หน่วยสมรรถนะ
ปฏิบัติการหลบหลีกเรือตามกฎการเดินเรือ
สาขาวิชาชีพการเดินเรือ
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | MRT-FSXC-116A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ปฏิบัติการหลบหลีกเรือตามกฎการเดินเรือ |
3. ทบทวนครั้งที่ | / |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
รหัสอาชีพ ISCO-08 คนขับเรือยนต์/คนขับเรือสปีดโบ๊ท/คนขับเรือเดินทะเล อาชีพนักเดินเรือยอร์ช |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีความรู้และปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฎหมาย/นโยบายองค์กร ในด้านปฏิบัติเพื่อการหลบหลีกเรือตามกฎการเดินเรือมีความรู้เกี่ยวกับกฎการเดินเรือ ปฏิบัติการหลบหลีกเรือในทุกสภาวการณ์ ปฏิบัติการใช้โคมไฟและทุ่นเครื่องหมาย ปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบังคับการเดินเรือ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
อุตสาหกรรมการเดินเรือท่องเที่ยว อาชีพนักเดินเรือยอร์ช |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ผู้ขับเรือยนต์เร็วลูกเรือและผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
10.1 ข้อบังคับกรมเจ้าท่า ว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ทําการในเรือ พ.ศ. 253210.2 กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ กรมเจ้าท่า10.3 พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. 2522 10.4 พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
YM.1.2.1 รู้กฎข้อบังคับในการหลบหลีกเรือให้เป็นไปตามกฎการเดินเรือและ พรบ.เกี่ยวกับการเดินเรือ |
ใช้พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน
พ.ศ. 2522 ในส่วนที่เกี่ยวข้อง |
YM.1.2.1.01 | 178064 |
YM.1.2.1 รู้กฎข้อบังคับในการหลบหลีกเรือให้เป็นไปตามกฎการเดินเรือและ พรบ.เกี่ยวกับการเดินเรือ |
ใช้พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทยพระพุทธศักราช
2456 ในส่วนที่เกี่ยวข้อง |
YM.1.2.1.02 | 178065 |
YM.1.2.1 รู้กฎข้อบังคับในการหลบหลีกเรือให้เป็นไปตามกฎการเดินเรือและ พรบ.เกี่ยวกับการเดินเรือ |
ใช้ระเบียบ
ข้อบังคับที่ออกโดยกรมเจ้าท่า ในส่วนที่เกี่ยวข้อง |
YM.1.2.1.03 | 178066 |
YM.1.2.2 ปฏิบัติการใช้โคมไฟและทุ่นเครื่องหมายตามกฎการเดินเรือในการเดินเรือยอร์ช |
เปิดใช้โคมไฟของเรือตามกฎการเดินเรือ |
YM.1.2.2.01 | 178067 |
YM.1.2.2 ปฏิบัติการใช้โคมไฟและทุ่นเครื่องหมายตามกฎการเดินเรือในการเดินเรือยอร์ช |
ใช้ทุ่นเครื่องหมายตามกฎการเดินเรือ |
YM.1.2.2.02 | 178068 |
YM.1.2.2 ปฏิบัติการใช้โคมไฟและทุ่นเครื่องหมายตามกฎการเดินเรือในการเดินเรือยอร์ช |
ใช้สัญญาณเสียงและสัญญาณแสงตามกฎการเดินเรือ |
YM.1.2.2.03 | 178069 |
YM.1.2.3 ปฏิบัติการหลบหลีกเรืออื่นในทุกสภาวการณ์
ตามกฎการเดินเรือในการเดินเรือยอร์ช |
ใช้กฎการเดินเรือในการหลบหลีกเรือลำอื่นๆ
ให้ถูกต้องต่อสถานการณ์ |
YM.1.2.3.01 | 178070 |
YM.1.2.3 ปฏิบัติการหลบหลีกเรืออื่นในทุกสภาวการณ์
ตามกฎการเดินเรือในการเดินเรือยอร์ช |
ใช้การเล็งเรือเป้าหมายเพื่อประเมินการหลบหลีกเรือลำอื่นๆ |
YM.1.2.3.02 | 178071 |
YM.1.2.3 ปฏิบัติการหลบหลีกเรืออื่นในทุกสภาวการณ์
ตามกฎการเดินเรือในการเดินเรือยอร์ช |
ปฏิบัติการหลบหลีกเรือในทัศนวิสัยจำกัด |
YM.1.2.3.03 | 178072 |
YM.1.2.3 ปฏิบัติการหลบหลีกเรืออื่นในทุกสภาวการณ์
ตามกฎการเดินเรือในการเดินเรือยอร์ช |
ปฎิบัติการใช้เรดาร์
ในการหลบหลีกเรือและป้องกันเรือโดนกัน |
YM.1.2.3.04 | 178073 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
1. ทักษะชาวเรือ 2. ความปลอดภัยและความรับผิดชอบบนเรือ 3. การปองกันและการดับไฟ 4. การดำรงชีพในทะเล 5. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills) 1. ทักษะการหลบหลีกตามกฎการเดินเรือสากล ทักษะในการทำงาน (Soft Skills) 1. ทักษะการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team working) 3. ทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์กับผู้โดยสาร (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้ในการใช้งานกฎการเดินเรือสากล 2. ความรู้เกี่ยวกับการหลบหลีกเรือให้ปลอดภัยตามกฎการเดินเรือสากล |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้ (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. หนังสือคนประจำเรือ (Seaman Book) หรือ 2. หนังสือรับรองการทำงานจากบริษัทเรือ (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า 2. ใบรับรองการฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) 3. หลักฐานวุฒิการศึกษา (ถ้ามี) (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้ประเมินตรวจประเมิน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้ (ง) วิธีการประเมิน 1. สอบข้อเขียน 2. การสัมภาษณ์ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ควบคุม บังคับและขับเรือยอร์ช โดยใช้เครื่องยนต์ในทะเลบริเวณใกล้ชายฝั่งและนอกชายฝั่ง บังคับ ขับเรือยอร์ช เข้า-ออก เทียบท่าเรือ ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน (ก) คำแนะนำ หลักการเดินเรือในในทะเลและบริเวณใกล้ชายฝั่ง ให้พิจารณาตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ปี พ.ศ. 2456 (ข) คำอธิบายรายละเอียด สภาวการณ์หมายถึง เหตุการณ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติ เช่น หมอกลงจัด ฝนตกหนัก คลื่นจัดลมแรง หรือพายุ ที่ทำให้เรือตกอยู่ในสภาวการณ์ที่ยากลำบากเพราะภัยธรรมชาติ การบำรุงรักษาเรือหมายถึง การดูแลรักษาให้เรือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลาเช่น การขัดเรือ การทาสีเรือ การซ่อมแซมเรือ การอัดจารบีรอก ลวด ให้คงสภาพการทำงานยาวนาน |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 เครื่องมือประเมิน ความเข้าใจการหลบหลีกเรือในทุกสภาวการณ์ (1) ข้อเขียนแบบปรนัย/อัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการหลบหลีกเรือในทุกสภาวการณ์ (2) การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคเกี่ยวกับการหลบหลีกเรือในทุกสภาวการณ์ 18.2 เครื่องมือประเมิน ความเข้าใจการใช้โคมไฟและทุ่นเครื่องหมาย (1) ข้อเขียนแบบปรนัย/อัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการใช้โคมไฟและทุ่นเครื่องหมาย (2) การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคเกี่ยวกับการใช้โคมไฟและทุ่นเครื่องหมาย 18.3 เครื่องมือประเมิน ความเข้าใจหลักการให้เป็นไปตามข้อบังคับการเดินเรือ (1) ข้อเขียนแบบปรนัย/อัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการการให้เป็นไปตามข้อบังคับการเดินเรือ (2) การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคเกี่ยวกับหลักการการให้เป็นไปตามข้อบังคับการเดินเรือในเรือ |