หน่วยสมรรถนะ
ออกแบบคุณลักษณะของแบตเตอรี่มอดูลหรือแพ็คได้เหมาะสมกับข้อมูลความต้องการใช้งาน
สาขาวิชาชีพผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | AMP-GESG-052A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ออกแบบคุณลักษณะของแบตเตอรี่มอดูลหรือแพ็คได้เหมาะสมกับข้อมูลความต้องการใช้งาน |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2565 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
อาชีพช่างเทคนิคออกแบบและทดสอบแบตเตอรี่แรงดันสูง ระดับ 5 |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการนำทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์และใช้ในการออกแบบคุณลักษณะของแบตเตอรี่มอดูล/แพ็คได้ตามข้อมูลความต้องการใช้งานของแบตเตอรี่แรงดันสูง โดยคำนึงถึงทั้งสมรรถนะในการทำงานของแบตเตอรี่และความปลอดภัยในการใช้งาน มีความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของแบตเตอรี่เซลล์และมอดูลหรือแพ็ค มีความรู้และการใช้งานเครื่องมือทดสอบทางไฟฟ้า การปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือวิธีปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการอย่างเหมาะสมในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัยหรือเหตุฉุกเฉิน |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
สาขาวิชาชีพผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ สาขายานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และระบบกักเก็บพลังงาน |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
1. กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 25542. มาตรฐาน IEC 60950 (Safety Standards)3. ระเบียบปฏิบัติ/วิธีปฏิบัติงาน ของสถานประกอบการ |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
060102.1 ออกแบบขนาดพิกัดของแบตเตอรี่มอดูลหรือแพ็คได้ตามข้อมูลความต้องการใช้งาน |
1) ระบุระยะทางที่ต้องการวิ่งเพื่อกำหนดความจุของแบตเตอรี่มอดูลหรือแพ็คได้ถูกต้อง |
060102.1.01 | 176911 |
060102.1 ออกแบบขนาดพิกัดของแบตเตอรี่มอดูลหรือแพ็คได้ตามข้อมูลความต้องการใช้งาน |
2) ระบุขนาดกำลังขับเคลื่อนเพื่อกำหนดแรงดันและกิโลวัตต์ชั่วโมงได้ถูกต้อง |
060102.1.02 | 176912 |
060102.1 ออกแบบขนาดพิกัดของแบตเตอรี่มอดูลหรือแพ็คได้ตามข้อมูลความต้องการใช้งาน |
3) ระบุความสามารถในการชาร์จของระบบอัดประจุแบตเตอรี่ได้ถูกต้อง |
060102.1.03 | 176913 |
060102.2 เลือกเซลล์แบตเตอรี่ได้ตามความต้องการของระบบ |
1) เลือกชนิดของเซลล์แบตเตอรี่ได้เหมาะสม |
060102.2.01 | 176959 |
060102.2 เลือกเซลล์แบตเตอรี่ได้ตามความต้องการของระบบ |
2) เลือกรูปทรงของเซลล์แบตเตอรี่ได้เหมาะสม |
060102.2.02 | 176960 |
060102.2 เลือกเซลล์แบตเตอรี่ได้ตามความต้องการของระบบ |
3) เลือก C rate ของแบตเตอรี่ได้เหมาะสม |
060102.2.03 | 177698 |
060102.3 ออกแบบมอดูล/แพ็คของแบตเตอรี่ได้เหมาะสมกับระบบ |
1) ออกแบบมิติของมอดูลหรือแพ็คได้ตามพื้นที่ที่กำหนด |
060102.3.01 | 176969 |
060102.3 ออกแบบมอดูล/แพ็คของแบตเตอรี่ได้เหมาะสมกับระบบ |
2) เลือกวิธีการระบายความร้อนได้เหมาะสมกับระบบ |
060102.3.02 | 176970 |
060102.4 เลือก BMS ที่เหมาะสมกับคุณลักษณะของแบตเตอรี่ |
1) เลือกใช้ BMS ได้ถูกต้องตามประเภทของเซลล์ |
060102.4.01 | 176978 |
060102.4 เลือก BMS ที่เหมาะสมกับคุณลักษณะของแบตเตอรี่ |
2) เลือกใช้ BMS ได้ถูกต้องตามแรงดันของระบบ |
060102.4.02 | 176979 |
060102.4 เลือก BMS ที่เหมาะสมกับคุณลักษณะของแบตเตอรี่ |
3) ระบุฟังก์ชั่นด้านความปลอดภัยได้ครบถ้วน |
060102.4.03 | 176980 |
060102.4 เลือก BMS ที่เหมาะสมกับคุณลักษณะของแบตเตอรี่ |
4) ระบุฟังก์ชั่นการสมดุลเซลล์ได้อย่างเหมาะสม |
060102.4.04 | 176981 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน 2. อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลและการใช้งาน 3. อัตรายและการปฏิบัติงานกับกระแสไฟฟ้าแรงดันสูง |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. การทำงานกับอุปกรณ์ที่มีกระแสไฟฟ้าแรงดันสูง 2. การใช้เครื่องมืออย่างถูกวิธี 3. ทักษะการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้ทางวิศวกรรมไฟฟ้า 2. ความรู้ทางการออกแบบระบบทางไฟฟ้า 3. ความรู้เกี่ยวกับชนิดและคุณลักษณะของแบตเตอรี่แต่ละชนิด/ประเภท 4. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์บริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS) 5. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการออกแบบระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) แบบฟอร์มบันทึกการปฏิบัติงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หนังสือรับรองหรือประกาศนียบัตรการผ่านการอบรมหรือการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ (ค) คำแนะนำในการประเมิน เจ้าหน้าที่ประเมินหลักฐานโดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหลักฐานด้านปฏิบัติงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจถึงทฤษฎีและหลักการที่สามารถนำมาประยุกต์และใช้ในการออกแบบคุณลักษณะของแบตเตอรี่มอดูล/แพ็คได้ตามข้อมูลความต้องการใช้งานของแบตเตอรี่แรงดันสูง โดยคำนึงถึงทั้งสมรรถนะในการทำงานของแบตเตอรี่และความปลอดภัยในการใช้งาน มีความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของแบตเตอรี่เซลล์และมอดูลหรือแพ็ค มีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์บริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS) และการออกแบบวงจารทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. มีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับคุณลักษณะของเซลล์แบตเตอรี่แต่ละชนิด/ประเภท 2. การออกแบบมอดูลหรือแพ็คสำหรับประกอบเซลล์แบตเตอรี่เข้าด้วยกันให้ได้แรงดัน กระแสและกำลังไฟฟ้าตามที่ต้องการ 3. การต่อวงจารทางไฟฟ้า 4. การเลือกใช้อุปกรณ์บริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS) ได้อย่างเหมาะสม |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 2. การสัมภาษณ์ แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์ 3. สาธิตการปฏิบัติงาน แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน
|