หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบระบบบริหารผลงาน

สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HRM-UUNB-103A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบระบบบริหารผลงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 1232.20 : ผู้จัดการฝ่ายบุคคล, TSCO 2412.30 นักแนะแนวอาชีพ

ISCO 1212 : ผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคล, ISCO 2423 : ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคล


1 1212 ผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคล
1 2423 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคลและอาชีพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการกำหนดวิธีตั้งเป้าหมายเพื่อวัดความสำเร็จของงานและออกแบบกระบวนการบริหารผลงาน กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ แนวปฏิบัติ และแบบฟอร์มในการบริหารผลงาน และประเมินผลการใช้งานระบบบริหารผลงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1060201 กำหนดวิธีตั้งเป้าหมายเพื่อวัดความสำเร็จของงานและออกแบบกระบวนการบริหารผลงาน 1) กำหนดวิธีการตั้งเป้าหมายเพื่อวัดความสำเร็จของงาน เช่น ตัวชี้วัดผลงานและตัวชี้วัดเชิงพฤติกรรม Objectives and Key Results (OKR) เป็นต้น 1060201.01 176092
1060201 กำหนดวิธีตั้งเป้าหมายเพื่อวัดความสำเร็จของงานและออกแบบกระบวนการบริหารผลงาน 2) ออกแบบกระบวนการบริหารผลงานให้ครบวงจร ตั้งแต่การวางแผนผลงานจนถึงการประเมินและหารือผล รวมถึงการนำผลการประเมินเชื่อมโยงกับระบบอื่น ๆ ด้านบุคลากร เช่น การพัฒนาพนักงาน การให้รางวัล เป็นต้น 1060201.02 176093
1060202 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ แนวปฏิบัติ และแบบฟอร์มในการบริหารผลงาน 1) จัดทำหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวปฏิบัติ ในการบริหารผลงานแต่ละขั้นตอน เช่น การกำหนดเป้าหมายและวางแผนงาน การจัดการผลงาน การหารือผลงาน เป็นต้น 1060202.01 176094
1060202 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ แนวปฏิบัติ และแบบฟอร์มในการบริหารผลงาน 2) กำหนดสาระสำคัญของแบบฟอร์มต่าง ๆ ในการบริหารผลงาน เช่น แบบประเมินผลงาน แบบฟอร์มหารือผลงาน แผนการพัฒนารายบุคคล เป็นต้น 1060202.02 176095
1060203 ประเมินผลการใช้งานระบบบริหารผลงาน 1) กำหนดหลักเกณฑ์ที่ใช้ประเมินความสำเร็จของระบบบริหารผลงาน 1060203.01 176096
1060203 ประเมินผลการใช้งานระบบบริหารผลงาน 2) สรุปประเด็นปัจจัยแห่งความสำเร็จและอุปสรรคของระบบบริหารผลงาน 1060203.02 176097
1060203 ประเมินผลการใช้งานระบบบริหารผลงาน 3) จัดทำข้อเสนอในการปรับปรุงพัฒนาระบบบริหารผลงาน 1060203.03 176098

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะในการใช้เครื่องมือประเภทต่าง ๆ เพื่อวัดผลสำเร็จของงาน

2) ทักษะในการออกแบบกระบวนการบริหารผลงาน

3) ทักษะในการคิดวิเคราะห์และเชื่อมโยง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และแนวปฏิบัติในการบริหารผลงาน

2) ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการบริหารผลงาน

3) ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดตัวชี้วัดผลงาน

4) ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารผลงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) ระบุได้ถึงแนวคิดและวิธีการในการวัดความสำเร็จของงาน

2) อธิบายได้ถึงกระบวนการบริหารผลงาน 

3) อธิบายได้ถึงหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวปฏิบัติในการบริหารผลงานแต่ละขั้นตอน

4) อธิบายได้ถึงองค์ประกอบของแบบฟอร์มบริหารผลงานและสาระสำคัญของแบบฟอร์ม

5) อธิบายได้ถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารผลงาน

14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) เอกสารระบบบริหารผลงานขององค์การ

2) คู่มือการบริหารผลงานสำหรับหัวหน้างานและพนักงาน

3) แบบฟอร์มบริหารผลงานและแบบฟอร์มอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

4) รายงานผลการดำเนินงานระบบบริหารผลงานขององค์การ/ ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบบริหารผลงาน



14.3 คำแนะนำในการประเมิน

     ใช้วิธีการในการสอบข้อเขียน หรือตามหลักฐานที่ต้องแสดง ทั้งนี้ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน สมรรถนะย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ระบบบริหารผลงาน ประกอบด้วยปัจจัยที่ใช้ในการชี้วัดความสำเร็จของงาน กระบวนการบริหารผลงาน ผู้ที่เกี่ยวข้อง หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการดำเนินการ และเครื่องมือรวมถึงแบบฟอร์มเอกสารประกอบ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานในกระบวนการประเมิน ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 

3) ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน 

 



ยินดีต้อนรับ