หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดนโยบายและกลยุทธ์การบริหารผลงาน

สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HRM-BPNB-102A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดนโยบายและกลยุทธ์การบริหารผลงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 1232.20 : ผู้จัดการฝ่ายบุคคล, TSCO 2412.30 นักแนะแนวอาชีพ

ISCO 1212 : ผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคล, ISCO 2423 : ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคล

 


1 1212 ผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการระบุวัตถุประสงค์ของการบริหารผลงาน และกำหนดนโยบายและกลยุทธ์การบริหารผลงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1060101 ระบุวัตถุประสงค์ของการบริหารผลงาน 1) วิเคราะห์ความต้องการขององค์การและผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการบริหารผลงาน 1060101.01 176087
1060101 ระบุวัตถุประสงค์ของการบริหารผลงาน 2) ระบุวัตถุประสงค์ของการบริหารผลงานขององค์กร 1060101.02 176088
1060102 กำหนดนโยบายและกลยุทธ์การบริหารผลงาน 1) ระบุแนวคิด ทฤษฎี และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารผลงานที่เหมาะสมกับองค์การ 1060102.01 176089
1060102 กำหนดนโยบายและกลยุทธ์การบริหารผลงาน 2) กำหนดนโยบายการบริหารผลงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของระบบบริหารผลงานขององค์การ 1060102.02 176090
1060102 กำหนดนโยบายและกลยุทธ์การบริหารผลงาน 3) กำหนดกลยุทธ์เพื่อสร้างความสำเร็จในการบริหารผลงานภายใต้บริบทขององค์การ 1060102.03 176091

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะการวิเคราะห์ความต้องการขององค์การ

2) ทักษะการวิเคราะห์และกำหนดนโยบาย

3) ทักษะการวิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และแนวปฏิบัติในการบริหารผลงาน

2) ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) ระบุได้ถึงจุดมุ่งหมายและประโยชน์ของการบริหารผลงาน

2) ระบุได้ถึงแนวคิด ทฤษฎี และแนวปฏิบัติในการบริหารผลงาน

3) ระบุได้ถึงลักษณะของนโยบายการบริหารผลงานที่ดี

4) ระบุได้ถึงวิธีการกำหนดกลยุทธ์การบริหารผลงาน

14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) รายงานการวิเคราะห์ความจำเป็นในการจัดทำระบบบริหารผลงาน

2) รายงานสรุปแนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการออกแบบระบบบริหารผลงานขององค์การ

3) เอกสารนำเสนอ และ/หรือรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดนโยบายการบริหารผลงานขององค์การ

4) เอกสารนำเสนอ และ/หรือรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดกลยุทธ์การบริหารผลงานขององค์การ

5) ประวัติการฝึกอบรมหลักสูตรด้านการบริหารผลงาน



14.3 คำแนะนำในการประเมิน

    ใช้วิธีการในการสอบข้อเขียน หรือตามหลักฐานที่ต้องแสดง ทั้งนี้ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน สมรรถนะย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

วิเคราะห์เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องนำระบบบริหารผลงานเข้ามาใช้ในองค์การ กำหนดนโยบายด้านการบริหารผลงานอย่างชัดเจน เช่น มุ่งเน้นการพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่องมากกว่าการประเมินเพื่อให้คุณให้โทษพนักงาน เป็นต้น รวมถึงมีการกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างความสำเร็จในการนำระบบริหารผลงานไปใช้ เช่น การเริ่มทดลองใช้สำหรับระดับผู้บริหารก่อนนำลงสู่ระดับพนักงาน เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานในกระบวนการประเมิน ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 

2) ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน 

 



ยินดีต้อนรับ