หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สื่อสารนโยบายและแนวปฏิบัติ

สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HRM-ICRY-104A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สื่อสารนโยบายและแนวปฏิบัติ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 1232.20 : ผู้จัดการฝ่ายบุคคล, TSCO 2412.30 นักแนะแนวอาชีพ

ISCO 1212 : ผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคล, ISCO 2423 : ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคล

 


1 1212 ผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคล
1 2423 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคลและอาชีพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการดำเนินการสื่อสารทั่วทั้งองค์การ และเตรียมความพร้อมหัวหน้างานและพนักงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1060301 ดำเนินการสื่อสารทั่วทั้งองค์การ 1) กำหนดช่องทาง รูปแบบ วิธีการ และเครื่องมือการสื่อสารการบริหารผลงาน 1060301.01 176099
1060301 ดำเนินการสื่อสารทั่วทั้งองค์การ 2) กำหนดเนื้อหาในการสื่อสาร 1060301.02 176100
1060301 ดำเนินการสื่อสารทั่วทั้งองค์การ 3) ถ่ายทอดหลักการแนวคิด และกระบวนการการบริหารผลงานให้แก่ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ 1060301.03 176101
1060302 เตรียมความพร้อมหัวหน้างานและพนักงาน 1) จัดการฝึกอบรมการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการบริหารผลงาน 1060302.01 176102
1060302 เตรียมความพร้อมหัวหน้างานและพนักงาน 2) จัดฝึกอบรมทักษะที่จำเป็นสำหรับหัวหน้างานในการบริหารผลงาน 1060302.02 176103

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะการสื่อสาร

2) ทักษะการวางแผน

3) ทักษะการสอนแนะ (Coaching)

4) ทักษะการให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)

5) ทักษะการโน้มน้าวจูงใจ

6) ทักษะการสร้างแรงบันดาลใจ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และแนวปฏิบัติในการบริหารผลงาน

2) ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการบริหารผลงาน

3) ความรู้เกี่ยวกับทักษะที่จำเป็นสำหรับหัวหน้างานในการบริหารผลงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) อธิบายได้ถึงหลักการแนวคิด และกระบวนการบริหารผลงานขององค์การ

2) อธิบายได้ถึงเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการบริหารผลงาน

3) อธิบายได้ถึงทักษะที่จำเป็นสำหรับหัวหน้างานในการบริหารผลงาน

14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) แผนการสื่อสารระบบบริหารผลงาน

2) เอกสารนำเสนอระบบบริหารผลงาน

3) ตารางการฝึกอบรมพนักงานหัวข้อการบริหารผลงาน

4) แผนการพัฒนาทักษะหัวหน้างานในการบริหารผลงาน



14.3 คำแนะนำในการประเมิน

ใช้วิธีการในการสอบข้อเขียน หรือตามหลักฐานที่ต้องแสดง ทั้งนี้ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน สมรรถนะย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

สื่อสารนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับระบบบริหารผลงานให้พนักงานในองค์การรับทราบและปฏิบัติตาม โดยมุ่งสร้างความเข้าใจร่วมกันผ่านช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย เพมาะสมสำหรับพนักงานแต่ละกลุ่ม เช่น การประชุม การทำสื่อดิจิทัล การทำภาพอินโฟกราฟิก เป็นต้น รวมถึงเตรียมความพร้อมของหัวหน้างานในการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการบริหารผลงานพร้อมฝึกอบรมทักษะที่จำเป็น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานในกระบวนการประเมิน ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 

3) ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ