หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ข้อมูลด้านอัตราค่าตอบแทนของบริษัท และคู่แข่ง

สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HRM-QFWG-086A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ข้อมูลด้านอัตราค่าตอบแทนของบริษัท และคู่แข่ง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 2412.20 : นักวิเคราะห์งานอาชีพ 

ISCO 2423 : ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคล

 


1 2423 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคลและอาชีพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการวิเคราะห์อัตราค่าตอบแทนของตลาด และวิเคราะห์ข้อมูลด้านค่าตอบแทนขององค์การ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริหารบุคคล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1040101 วิเคราะห์อัตราค่าตอบแทนของตลาด 1) วิเคราะห์ข้อมูลการจ่ายค่าจ้างค่าตอบแทนของตลาดและคู่แข่ง 1040101.01 175997
1040101 วิเคราะห์อัตราค่าตอบแทนของตลาด 2) วิเคราะห์ดัชนีทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริหารค่าตอบแทน อาทิ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)  1040101.02 175998
1040102 วิเคราะห์ข้อมูลด้านค่าตอบแทนขององค์การ 1) วิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นในการบริหารค่าตอบแทนในปัจจุบันขององค์การ อาทิ สัดส่วนการจ่ายเงินเดือน เงินได้อื่น และสวัสดิการประเภทต่าง ๆ ค่าใช้จ่ายด้านค่าตอบแทนพนักงานต่อรายได้ขององค์การ 1040102.01 175999
1040102 วิเคราะห์ข้อมูลด้านค่าตอบแทนขององค์การ 2) กำหนดรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้กำหนดนโยบายด้านค่าตอบแทนขององค์การ 1040102.02 176000

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลค่าตอบแทน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับการอ่านผลการสำรวจค่าตอบแทน

2) ความรู้เกี่ยวกับดัชนีทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริหารค่าตอบแทน

3) ความรู้เกี่ยวกับหลักการบริหารค่าตอบแทน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) อธิบายได้ถึงวิธีการอ่านผลการสำรวจค่าตอบแทน และการนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ต่อ

2) อธิบายได้ถึงความหมายและความสำคัญของดัชนีทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริหารค่าตอบแทน

3) อธิบายได้ถึงแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลค่าตอบแทนขององค์การ

14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) รายงานการวิเคราะห์ข้อมูลการจ่ายค่าตอบแทนขององค์การเปรียบเทียบกับตลาดหรือคู่แข่ง

2) รายงานการวิเคราะห์ค่าตอบแทนปัจจุบันขององค์การ



14.3 คำแนะนำในการประเมิน

    ใช้วิธีการในการสอบข้อเขียน หรือตามหลักฐานที่ต้องแสดง ทั้งนี้ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน สมรรถนะย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

    สัดส่วนการจ่ายเงินเดือน เงินได้อื่น และสวัสดิการประเภทต่าง ๆ หมายถึง ค่าตอบแทนรวมที่พนักงานได้หนึ่งก้อน มีสัดส่วนเงินเดือนร้อยละเท่าใด เงินได้อื่นร้อยละเท่าใด และสวัสดิการร้อยละเท่าใด ใช้วิเคราะห์เพื่อออกแบบการจ่ายค่าตอบแทนพนักงานให้เหมาะสมกับงานและจูงใจ เช่น กลุ่มพนักงานขาย อาจมีสัดส่วนเงินเดือนไม่มาก แต่มีเงินได้อื่นในรูปแบบของค่าคอมมิชชั่นสูง เพื่อจูงใจให้สร้างผลงาน เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานในกระบวนการประเมิน ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 

3) ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน 

 



ยินดีต้อนรับ