หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลความปลอดภัยของเรือและผู้โดยสาร

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-RBHA-111A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลความปลอดภัยของเรือและผู้โดยสาร

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัสอาชีพ ISCO-08       คนขับเรือยนต์/คนขับเรือสปีดโบ๊ท/คนขับเรือเดินทะเล



อาชีพผู้ขับเรือยนต์เร็ว



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีความรู้และปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฎหมาย/นโยบายองค์กร ในด้านความควบคุมและดูแลผู้โดยสารในสถานการณ์ฉุกเฉิน ปฎิบัติการใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตบนเรือ ปฎิบัติการใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตบนเรือ ปฎิบัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางน้ำ ปฎิบัติการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยบนเรือ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการเดินเรือท่องเที่ยว อาชีพผู้ขับเรือยนต์เร็ว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ผู้ขับเรือยนต์เร็วลูกเรือและผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 ข้อบังคับกรมเจ้าท่า ว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ทําการในเรือ พ.ศ. 253210.2 กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ กรมเจ้าท่า10.3 พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. 2522 10.4 พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BM.3.1.1

ใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตบนเรือตามข้อบังคับ

ใช้เสื้อชูชีพ

BM.3.1.1.01 178019
BM.3.1.1

ใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตบนเรือตามข้อบังคับ

ใช้ห่วงชูชีพ

BM.3.1.1.02 178020
BM.3.1.1

ใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตบนเรือตามข้อบังคับ

ใช้อุปกรณ์ขอความช่วยเหลือทางทะเล

BM.3.1.1.03 178021
BM.3.1.2

ใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยบนเรือตามข้อบังคับ

ใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลบนเรือ

BM.3.1.2.01 178022
BM.3.1.2

ใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยบนเรือตามข้อบังคับ

ใช้อุปกรณ์ดับเพลิงประเภทต่างๆ บนเรือ

BM.3.1.2.02 178023
BM.3.1.2

ใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยบนเรือตามข้อบังคับ

สร้างมาตราการความปลอดภัยบนเรือ

BM.3.1.2.03 178024
BM.3.1.3

ปฎิบัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางน้ำ

ให้ความช่วยเหลือคนตกน้ำ

BM.3.1.3.01 178025
BM.3.1.3

ปฎิบัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางน้ำ

ปฏิบัติการผายปอดเบื้องต้น

BM.3.1.3.02 178026
BM.3.1.3

ปฎิบัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางน้ำ

ให้ความช่วยเหลือผู้ที่สูญเสียความร้อนในร่างกาย

BM.3.1.3.03 178027

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ทักษะชาวเรือ



2. ความปลอดภัยและความรับผิดชอบบนเรือ



3. การปองกันและการดับไฟ



4.การดำรงชีพในทะเล



5. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)



1. ทักษะการประเมินความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดอันตรายต่อคนประจำเรือและผู้โดยสาร



2. ทักษะในการช่วยเหลือ ดูแลผู้โดยสารให้สอดคล้องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน



3 ทักษะในการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายในการทำงานสอดคล้องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน



4. ทักษะในใช้เสื้อชูชีพ



5. ทักษะในการใช้ห่วงชูชีพ



6. ทักษะการใช้อุปกรณ์ขอความช่วยเหลือทางทะเล



7. ทักษะในการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลบนเรือ



8. ทักษะในการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงประเภทต่างๆ บนเรือ



9. ทักษะในการสร้างมาตราการรับมือต่อภัยคุกคามอันเนื่องมาจากการกระทำอันเป็นโจรสลัด



10. ทักษะในการให้ความช่วยเหลือเก็บคนตกน้ำ



11. ทักษะในการปฏิบัติการผายปอดเบื้องต้น



12. ทักษะในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่สูญเสียความร้อนในร่างกาย



13. ทักษะในการจัดให้มียา เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นบนเรือ



ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)



1. ทักษะการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง



2. ทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์กับผู้โดยสาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ด้านการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายในการทำงานสอดคล้องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน



2. ความรู้ด้านการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลบนเรือ



3. ความรู้ด้านการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงประเภทต่างๆ บนเรือ



4. ความรู้ด้านการให้ความช่วยเหลือคนตกน้ำ



5. ความรู้ด้านการปฏิบัติการผายปอดเบื้องต้น



6. ความรู้ด้านการให้ความช่วยเหลือผู้ที่สูญเสียความร้อนในร่างกาย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้



 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



           1. หนังสือคนประจำเรือ (Seaman Book) หรือ



           2. หนังสือรับรองการทำงานจากบริษัท



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



           1. ประกาศนียบัตรผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า



           2. ใบรับรองการฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)



        3. หลักฐานวุฒิการศึกษา (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



           ผู้ประเมินตรวจประเมิน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และ



หลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



          1. สอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสารในระหว่างการขับเรือยนต์เร็วในแม่น้ำ บริเวณร่องน้ำแคบ และในทะเล บังคับขับเรือยนต์เร็ว เข้า-ออก เทียบท่าเรือ ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน



(ก) คำแนะนำ



            หลักการดูแลความปลอดภัยในการเดินเรือที่วิ่งในแม่น้ำ ลำคลอง ให้พิจารณาตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ปี พ.ศ. 2456



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          สภาวการณ์หมายถึง เหตุการณ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติ เช่น หมอกลงจัด ฝนตกหนัก คลื่นจัดลมแรง หรือพายุ ที่ทำให้เรือตกอยู่ในสภาวการณ์ที่ยากลำบากเพราะภัยธรรมชาติ



          การบำรุงรักษาเรือหมายถึง การดูแลรักษาให้เรือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลาเช่น การขัดเรือ การทาสีเรือ การซ่อมแซมเรือ การอัดจารบีรอก ลวด ให้คงสภาพการทำงานยาวนาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

​​​​​18.1 เครื่องมือประเมิน ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมและดูแลผู้โดยสารในสถานการณ์ฉุกเฉิน



(1) ข้อเขียนแบบปรนัย/อัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการควบคุมและดูแลผู้โดยสารในสถานการณ์ฉุกเฉิน



(2) การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคเกี่ยวกับการควบคุมและดูแลผู้โดยสารในสถานการณ์ฉุกเฉิน



18.2 เครื่องมือประเมิน ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฎิบัติการใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตบนเรือ



(1) ข้อเขียนแบบปรนัย/อัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฎิบัติการใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตบนเรือ



(2) การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคเกี่ยวกับการปฎิบัติการใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตบนเรือ



18.3 เครื่องมือประเมิน ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฎิบัติการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยบนเรือ



(1) ข้อเขียนแบบปรนัย/อัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฎิบัติการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยบนเรือ



(2) การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในเรือ



18.4 เครื่องมือประเมิน ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฎิบัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางน้ำ



(1) ข้อเขียนแบบปรนัย/อัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฎิบัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางน้ำ



(2) การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคเกี่ยวกับการปฎิบัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางน้ำ



ยินดีต้อนรับ