หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบคุณภาพผ้าทอที่ผลิตด้วยเทคนิคขิด

สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CRA-DQRT-175B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบคุณภาพผ้าทอที่ผลิตด้วยเทคนิคขิด

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ผลิตผ้าทอเทคนิคขิด



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้ผลิตผ้าทอ ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานตรวจสอบคุณภาพผ้าทอที่ผลิตด้วยเทคนิคขิด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพ อนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01761
ตรวจสอบคุณลักษณะผ้าทอที่ผลิตด้วยเทคนิคขิดตามแบบที่กำหนด
1. ผ้าทอ ผลิตได้ถูกต้อง สมบูรณ์ตามคุณลักษณะของผ้าทอที่ผลิตด้วยเทคนิคขิด
01761.01 177902
01761
ตรวจสอบคุณลักษณะผ้าทอที่ผลิตด้วยเทคนิคขิดตามแบบที่กำหนด
2. ผ้าทอ ผลิตได้ถูกต้อง สมบูรณ์ตามเอกลักษณ์เฉพาะของผ้าทอที่ผลิตด้วยเทคนิคขิด 01761.02 177903
01762
ตรวจสอบคุณภาพผ้าทอที่ผลิตด้วยเทคนิคขิด
1. ขนาดของผ้าทอ ทดสอบความถูกต้องด้วยอุปกรณ์การวัดที่ได้มาตรฐาน
01762.01 177904
01762
ตรวจสอบคุณภาพผ้าทอที่ผลิตด้วยเทคนิคขิด
2. ลักษณะทั่วไปของผ้าทอ ตรวจสอบอย่างถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด
01762.02 177905

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการตรวจสอบคุณลักษณะผ้าทอที่ผลิตด้วยเทคนิคขิดตามแบบที่กำหนด

2. ปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพผ้าทอที่ผลิตด้วยเทคนิคขิด

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. โครงสร้างผ้าทอที่ผลิตด้วยเทคนิคขิด

2. ลวดลายผ้าทอที่ผลิตด้วยเทคนิคขิด

3. ขั้นตอนและวิธีการตรวจสอบคุณภาพผ้าทอด้วยเทคนิคขิด

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน(Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ผ้าทอที่ผลิตด้วยเทคนิคขิดตามแบบที่กำหนด

2. คุณภาพผ้าทอที่ผลิตด้วยเทคนิคขิด

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ใบผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพผ้าทอที่ผลิตด้วยเทคนิคขิด

2. เอกสารรับรองผลการประเมินจากหน่วยงาน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพผ้าทอที่ผลิตด้วยเทคนิคขิด

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องตรวจสอบคุณลักษณะผ้าทอที่ผลิตด้วยเทคนิคขิดตามแบบที่กำหนด

2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องตรวจสอบคุณภาพผ้าทอที่ผลิตด้วยเทคนิคขิด

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การตรวจสอบคุณลักษณะทั่วไปของผ้าทอที่ผลิตด้วยเทคนิคขิดประกอบด้วยโครงสร้างผ้าหน้ากว้างผ้าความยาวผ้าริมผ้าสีและความต่อเนื่องของลวดลายผ้า

2. การตรวจสอบคุณภาพผ้าทอด้วยเทคนิคขิดประกอบด้วย

- เอกลักษณ์เฉพาะของผ้าทอด้วยเทคนิคขิด คือ ลวดลายมีลักษณะนูนเด่นชัด เป็นรูปลายซ้ำเรียงติดต่อกันตลอดความกว้างของหน้าผ้า และมีสีเดียวกันตลอด ส่วนรูปลายซ้ำตามความยาวของผืนผ้าอาจเหมือนหรือไม่เหมือนกัน และมีสีเดียวหรือหลายสีก็ได้ สำหรับลวดลายของผ้าขิดเกิดจากเส้นด้ายพุ่งที่เพิ่มพิเศษยาวตลอดความกว้างของหน้าผ้า และเมื่อดึงเส้นด้ายพุ่งที่เพิ่มพิเศษออก เส้นด้ายพุ่งธรรมดายังคงอยู่

- ลักษณะทั่วไปของผ้าทอต้องสะอาดและอยู่ในสภาพเรียบร้อยตลอดทั้งผืน ลวดลายเด่น มีความสม่ำเสมอตลอดผืน    

3. ขั้นตอนและวิธีการตรวจสอบคุณลักษณะผ้าทอที่ผลิตด้วยเทคนิคขิด ต้องระบุรายละเอียดระดับคุณภาพที่สามารถยอมรับได้ เช่น ตำหนิ สี หน้าผ้า ความยาวผ้า ฯลฯ 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน

1.แบบทดสอบปรนัยชนิด4 ตัวเลือก

2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือการประเมิน

1.แบบทดสอบปรนัยชนิด4 ตัวเลือก

2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ