หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดเครื่องมือวินิจฉัยองค์การ และวินิจฉัยองค์การ

สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HRM-MHYY-126A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดเครื่องมือวินิจฉัยองค์การ และวินิจฉัยองค์การ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 2412.30 นักแนะแนวอาชีพ

ISCO 2423 : ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคล

 


1 2423 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคลและอาชีพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการกำหนดเป้าหมาย และแนวทางการวินิจฉัยองค์การให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การพัฒนาองค์การ รวมไปถึงการออกแบบเนื้อหาและเครื่องมือในการวินิจฉัยองค์การ  การดำเนินการวินิจฉัยองค์การ และการวิเคราะห์ผลการวินิจฉัยองค์การ จัดทำรายงาน และรายงานผลการวินิจฉัยองค์การต่อผู้เกี่ยวข้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1090201 กำหนดเป้าหมายและแนวทางการวินิจฉัยองค์การให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การพัฒนาองค์การ 1) กำหนดเป้าหมายการวินิจฉัย ประเด็น เนื้อหา กลุ่มเป้าหมายและขนาดที่จะทำการศึกษา 1090201.01 176225
1090201 กำหนดเป้าหมายและแนวทางการวินิจฉัยองค์การให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การพัฒนาองค์การ 2) กำหนดแนวทางการดำเนินการวินิจฉัยองค์การ ขั้นตอน กระบวนการ และเครื่องมือที่สอดคล้องกับเป้าหมายในการวินิจฉัย 1090201.02 176226
1090202
ออกแบบเนื้อหาและเครื่องมือในการวินิจฉัยองค์การ
1) กำหนดเนื้อหาและข้อมูลที่ต้องการจากการวินิจฉัย 1090202.01 176227
1090202
ออกแบบเนื้อหาและเครื่องมือในการวินิจฉัยองค์การ
2) ออกแบบเครื่องมือวินิจฉัย 1090202.02 176228
1090203 ดำเนินการวินิจฉัยองค์การ 1) สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องในการวินิจฉัยองค์การ 1090203.01 176229
1090203 ดำเนินการวินิจฉัยองค์การ 2) ดำเนินการ ควบคุม และติดตามการวินิจฉัยองค์การด้วยแนวทาง และเครื่องมือที่พัฒนาขึ้น 1090203.02 176230
1090204 วิเคราะห์ผลการวินิจฉัยองค์การ จัดทำรายงาน และรายงานผลการวินิจฉัยองค์การต่อผู้เกี่ยวข้อง 1) รวบรวม วิเคราะห์ผลการวินิจฉัยองค์การ สรุปปัญหา และแนวทางดำเนินการพัฒนาองค์การ 1090204.01 176231
1090204 วิเคราะห์ผลการวินิจฉัยองค์การ จัดทำรายงาน และรายงานผลการวินิจฉัยองค์การต่อผู้เกี่ยวข้อง 2) จัดทำรายงาน และนำเสนอผลการวินิจฉัยแก่ผู้เกี่ยวข้อง 1090204.02 176232

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

10903 เก็บ รวบรวม และสรุปข้อมูลการวินิจฉัยองค์การเบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) สามารถออกแบบเครื่องมือวินิจฉัยองค์การได้

2) สามารถวิเคราะห์ และสรุปผลจากการวินิจฉัยองค์การได้

3) สามารถสื่อสารกับบุคคลต่าง ๆ ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการวินิจฉัยองค์การได้

4) สามารถใช้เครื่องมือ หรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องในการนำเสนอ หรือสื่อสารผลการวิเคราะห์ได้

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับการวินิจฉัยองค์การ (Organizational Diagnosis) 

2) ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือวินิจฉัยองค์การ (Organizational Diagnosis Tools)

3) ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือ และตัวแบบในการวิเคราะห์ผลการวินิจฉัยองค์การ

4) ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือ และวิธีการสื่อสาร

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) อธิบายความหมาย หรือความสำคัญ หรือความจำเป็นของการวินิจฉัยองค์การได้

2) ระบุหรืออธิบายประเภท หรือลักษณะ หรือข้อดีข้อเสียของเครื่องมือวินิจฉัยองค์การได้

3) กำหนด และเลือกใช้เครื่องมือวินิจฉัยองค์การที่เหมาะสมกับสถานการณ์ขององค์การได้

4) เขียนหรือบรรยายผลของการวินิจฉัยองค์การได้

14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) แสดงตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้วินิจฉัยองค์การ

2) แสดงวิธีการใช้เครื่องมือ หรือโปรแกรมในการวิเคราะห์ และนำเสนอผลการวินิจฉัยองค์การได้

3) แสดงตัวอย่างรายงานผลการวินิจฉัยองค์การได้

14.3 คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) ขอบข่ายงานและความรับผิดชอบตามหน่วยสมรรถนะ

การประเมินนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถนะตามเกณฑ์การกำหนดเครื่องมือวินิจฉัยองค์การ และวินิจฉัยองค์การโดยใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกัน เช่น การทดสอบข้อเขียนแบบตัวเลือก การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค การสาธิตการปฏิบัติงาน หรือแสดงหลักฐานผลงานจากแฟ้มสะสมผลงาน เป็นต้น

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

การประเมินนี้ต้องการเห็นความรู้ ทักษะ รวมไปถึงความสามารถในการกำหนด และออกแบบเครื่องมือวินิจฉัยองค์การ และการวินิจฉัยองค์การซึ่งจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ขององค์การที่แตกต่าง เพื่อให้ได้ผลการวินิจฉัยที่แม่นตรงที่สุด

นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการแสดงให้เห็นทักษะสำคัญในการสื่อสารเพื่อให้กลุ่มผู้ที่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยองค์การกลุ่มต่าง ๆ ได้มีความเข้าใจ และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการวินิจฉัยองค์การ และผลของการวินิจฉัยองค์การ

(ค) คำศัพท์เฉพาะสำหรับหน่วยสมรรถนะนี้

การวินิจฉัยองค์การ (Organizational Diagnosis) เป็นการใช้ตัวแบบ หรือเครื่องมือ รวมไปถึงระเบียบวิธีวิจัยเพื่อศึกษา ทำความเข้าใจ และประเมินมิติต่าง ๆ  ขององค์การในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งที่แสดงออกให้เห็นได้อย่างชัดเจนในเชิงวัตถุวิสัย จนถึงลักษณะที่ไม่อาจสังเกตเห็นได้โดยง่าย โดยการวินิจฉัยองค์การมีจุดประสงค์เพื่อค้นหารากเหง้าของประเด็นปัญหาที่องค์การกำลังเผชิญอยู่ หรือกำลังจะต้องเผชิญในอนาคต เพื่อค้นหาแนวทางในการพัฒนา และแก้ไขต่อไป ทั้งนี้ตัวแบบหรือเครื่องมือวินิจฉัยองค์การชนิดต่าง ๆ สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความต้องการ ความจำเป็น และเป้าหมายขององค์การ

เครื่องมือวินิจฉัยองค์การ (Organizational Diagnosis Tools) เป็นตัวแบบ หรือระเบียบวิธีวิจัยต่าง ๆ ที่ใช้เพื่อทำความเข้าใจมิติต่าง ๆ ขององค์การ อาจสามารถจัดกลุ่มหรือแบ่งแยกประเภทได้หลายลักษณะ ทั้งนี้ในการประเมินนี้มุ่งหวังให้ผู้รับการประเมินเข้าใจเป้าหมายของการวินิจฉัย ข้อจำกัดของการวินิจฉัย และเลือกใช้เครื่องมือวินิจฉัยองค์การที่เหมาะสมเป็นสำคัญ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 

3) ประเมินภาคความรู้ด้วยเอกสารรับรองการศึกษาฝึกอบรม

4) ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ