หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัดผลงาน และวางแผนการดำเนินงาน

สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HRM-SKOS-067A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัดผลงาน และวางแผนการดำเนินงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 1232.20 : ผู้จัดการฝ่ายบุคคล

ISCO 1212 : ผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคล

 


1 1212 ผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
สามารถกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดผลงานการบริหารทรัพยากรบุคคล และแนวทางการถ่ายทอดเป้าหมายสู่หน่วยงาน และวานแผนการดำเนินงานด้านบริหารทรัพยากรบุคคล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1010401 กำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัดผลงานการบริหารทรัพยากรบุคคล และแนวทางการถ่ายทอดเป้าหมายสู่หน่วยงาน 1.1 สามารถกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัดผลงาน   แผนการดำเนินงาน และกรอบระยะเวลาได้ 1010401.01 175899
1010401 กำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัดผลงานการบริหารทรัพยากรบุคคล และแนวทางการถ่ายทอดเป้าหมายสู่หน่วยงาน 1.2 สามารถกำหนดแนวทางการถ่ายทอดเป้าหมาย และตัวชี้วัดผลงาน  สู่หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานการบริหารทรัพยากรบุคคลตามลำดับชั้น 1010401.02 175900
1010402 วางแผนการดำเนินงานด้านบริหารทรัพยากรบุคคล 2.1 จัดทำแผนปฏิบัติงานบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อบรรลุเป้าหมาย 1010402.01 175901
1010402 วางแผนการดำเนินงานด้านบริหารทรัพยากรบุคคล 2.2 สื่อสารแผนการดำเนินงานบริหารทรัพยากรบุคคลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจ และสามารถปฏิบัติได้ 1010402.02 175902

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะในการกำหนดตัวชี้วัดผลงานการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Scorecards)

2) ทักษะวางแผนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย

3) ทักษะการถ่ายทอดตัวชี้วัดผลงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดผลงานการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Scorecards) รวมถึงแผนการดำเนินงาน และกรอบระยะเวลา

2) ความรู้เกี่ยวกับตัวชี้วัดผลงานการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Scorecards)

3) ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินงาน และกรอบระยะเวลา

4) ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการถ่ายทอดตัวชี้วัดผลงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) อธิบายการกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัดผลงาน แผนการดำเนินงาน และกรอบระยะเวลาได้

2) อธิบายการกำหนดแนวทางการถ่ายทอดเป้าหมายและตัวชี้วัดผลงาน สู่หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

3) อธิบายการจัดทำแผนปฏิบัติงานบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อบรรลุเป้าหมาย

4) อธิบายการสื่อสารแผนการดำเนินงานบริหารทรัพยากรบุคคลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจ

14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) ตัวอย่างผลงาน รายงานตัวชี้วัดผลงานและการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์การ

14.3 คำแนะนำในการประเมิน

ใช้วิธีการในการสอบสัมภาษณ์ประกอบกับการสอบข้อเขียน ทั้งนี้ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด

วิธีการประเมิน

1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้ แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร เอกสารต่าง ๆ และ/หรือ

2. ผู้ประเมินทำประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ และ/หรือ ใช้แบบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

1) ตัวชี้วัดผลงาน หมายถึง ตัวชี้วัดผลงานการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Scorecards)

2) การถ่ายทอดตัวชี้วัดผลงาน หมายถึง การมอบหมายตัวชี้วัดผลงาน เป้าหมายให้กับหน่วยงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการดำเนินงานตามเป้าหมายที่กำหนด

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    คัดกรองผู้สมัครจากใบสมัคร เพื่อพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นก่อนอนุมัติให้เข้าสู่กระบวนการประเมิน และประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบการสัมภาษณ์ 

3) ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ