หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการทรงตัวของเรือและทริมเรือ (Stability and Trim)

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-BGZW-124A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการทรงตัวของเรือและทริมเรือ (Stability and Trim)

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัสอาชีพ ISCO-08       คนขับเรือยนต์/คนขับเรือสปีดโบ๊ท/คนขับเรือเดินทะเล



อาชีพนักเดินเรือยอร์ช



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีความรู้และปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฎหมาย/นโยบายองค์กร ในด้านควบคุมการทรงตัวของเรือ มีความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการทรงตัวของเรือทุกสภาวการณ์ ควบคุมสภาวะแรงเครียดและแรงเค้นที่เกิดขึ้นกับเรือ ควบคุมการกินน้ำลึกของเรือและทริมเรือ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการเดินเรือท่องเที่ยว อาชีพนักเดินเรือยอร์ช

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ผู้ขับเรือยนต์เร็วลูกเรือและผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 ข้อบังคับกรมเจ้าท่า ว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ทําการในเรือ พ.ศ. 253210.2 กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ กรมเจ้าท่า10.3 พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. 2522 10.4 พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
YM.3.6.1

ควบคุมการทรงตัวของเรือทุกสภาวการณ์

ใช้ข้อมูลคู่มือการทรงตัวของเรือในการวิเคราะห์คุณลักษณะการทรงตัวของเรือที่ปลอดภัย

YM.3.6.1.01 178158
YM.3.6.1

ควบคุมการทรงตัวของเรือทุกสภาวการณ์

ประเมินสถานะของการทรงตัวเรือ ตาม criteria ที่กำหนด

YM.3.6.1.02 178159
YM.3.6.1

ควบคุมการทรงตัวของเรือทุกสภาวการณ์

ประเมินความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการบรรทุกของและการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำจืดรวมถึงการใช้น้ำถ่วงเรือที่มีผลต่อการทรงตัวของเรือ

YM.3.6.1.03 178160
YM.3.6.1

ควบคุมการทรงตัวของเรือทุกสภาวการณ์

ประเมินความปลอดภัยของเรือในกรณีเรือรั่วหรือทะลุ

YM.3.6.1.04 178161
YM.3.6.2

ควบคุมสภาวะแรงเครียดและแรงเค้น (Stress and Strength) ที่เกิดขึ้นกับเรือตามคู่มือ

ตรวจสอบโครงสร้างเรือและส่วนต่างๆ ของเรือให้มีความคงทนทะเลตลอดการเดินทาง

YM.3.6.2.01 178162
YM.3.6.2

ควบคุมสภาวะแรงเครียดและแรงเค้น (Stress and Strength) ที่เกิดขึ้นกับเรือตามคู่มือ

ประเมินความแข็งแรงโครงสร้างตัวเรือและส่วนต่างๆ ของเรือได้ YM.3.6.2.02 178163
YM.3.6.2

ควบคุมสภาวะแรงเครียดและแรงเค้น (Stress and Strength) ที่เกิดขึ้นกับเรือตามคู่มือ

ควบคุมแรงเครียดและแรงเค้นที่เกิดขึ้นกับเรือให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในคู่มือประจำเรือ YM.3.6.2.03 178164
YM.3.6.3

ควบคุมการกินน้ำลึก (Draught) ของเรือและทริมเรือ

ควบคุมการกินน้ำลึกของเรือให้สัมพันธ์กับความลึกของน้ำ

YM.3.6.3.01 178165
YM.3.6.3

ควบคุมการกินน้ำลึก (Draught) ของเรือและทริมเรือ

ใช้ข้อมูลคู่มือการทรงตัวของเรือในการควบคุมการบรรทุกน้ำหนักและอัตราการกินน้ำลึกสูงสุดของเรือได้

YM.3.6.3.02 178166
YM.3.6.3

ควบคุมการกินน้ำลึก (Draught) ของเรือและทริมเรือ

ปรับแต่งทริมเรือให้เหมาะสมในการเดินเรือทุกสภาวการณ์

YM.3.6.3.03 178167

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ทักษะชาวเรือ



2. ความปลอดภัยและความรับผิดชอบบนเรือ



3. การปองกันและการดับไฟ



4. การดำรงชีพในทะเล



5. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)



1. ทักษะการเลือกใช้ข้อมูลคู่มือการทรงตัวของเรือในการวิเคราะห์คุณลักษณะการทรงตัวของเรือที่ปลอดภัย



2. ทักษะในการตรวจสอบโครงสร้างเรือและส่วนต่างๆ ของเรือให้มีความคงทนทะเลตลอดการเดินทาง



3. ทักษะในการควบคุมแรงเครียดและแรงเค้นที่เกิดขึ้นกับเรือให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในคู่มือประจำเรือ



4. ทักษะในการควบคุมการกินน้ำลึกของเรือให้สัมพันธ์กับความลึกของน้ำ



ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)



1. ทักษะการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง



2. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team working)



3. ทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์กับผู้โดยสาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในการประเมินสถานะของการทรงตัวเรือ ตาม criteria ที่กำหนด



2. ความรู้เกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการบรรทุกของและการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำจืดรวมถึงการใช้น้ำถ่วงเรือที่มีผลต่อการทรงตัวของเรือ



3. ความรู้เกี่ยวกับการประเมินความปลอดภัยของเรือในกรณีเรือทะลุ



4. ความรู้เกี่ยวกับการประเมินความแข็งแรงโครงสร้างตัวเรือและส่วนต่างๆ ของเรือได้



5. ความรู้เกี่ยวกับการใช้ข้อมูลคู่มือการทรงตัวของเรือในการควบคุมการบรรทุกน้ำหนักและอัตราการกินน้ำลึกสูงสุดของเรือได้



6. ความรู้เกี่ยวกับการปรับแก้อัตราการกินน้ำลึกหัวเรือและท้ายเรือให้เหมาะสมทุกสภาวการณ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. หนังสือคนประจำเรือ (Seaman Book) หรือ



      2. หนังสือรับรองการทำงานจากบริษัท



 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          1. ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า



          2. ใบรับรองการฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)



        3. หลักฐานวุฒิการศึกษา (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้ประเมินตรวจประเมิน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้



 (ง) วิธีการประเมิน



          1. สอบข้อเขียน



          2. การสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

ควบคุม บังคับและขับเรือยอร์ช โดยใช้เครื่องยนต์ในทะเลบริเวณใกล้ชายฝั่ง และนอกชายฝั่ง บังคับ ขับเรือยอร์ช เข้า-ออก เทียบท่าเรือ ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน



 (ก) คำแนะนำ



         หลักการเดินเรือในในทะเลและบริเวณใกล้ชายฝั่ง ให้พิจารณาตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ปี พ.ศ. 2456     



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด



          1 ใช้ข้อมูลคู่มือการทรงตัวของเรือในการวิเคราะห์คุณลักษณะการทรงตัวของเรือที่ปลอดภัย



          2 ประเมินสถานะของการทรงตัวเรือ ตาม criteria ที่กำหนด



          3 ประเมินความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการบรรทุกของและการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำจืดรวมถึงการใช้น้ำถ่วงเรือที่มีผลต่อการทรงตัวของเรือ



          4 ประเมินความปลอดภัยของเรือในกรณีเรือทะลุ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ความเข้าใจการควบคุมการทรงตัวของเรือ



(1) ข้อเขียนแบบปรนัย/อัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการทรงตัวของเรือ



(2) การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคเกี่ยวกับการการควบคุมการทรงตัวของเรือ



18.2 เครื่องมือประเมิน ความเข้าใจการควบคุมสภาวะแรงเครียดและแรงเค้นที่เกิดขึ้นกับเรือ



(1) ข้อเขียนแบบปรนัย/อัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมสภาวะแรงเครียดและแรงเค้นที่เกิดขึ้นกับเรือ



(2) การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคเกี่ยวกับการควบคุมสภาวะแรงเครียดและแรงเค้นที่เกิดขึ้นกับเรือ



18.3 เครื่องมือประเมิน ความเข้าใจหลักการปฏิบัติการควบคุมการกินน้ำลึกของเรือและทริมเรือ



(1) ข้อเขียนแบบปรนัย/อัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการกินน้ำลึกของเรือและทริมเรือ



(2) การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคเกี่ยวกับหลักการควบคุมการกินน้ำลึกของเรือและทริมเรือ



ยินดีต้อนรับ