หน่วยสมรรถนะ
ปฏิบัติการชาวเรือ (Seaman Ship) ในการแล่นเรือยนต์เร็ว
สาขาวิชาชีพการเดินเรือ
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | MRT-FQBC-110A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ปฏิบัติการชาวเรือ (Seaman Ship) ในการแล่นเรือยนต์เร็ว |
3. ทบทวนครั้งที่ | / |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
รหัสอาชีพ ISCO-08 คนขับเรือยนต์/คนขับเรือสปีดโบ๊ท/คนขับเรือเดินทะเล อาชีพผู้ขับเรือยนต์เร็ว |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีความรู้และปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฎหมาย/นโยบายองค์กร ในด้านปฏิบัติการชาวเรือ มีความรู้เกี่ยวกับ ปฎิบัติการเชือก รอกและอุปกรณ์บนเรือ ปฎิบัติการสมอเรือ ปฎิบัติการเข้า ออกจากเทียบและการเข้าอู่เรือ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
อุตสาหกรรมการเดินเรือท่องเที่ยว อาชีพผู้ขับเรือยนต์เร็ว |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ผู้ขับเรือยนต์เร็วลูกเรือและผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
10.1 ข้อบังคับกรมเจ้าท่า ว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ทําการในเรือ พ.ศ. 253210.2 กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ กรมเจ้าท่า10.3 พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. 2522 10.4 พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
BM.2.2.1 ใช้เชือก
รอกและอุปกรณ์ที่ใช้ในการบำรุงรักษาเรือ |
ผูกเงื่อนเชือก |
BM.2.2.1.01 | 178010 |
BM.2.2.1 ใช้เชือก
รอกและอุปกรณ์ที่ใช้ในการบำรุงรักษาเรือ |
ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ
บนดาดฟ้าเรือ |
BM.2.2.1.02 | 178011 |
BM.2.2.1 ใช้เชือก
รอกและอุปกรณ์ที่ใช้ในการบำรุงรักษาเรือ |
บำรุงรักษา
ตัวเรือและส่วนต่างๆ ของเรือรวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ บนเรือ |
BM.2.2.1.03 | 178012 |
BM.2.2.2 ใช้สมอเรือเพื่อการจอดเรือ |
รู้ศัพท์และเข้าใจส่วนต่างๆ ของสมอ
ที่ใช้จอดทอดสมอเรือ |
BM.2.2.2.01 | 178013 |
BM.2.2.2 ใช้สมอเรือเพื่อการจอดเรือ |
บ่งบอกลักษณะของพื้นที่ ที่ใช้จอดทอดสมอเรือ |
BM.2.2.2.02 | 178014 |
BM.2.2.2 ใช้สมอเรือเพื่อการจอดเรือ |
ปฎิบัติการหย่อนสมอเรือและเก็บสมอเรือ |
BM.2.2.2.03 | 178015 |
BM.2.2.3 ใช้เชือก
รอกและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องบนเรือเวลาเรือเข้าเทียบ
และออกจากเทียบรวมถึงเรือเข้าอู่ |
รับ-ส่งเชือก ต๋งเชือก ขณะเรือเข้า-ออกจากที่จอดเรือ |
BM.2.2.3.01 | 178016 |
BM.2.2.3 ใช้เชือก
รอกและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องบนเรือเวลาเรือเข้าเทียบ
และออกจากเทียบรวมถึงเรือเข้าอู่ |
ใช้ทุ่นกันกระแทก |
BM.2.2.3.02 | 178017 |
BM.2.2.3 ใช้เชือก
รอกและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องบนเรือเวลาเรือเข้าเทียบ
และออกจากเทียบรวมถึงเรือเข้าอู่ |
ปฎิบัติการใช้เชือก ลวด รอกในการเข้าอู่เรือ |
BM.2.2.3.03 | 178018 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
1. ทักษะชาวเรือ 2. ความปลอดภัยและความรับผิดชอบบนเรือ 3. การปองกันและการดับไฟ 4.การดำรงชีพในทะเล 5. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills) 1. ทักษะการผูกเงื่อนเชือก 2. ทักษะในการปฎิบัติการแทงเชือก ลวด 3 ทักษะในการผสมสีและทาสีเรือ 4. ทักษะในการชักหย่อนรอก 5. ทักษะในการบำรุงรักษา ตัวเรือและส่วนต่างๆ ของเรือรวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ บนเรือ 6. ทักษะการใช้ศัพท์และเข้าใจส่วนต่างๆ ของสมอ ที่ใช้ในการปฎิบัติการสมอเรือ ทักษะในการทำงาน (Soft Skills) 1. ทักษะการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. ทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์กับผู้โดยสาร (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้ในการบ่งบอกลักษณะของพื้นที่ ที่ใช้จอดทอดสมอเรือ 2. ความรู้เกี่ยวกับเข้ายามเรือจอดทอดสมอ 3. ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างตัวเรือ (Hull Structure) 4. ความรู้เกี่ยวกับใช้กว้านสมอเรือในการหย่อนและเก็บสมอเรือ 5. ความรู้เกี่ยวกับการเก็บเชือกเรือ 6. ความรู้เกี่ยวกับการปฎิบัติการใช้เชือก ลวด รอกในการเข้าอู่เรือ |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้ (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. หนังสือคนประจำเรือ (Seaman Book) หรือ 2. หนังสือรับรองการทำงานจากบริษัท (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ประกาศนียบัตรผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า 2. ใบรับรองการฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) 3. หลักฐานวุฒิการศึกษา (ถ้ามี) (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้ประเมินตรวจประเมิน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และ หลักฐานด้านความรู้ (ง) วิธีการประเมิน 1. สอบข้อเขียน 2. การสัมภาษณ์ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ใช้ทักษะชาวเรือในเรือยนต์เร็วที่วิ่งในแม่น้ำ บริเวณร่องน้ำแคบ และในทะเล บังคับขับเรือยนต์เร็ว เข้า-ออก เทียบท่าเรือ ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน (ก) คำแนะนำ ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติการชาวเรือเบื้องต้น (ข) คำอธิบายรายละเอียด สภาวการณ์หมายถึง เหตุการณ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติ เช่น หมอกลงจัด ฝนตกหนัก คลื่นจัดลมแรง หรือพายุ ที่ทำให้เรือตกอยู่ในสภาวการณ์ที่ยากลำบากเพราะภัยธรรมชาติ การบำรุงรักษาเรือหมายถึง การดูแลรักษาให้เรือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลาเช่น การขัดเรือ การทาสีเรือ การซ่อมแซมเรือ การอัดจารบีรอก ลวด ให้คงสภาพการทำงานยาวนาน |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 เครื่องมือประเมิน ความเข้าใจการปฎิบัติการเชือก รอกและอุปกรณ์บนเรือ (1) ข้อเขียนแบบปรนัย/อัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการเชือก รอกและอุปกรณ์บนเรือ (2) การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคเกี่ยวกับการเชือก รอกและอุปกรณ์บนเรือ 18.2 เครื่องมือประเมิน ความเข้าใจการปฎิบัติการสมอเรือ (1) ข้อเขียนแบบปรนัย/อัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฎิบัติการสมอเรือ (2) การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคเกี่ยวกับการปฎิบัติการสมอเรือ 18.3 เครื่องมือประเมิน ความเข้าใจหลักการปฎิบัติการเข้า ออกจากเทียบและการเข้าอู่เรือ (1) ข้อเขียนแบบปรนัย/อัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการเข้า ออกจากเทียบและการเข้าอู่เรือ (2) การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคเกี่ยวกับหลักการเข้า ออกจากเทียบและการเข้าอู่เรือ |