หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดนโยบายและกลยุทธ์ค่าตอบแทน

สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HRM-KSAX-087A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดนโยบายและกลยุทธ์ค่าตอบแทน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 2412.20 : นักวิเคราะห์งานอาชีพ 

ISCO 2423 : ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคล

 


1 2423 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคลและอาชีพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการวิเคราะห์เป้าหมาย ทิศทาง ความต้องการขององค์การ และปัญหาปัจจุบัน กำหนดนโยบายและกลยุทธ์ค่าตอบแทน และจัดทำโครงสร้างค่าตอบแทนรวม (Total Remuneration Mix)

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริหารบุคคล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1040201 วิเคราะห์เป้าหมาย ทิศทาง ความต้องการขององค์การ และปัญหาปัจจุบัน 1) ศึกษาวิเคราะห์เป้าหมาย                 กลยุทธ์องค์การ และนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล 1040201.01 176005
1040201 วิเคราะห์เป้าหมาย ทิศทาง ความต้องการขององค์การ และปัญหาปัจจุบัน 2) วิเคราะห์ปัญหาค่าตอบแทนขององค์การ และความต้องการของพนักงานในด้านค่าตอบแทน 1040201.02 176006
1040202 กำหนดนโยบายและกลยุทธ์ค่าตอบแทน 1) กำหนดนโยบายค่าตอบแทน และระดับการแข่งขันในการจ่ายค่าตอบแทนขององค์การ 1040202.01 176007
1040202 กำหนดนโยบายและกลยุทธ์ค่าตอบแทน 2) จัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารค่าตอบแทนขององค์การ 1040202.02 176008
1040203 จัดทำโครงสร้างค่าตอบแทนรวม (Total Remuneration Mix) 1) กำหนดประเภทและสัดส่วนค่าตอบแทน (เงินเดือน เงินได้อื่น ค่าตอบแทนความยากลำบาก และสวัสดิการ) ที่สอดคล้องนโยบายค่าตอบแทนขององค์การ 1040203.01 176009
1040203 จัดทำโครงสร้างค่าตอบแทนรวม (Total Remuneration Mix) 2) กำหนดกรอบงบประมาณด้านค่าตอบแทนขององค์การ 1040203.02 176010

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะการวิเคราะห์นโยบายและกลยุทธ์ค่าตอบแทน

2) ทักษะในการจัดทำแผนกลยุทธ์ค่าตอบแทน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์

2) ความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และหลักการบริหารค่าตอบแทน

3) ความรู้เกี่ยวกับประเภทของค่าตอบแทน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) อธิบายได้ถึงแนวคิดการจัดการเชิงกลยุทธ์

2) อธิบายได้ถึงแนวคิดหลักการกำหนดนโยบายค่าตอบแทนและระดับการแข่งขันในการจ่ายค่าตอบแทน

3) อธิบายได้ถึงประเภทของเงินได้อื่นและสวัสดิการ



14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) รายงานการวิเคราะห์ปัญหาค่าตอบแทนขององค์การ

2) รายงานนโยบายค่าตอบแทนและการกำหนดระดับการแข่งขันในการจ่ายค่าตอบแทน

3) แผนกลยุทธ์การบริหารค่าตอบแทน

4) รายงานสัดส่วนค่าตอบแทนประเภทต่าง ๆ ขององค์การ

5) รายงานกรอบงบประมาณในการบริหารค่าตอบแทน



14.3 คำแนะนำในการประเมิน

    ใช้วิธีการในการสอบข้อเขียน หรือตามหลักฐานที่ต้องแสดง ทั้งนี้ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน สมรรถนะย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ระดับการแข่งขันในการจ่ายค่าตอบแทน หมายถึง การกำหนดระดับความเป็นผู้นำในการจ่ายค่าจ้างขององค์การ โดยผ่านการกำหนดระดับเปอร์เซ็นต์ไทล์ของข้อมูลค่าจ้างตลาดที่จะนำมาใช้ในการวางโครงสร้างเงินเดือน เช่น ต้องการเป็นผู้นำตลาดในการจ่ายค่าจ้าง เพื่อดึงดูดรักษาพนักงานที่มีความรู้ความสามารถสูง อาจกำหนดระดับเปอร์เซ็นต์ไทล์การจ่ายค่าจ้างไว้ที่ 75th percentile

เงินได้อื่น หมายถึง ค่าจ้างเสริมที่พนักงานได้รับนอกเหนือจากเงินเดือน เช่น โบนัส ค่าตำแหน่ง ค่าวิชาชีพ ค่าครองชีพ เบี้ยขยัน เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานในกระบวนการประเมิน ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 

2) ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน 

 



ยินดีต้อนรับ