หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบและพัฒนาเครื่องมือพัฒนาองค์การ (Intervention Tools)

สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HRM-OBMT-129A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบและพัฒนาเครื่องมือพัฒนาองค์การ (Intervention Tools)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 1232.20 : ผู้จัดการฝ่ายบุคคล, TSCO 2412.30 นักแนะแนวอาชีพ

ISCO 1212 : ผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคล, ISCO 2423 : ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคล

 


1 1212 ผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคล
1 2423 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคลและอาชีพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการออกแบบและพัฒนาเครื่องมือพัฒนาองค์การที่สอดคล้องกับปัญหา และเป้าหมายในการพัฒนาองค์การ รวมถึงการนำเสนอเครื่องมือพัฒนาองค์การต่อผู้บริหาร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1090501 ออกแบบและพัฒนาเครื่องมือพัฒนาองค์การที่สอดคล้องกับปัญหา และเป้าหมายในการพัฒนาองค์การ 1) คัดเลือกเครื่องมือพัฒนาองค์การที่สอดคล้องกับเป้าหมายในการพัฒนาองค์การ และปัญหาขององค์การ 1090501.01 176241
1090501 ออกแบบและพัฒนาเครื่องมือพัฒนาองค์การที่สอดคล้องกับปัญหา และเป้าหมายในการพัฒนาองค์การ 2) ปรับปรุง และพัฒนาเครื่องมือพัฒนาองค์การ รวมถึงแผนการดำเนินการพัฒนาองค์การที่สอดคล้องกับเป้าหมายในการพัฒนาองค์การ และปัญหาขององค์การ 1090501.02 176242
1090502 นำเสนอเครื่องมือพัฒนาองค์การต่อผู้บริหาร 1) นำเสนอแนวคิด หลักการ และวิธีการดำเนินงาน 1090502.01 176243
1090502 นำเสนอเครื่องมือพัฒนาองค์การต่อผู้บริหาร 2) นำเสนอความร่วมมือต่างๆที่ต้องการจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 1090502.02 176244

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

10904 รวบรวม และสรุปเครื่องมือทางเลือกในการพัฒนาองค์การ (Intervention Tools)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) สามารถออกแบบการพัฒนาองค์การให้สอดคล้องกับสถานการณ์ขององค์การได้

2) สามารถออกแบบ และพัฒนาเครื่องมือพัฒนาองค์การที่เหมาะสมกับสถานการณ์ขององค์การได้

3) สามารถสื่อสารด้วยเทคนิคต่าง ๆ เพื่อความเข้าใจ ความตระหนักรู้ถึงความสำคัญ และได้รับความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาองค์การ 

2) ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือพัฒนาองค์การ (Intervention Tools)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) อธิบายความหมาย หรือความสำคัญ หรือความจำเป็นของการพัฒนาองค์การได้

2) ระบุ หรืออธิบายประเภท หรือลักษณะ หรือข้อดีข้อเสียของเครื่องมือพัฒนาองค์การประเภทต่าง ๆ ได้

3) เลือก หรือปรับปรุงเครื่องมือพัฒนาองค์การให้เหมาะสมกับสถานการณ์ขององค์การได้

4) อธิบายแนวคิด หลักการ และวิธีการในการใช้เครื่องมือพัฒนาองค์การได้

14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) แสดงตัวอย่างเครื่องมือพัฒนาองค์การได้

2) แสดงตัวอย่างแผนดำเนินการพัฒนาองค์การได้

3) แสดงวิธีการนำเสนอแนวทาง และเครื่องมือในการพัฒนาองค์การได้

14.3 คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) ขอบข่ายงานและความรับผิดชอบตามหน่วยสมรรถนะ

การประเมินนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถนะตามเกณฑ์การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือพัฒนาองค์การ (Intervention Tools) โดยใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกัน เช่น การทดสอบข้อเขียนแบบตัวเลือก การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค การสาธิตการปฏิบัติงาน หรือแสดงหลักฐานผลงานจากแฟ้มสะสมผลงาน เป็นต้น

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

การประเมินนี้ต้องการเห็นความรู้ ทักษะ รวมไปถึงความสามารถในการเลือกประยุกต์ใช้ หรือผสมผสาน หรือสร้างสรรค์เครื่องมือพัฒนาองค์การ (Intervention Tools) ชนิดต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ขององค์การ รวมถึงความรู้ ทักษะ และความสามารถในการกำหนดแผนดำเนินการพัฒนาองค์การด้วยเครื่องมือพัฒนาองค์การที่ได้พัฒนาขึ้นให้สอดคล้องกับสถานการณ์ขององค์การ รวมทั้งได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

(ค) คำศัพท์เฉพาะสำหรับหน่วยสมรรถนะนี้

เครื่องมือพัฒนาองค์การ (Intervention Tools หรือ Organization Development Intervention Tools) เป็นโปรแกรม หรือแผนงานที่ได้รับการออกแบบวางโครงสร้างขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาขององค์การ และทำให้องค์การสามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ เครื่องมือพัฒนาองค์การอาจเข้าไปเกี่ยวข้องกับมิติต่าง ๆ ขององค์การ เช่น กระบวนการ ผลงาน ความรู้ ทักษะ เจตจำนง โครงสร้างองค์การ เทคโนโลยี การประเมิน การพัฒนาอาชีพ การสรรหาว่าจ้าง การรักษาพนักงานผู้มีศักยภาพสูง เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 

3) ประเมินภาคความรู้ด้วยเอกสารรับรองการศึกษาฝึกอบรม

4) ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ