หน่วยสมรรถนะ
ปฏิบัติการชาวเรือ (Seaman Ship) ในการเดินเรือยอร์ช
สาขาวิชาชีพการเดินเรือ
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | MRT-NAIJ-118A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ปฏิบัติการชาวเรือ (Seaman Ship) ในการเดินเรือยอร์ช |
3. ทบทวนครั้งที่ | / |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
รหัสอาชีพ ISCO-08 คนขับเรือยนต์/คนขับเรือสปีดโบ๊ท/คนขับเรือเดินทะเล อาชีพนักเดินเรือยอร์ช |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีความรู้และปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฎหมาย/นโยบายองค์กร ในด้านปฏิบัติการชาวเรือ มีความรู้เกี่ยวกับ ปฎิบัติการเชือก รอกและอุปกรณ์บนเรือ ปฎิบัติการสมอเรือ ปฎิบัติการเข้า ออกจากเทียบและการเข้าอู่เรือ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
อุตสาหกรรมการเดินเรือท่องเที่ยว อาชีพผู้ขับเรือยนต์เร็ว และอาชีพนักเดินเรือยอร์ช |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ผู้ขับเรือยนต์เร็วลูกเรือและผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
10.1 ข้อบังคับกรมเจ้าท่า ว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ทําการในเรือ พ.ศ. 253210.2 กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ กรมเจ้าท่า10.3 พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. 2522 10.4 พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
YM.2.2.1 ปฎิบัติการใช้เชือก
ลวด รอกและอุปกรณ์เพื่อการบำรุงรักษาเรือยอร์ช |
ปฎิบัติการแทง
ผูกเงื่อนเชือก และใช้ลวด รอกกับงานบนเรือยอร์ช |
YM.2.2.1.01 | 178084 |
YM.2.2.1 ปฎิบัติการใช้เชือก
ลวด รอกและอุปกรณ์เพื่อการบำรุงรักษาเรือยอร์ช |
ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ
บนดาดฟ้าเรือ |
YM.2.2.1.02 | 178085 |
YM.2.2.1 ปฎิบัติการใช้เชือก
ลวด รอกและอุปกรณ์เพื่อการบำรุงรักษาเรือยอร์ช |
บำรุงรักษา
ตัวเรือและส่วนต่างๆ ของเรือรวมถึงเครื่องมือต่างๆ บนเรือยอร์ช |
YM.2.2.1.03 | 178086 |
YM.2.2.2 ปฎิบัติการสมอเรือยอร์ชในทะเล |
รู้ศัพท์และเข้าใจส่วนต่างๆ ของสมอ
ที่ใช้ในการปฎิบัติการสมอเรือยอร์ช |
YM.2.2.2.01 | 178087 |
YM.2.2.2 ปฎิบัติการสมอเรือยอร์ชในทะเล |
บ่งบอกลักษณะของพื้นที่ ที่ใช้จอดทอดสมอเรือยอร์ช |
YM.2.2.2.02 | 178088 |
YM.2.2.2 ปฎิบัติการสมอเรือยอร์ชในทะเล |
ปฎิบัติการสมอเรือในการทิ้ง หย่อนและเก็บสมอเรือ |
YM.2.2.2.03 | 178089 |
YM.2.2.2 ปฎิบัติการสมอเรือยอร์ชในทะเล |
เข้ายามเรือจอดทอดสมอยอร์ช |
YM.2.2.2.04 | 178090 |
YM.2.2.3 ปฎิบัติการใช้เชือก ลวด รอกและอุปกรณ์ในการเข้า-ออก
เทียบท่าและการเข้าอู่เรือยอร์ช |
รับ-ส่งเชือก ต๋งเชือก เก็บเชือก
ขณะเรือเข้า-ออกจากท่าเทียบเรือยอร์ช |
YM.2.2.3.01 | 178091 |
YM.2.2.3 ปฎิบัติการใช้เชือก ลวด รอกและอุปกรณ์ในการเข้า-ออก
เทียบท่าและการเข้าอู่เรือยอร์ช |
โยนดิ่งทราย |
YM.2.2.3.02 | 178092 |
YM.2.2.3 ปฎิบัติการใช้เชือก ลวด รอกและอุปกรณ์ในการเข้า-ออก
เทียบท่าและการเข้าอู่เรือยอร์ช |
ใช้ทุ่นกันกระแทก |
YM.2.2.3.03 | 178093 |
YM.2.2.3 ปฎิบัติการใช้เชือก ลวด รอกและอุปกรณ์ในการเข้า-ออก
เทียบท่าและการเข้าอู่เรือยอร์ช |
ปฎิบัติการใช้เชือก ลวด รอกในการเข้าอู่เรือ |
YM.2.2.3.04 | 178094 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
1. ทักษะชาวเรือ 2. ความปลอดภัยและความรับผิดชอบบนเรือ 3. การปองกันและการดับไฟ 4. การดำรงชีพในทะเล 5. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills) 1. ทักษะการผูกเงื่อนเชือก 2. ทักษะในการปฎิบัติการแทงเชือก ลวด 3 ทักษะในการผสมสีและทาสีเรือ 4. ทักษะในการชักหย่อนรอก 5. ทักษะในการบำรุงรักษา ตัวเรือและส่วนต่างๆ ของเรือรวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ บนเรือ 6. ทักษะการใช้ศัพท์และเข้าใจส่วนต่างๆ ของสมอ ที่ใช้ในการปฎิบัติการสมอเรือ ทักษะในการทำงาน (Soft Skills) 1. ทักษะการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team working) 3. ทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์กับผู้โดยสาร (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้ในการบ่งบอกลักษณะของพื้นที่ ที่ใช้จอดทอดสมอเรือ 2. ความรู้เกี่ยวกับเข้ายามเรือจอดทอดสมอ 3. ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างตัวเรือ (Hull Structure) 4. ความรู้เกี่ยวกับใช้กว้านสมอเรือในการหย่อนและเก็บสมอเรือ 5. ความรู้เกี่ยวกับการเก็บเชือกเรือ 6. ความรู้เกี่ยวกับการปฎิบัติการใช้เชือก ลวด รอกในการเข้าอู่เรือ |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้ (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. หนังสือคนประจำเรือ (Seaman Book) หรือ 2. หนังสือรับรองการทำงานจากบริษัท (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า 2. ใบรับรองการฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) 3. หลักฐานวุฒิการศึกษา (ถ้ามี) (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้ประเมินตรวจประเมิน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้ (ง) วิธีการประเมิน 1. สอบข้อเขียน 2. การสัมภาษณ์ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ ควบคุม บังคับและขับเรือยอร์ช โดยใช้เครื่องยนต์ในทะเลบริเวณใกล้ชายฝั่งและนอกชายฝั่ง บังคับ ขับเรือยอร์ช เข้า-ออก เทียบท่าเรือ ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. เส้นทางเข้า (Approach Track) – เส้นทางช่วงสุดท้ายในการนําเรือเข้าไปยังตําบลที่ทิ้งสมอ 2. แบริ่งนํา (Head Bearing) – แบริ่งจากจุดทิ้งสมอไปยังที่หมายบนฝั่งที่เห็นเด่นชัดซึ่งซึ่งจะเป็นค่าเดียวกับเข็มบนเส้นทางเข้า 3. วงกลมปล่อยสมอ (Letting-go Circle) – วงกลมที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ตําบลที่ทิ้งสมอ มีรัศมีเท่ากับระยะจากรูโซ่สมอถึงสะพานเดินเรือ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 เครื่องมือประเมิน ความเข้าใจการปฎิบัติการเชือก รอกและอุปกรณ์บนเรือ (1) ข้อเขียนแบบปรนัย/อัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการเชือก รอกและอุปกรณ์บนเรือ (2) การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคเกี่ยวกับการเชือก รอกและอุปกรณ์บนเรือ 18.2 เครื่องมือประเมิน ความเข้าใจการปฎิบัติการสมอเรือ (1) ข้อเขียนแบบปรนัย/อัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฎิบัติการสมอเรือ (2) การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคเกี่ยวกับการปฎิบัติการสมอเรือ 18.3 เครื่องมือประเมิน ความเข้าใจหลักการปฎิบัติการเข้า ออกจากเทียบและการเข้าอู่เรือ (1) ข้อเขียนแบบปรนัย/อัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการเข้า ออกจากเทียบและการเข้าอู่เรือ (2) การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคเกี่ยวกับหลักการเข้า ออกจากเทียบและการเข้าอู่เรือ |