมเนียมการตรวจและการออกใบสำคัญรับรองการตรวจเรือ เพื่ออนุญาตให้ใช้เรือและใบสำคัญแสดงการตรวจเรือเพื่อจดทะเบียนเรือไทย สำหรับเรือเดินทะเลเฉพาะเขตและเดินชายแดน พ.ศ. 2561 International Association of Classification Societies: IACS: No.47 Shipbuilding and Repair Quality Standard (Rev.5, Oct. 2010)  Classification Society: Lloyd’s Register, Rules, and Regulations for the Classification of Ships  International Organization for Standardization: ISO: 12215 Small craft — Hull construction and scantling  International Convention for the Safety of Life at Sea: SOLAS  International Convention for the Prevention of Pollution from Ships: MARPOL

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
YB.1.1.1

เข้าใจหลักการลอยตัวของเรือ

อธิบายความสัมพันธ์ของความหนาแน่น (density) ของวัสดุที่ใช้ต่อเรือ น้ำจืด น้ำทะเล และปริมาตร (Volume)

YB.1.1.1.01 178444
YB.1.1.1

เข้าใจหลักการลอยตัวของเรือ

ประเมินแรงพยุง หรือแรงลอยตัว (Buoyant Force)

YB.1.1.1.02 178445
YB.1.1.1

เข้าใจหลักการลอยตัวของเรือ

ประยุกต์ใช้กฎของอาร์คิมิดีส (Archimedess Principle)

YB.1.1.1.03 178446
YB.1.1.2

เข้าใจการทรงตัวของเรือ (Ship Stability)

อธิบายตำแหน่งของแรงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณการทรงตัวของเรือ

YB.1.1.2.01 178447
YB.1.1.2

เข้าใจการทรงตัวของเรือ (Ship Stability)

สร้าง stability curve

YB.1.1.2.02 178448
YB.1.1.2

เข้าใจการทรงตัวของเรือ (Ship Stability)

ประเมินสถานะของการทรงตัวเรือ ตาม criteria ที่กำหนด

YB.1.1.2.03 178449
YB.1.1.3

เข้าใจหลักการแบ่งช่องภายในเรือ (Compartment)

สร้าง floodable length จากรูปทรงตัวเรือ

YB.1.1.3.01 178450
YB.1.1.3

เข้าใจหลักการแบ่งช่องภายในเรือ (Compartment)

กำหนดตำแหน่งฝากั้นผนึกน้ำ

YB.1.1.3.02 178451
YB.1.1.3

เข้าใจหลักการแบ่งช่องภายในเรือ (Compartment)

ประเมินความปลอดภัยของเรือในกรณีเรือทะลุ

YB.1.1.3.03 178452
YB.1.1.4

ประเมินความแข็งแรงของโครงสร้างเรือ

อธิบายชิ้นส่วนโครงสร้างตัวเรือ

YB.1.1.4.01 178453
YB.1.1.4

ประเมินความแข็งแรงของโครงสร้างเรือ

อธิบายแรงกระทำต่อตัวเรือแบบต่างๆ

YB.1.1.4.02 178454
YB.1.1.4

ประเมินความแข็งแรงของโครงสร้างเรือ

ประเมินความแข็งแรงของโครงสร้างตัวเรือ

YB.1.1.4.03 178455

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)



1. ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน



2 ทักษะในการอ่านแบบต่อเรือ



3. ทักษะในการอ่านและใช้ภาษาเชิงวิศวกรรมศาสตร์หรือเชิงเทคนิค



4. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน



5. ทักษะในการวิเคราะห์ใช้ตรรกะและเหตุผล



ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)



1. ทักษะการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง



2. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team working)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์



2. ความรู้เกี่ยวกับแรงพยุง หรือแรงลอยตัว (Buoyant Force)



3. ความรู้ด้าน Ship Stability



4. ความรู้ในการกำหนด compartment



5. ความรู้ด้าน ship structure


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้



 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

  2. แบบรวมรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน



 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. หลักฐานการศึกษาที่เกี่ยวข้องที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมายืนยันตัวเองตามหน่วยสมรรถนะ

  2. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ



2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)



3. พิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน ร่วมกับการสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้พื้นฐานหรือเข้าร่วมปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกแบบเรือ  เข้าใจหลักการลอยตัวของเรือ เข้าใจการทรงตัวของเรือ (Ship Stability) เข้าใจหลักการแบ่งช่องภายในเรือ (Compartment)



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. Ship stability คือ การทรงตัวของเรือ มีทั้งสถาวะที่เป็น Stable, Unstable และ equilibrium



2. Ship structure คือ โครงสร้างของตัวเรือส่วนต่างๆ เช่น กระดูกงูเรือ กงเรือ เปลือกเรือ ดาดฟ้าเรือ



3. ship compartment เป็นการแบ่งตัวเรือออกเป็นช่องๆ เพื่อกำหนดขอบเขตของฝากั้นผนึกน้ำ (watertight bulkhead)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ความเข้าใจหลักการลอยตัวของเรือ



1. ข้อเขียนแบบปรนัย/อัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับหลักการลอยตัวของเรือ



2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคเกี่ยวกับหลักการลอยตัวของเรือ



18.2 เครื่องมือประเมิน ความเข้าใจการทรงตัวของเรือ (Ship Stability)



1. ข้อเขียนแบบปรนัย/อัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการทรงตัวของเรือ (Ship Stability)



2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคเกี่ยวกับการทรงตัวของเรือ (Ship Stability)



18.3 เครื่องมือประเมิน ความเข้าใจหลักการแบ่งช่องภายในเรือ (Compartment)



1. ข้อเขียนแบบปรนัย/อัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการหลักการแบ่งช่องภายในเรือ (Compartment)



2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคเกี่ยวกับหลักการแบ่งช่องภายในเรือ (Compartment)



18.4 เครื่องมือประเมินความแข็งแรงของโครงสร้างเรือ



1. ข้อเขียนแบบปรนัย/อัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการหลักการแบ่งช่องภายในเรือ (Compartment)



2. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคเกี่ยวกับหลักการแบ่งช่องภายในเรือ (Compartment)



ยินดีต้อนรับ