หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดแนวทางการพัฒนาและเชื่องโยง

สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HRM-VIRV-066A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดแนวทางการพัฒนาและเชื่องโยง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 1232.20 : ผู้จัดการฝ่ายบุคคล

ISCO 1212 : ผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคล

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
สามารถกำหนดแนวทางการพัฒนาระบบ โครงสร้าง สมรรถนะบุคลากร และวัฒนธรรมองค์การ เพื่อให้เชื่อมโยงระบบ และกลไกการทำงานให้สอดคล้องกัน รวมถึงความสามารถในการวิเคราะห์ความเสี่ยง และสามารถเสนอแนวทางการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1010301 กำหนดแนวทางการพัฒนาระบบ  โครงสร้างหน่วยงาน สมรรถนะบุคลากร และวัฒนธรรมองค์การ 1.1 กำหนดแนวทางการพัฒนาระบบ เครื่องมือ และกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล 1010301.01 175895
1010301 กำหนดแนวทางการพัฒนาระบบ  โครงสร้างหน่วยงาน สมรรถนะบุคลากร และวัฒนธรรมองค์การ 1.2 กำหนดโครงสร้างหน่วยงาน บทบาทภาระหน้าที่ และกลไกการบริหารฯที่เกี่ยวข้อง สมรรถนะบุคลากรของหน่วยงาน และวัฒนธรรมองค์การ 1010301.02 175896
1010302 เชื่อมโยงระบบ และกลไกการทำงานให้สอดคล้องกัน รวมถึงวิเคราะห์ และบริหารความเสี่ยงในการบริหารทรัพยากรบุคคล. 2.1 เชื่อมโยงระบบ และกลไกการทำงานบริหารทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกัน 1010302.01 175897
1010302 เชื่อมโยงระบบ และกลไกการทำงานให้สอดคล้องกัน รวมถึงวิเคราะห์ และบริหารความเสี่ยงในการบริหารทรัพยากรบุคคล. 2.2 วิเคราะห์ความเสี่ยงและแนวทางการบริหารความเสี่ยงในการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์การ เพื่อกำหนดแนวทางการป้องกัน 1010302.02 175898

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะในวิเคราะห์ความเสี่ยง และการบริหารความเสี่ยงด้านทรัพยากรบุคคลขององค์การ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับระบบงานการบริหารทรัพยากรบุคคลต่าง ๆ ทุกด้าน เครื่องมือ และกระบวนการและบูรณาการของระบบต่าง ๆ

2) ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างหน่วยงานและกลไกการบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์การ บทบาทหน้าที่เปลี่ยนแปลงไปในการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ สมรรถนะบุคลากรหน่วยงานบริหารทรัพยากรบุคคล และวัฒนธรรมองค์การ และหน่วยงาน

3) ความรู้ในความสัมพันธ์เชื่อมโยงของทุกระบบ

4) ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ความเสี่ยง และการบริหารความเสี่ยงด้านทรัพยากรบุคคลขององค์การ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) อธิบายแนวทางการพัฒนาระบบ เครื่องมือ และกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล

2) อธิบายการโครงสร้างหน่วยงาน บทบาทภาระหน้าที่ และกลไกบริหารที่เกี่ยวข้อง

3) อธิบายการเชื่อมโยงระบบ และกลไกการทำงานบริหารทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกัน

4) อธิบายความเสี่ยงและแนวทางการบริหารความเสี่ยงในการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์การ

14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) ตัวอย่างผลงาน หรือระบบงานบริหารทรัพยากรบุคคลที่เคยจัดทำ

14.3 คำแนะนำในการประเมิน

    ใช้วิธีการในการสอบสัมภาษณ์ประกอบกับการสอบข้อเขียน ทั้งนี้ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด

วิธีการประเมิน

1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้ แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร เอกสารต่าง ๆ และ/หรือ

2. ผู้ประเมินทำประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ และ/หรือ ใช้แบบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. ความเสี่ยง หมายถึง ความเสี่ยงขององค์การ ที่เกิดจากการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคล

2. การบริหารความเสี่ยง คือ การจัดการความเสี่ยง โดยการคาดการณ์เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น และลดผลกระทบของความไม่แน่นอน ของโอกาสจะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่าที่อาจจะเกิดขึ้นกับองค์การ ทั้งนี้เพื่อให้องค์การสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    คัดกรองผู้สมัครจากใบสมัคร เพื่อพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นก่อนอนุมัติให้เข้าสู่กระบวนการประเมิน และประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบการสัมภาษณ์ 

3) ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ