หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดนโยบายและกลยุทธ์การสรรหาคัดเลือกบุคลากร

สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HRM-ECVI-078A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดนโยบายและกลยุทธ์การสรรหาคัดเลือกบุคลากร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 2412.20 : นักวิเคราะห์งานอาชีพ 

ISCO 2423 : ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคล

 


1 2423 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคลและอาชีพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
สามารถศึกษาสภาพแวดล้อมและปัจจัยภายนอก เพื่อกำหนดนโยบายการสรรหาคัดเลือกบุคคล และสามารถสร้างแรงดึงดูดความสนใจในงานสรรหาคัดเลือกของบริษัท (Corporate Branding) 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1030101 กำหนดนโยบายการสรรหาคัดเลือกบุคคล 1) กำหนดนโยบาย เจตนารมณ์ และแนวปฏิบัติงานสรรหาคัดเลือกจากภายนอก เช่น การรับคนพิการ รับคนต่างชาติ การรับคนที่เคยต้องโทษ คนที่เคยผ่านคดี คนที่เป็นโรค และเพศ  1030101.01 175951
1030101 กำหนดนโยบายการสรรหาคัดเลือกบุคคล 2) กำหนดนโยบายการจ้างพนักงานในองค์กร อาทิ การจ้างพนักงานเก่า การจ้างพนักงานที่มีความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างพนักงาน คู่สมรส บุตร 1030101.02 175952
1030102 ศึกษาสภาพแวดล้อมและปัจจัยภายนอก

1) ศึกษาดัชนี และสภาวะการจ้างงานตลาดแรงงานในและต่างประเทศ รูปแบบการจ้างกลุ่มงานต่างๆ ในตลาดแรงงาน

1030102.01 175953
1030102 ศึกษาสภาพแวดล้อมและปัจจัยภายนอก 2) ติดตามเงื่อนไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงาน 1030102.02 175954
1030103 สร้างแรงดึงดูดความสนใจในงานสรรหาคัดเลือกของบริษัท (Corporate Branding) 1) ศึกษา และวิเคราะห์กลยุทธ์ และข้อมูลการแข่งขัน และแย่งตัวจากคู่แข่ง 1030103.01 175955
1030103 สร้างแรงดึงดูดความสนใจในงานสรรหาคัดเลือกของบริษัท (Corporate Branding) 2) สร้างแบรนด์ในงานสรรหาคัดเลือก 1030103.02 175956

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะในการเขียนนโยบายการสรรหาคัดเลือกพนักงาน

2) ทักษะเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลการจ้างงานของคู่แข่งขัน

3) ทักษะในการวิเคราะห์ความเปราะบางในการจ้างพนักงานที่มีความสัมพันธ์ส่วนบุคคลระหว่างพนักงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลสถานการณ์การจ้างงานในตลาดแรงงานในประเทศ และภูมิภาคอาเซียน

2) ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติสากล และจรรยาบรรณในการจ้างงาน

3) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจ้างงาน

4) ความรู้เกี่ยวกับวิธีการสร้างแบรนด์ในการสรรหาคัดเลือก

5) ความรู้เกี่ยวกับลักษณะ คุณสมบัติ และความต้องการของกลุ่มอายุ ช่วงวัย (Generation) ของตลาดแรงงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) ระบุหรืออธิบายข้อมูลสถานการณ์การจ้างงานในตลาดแรงงานในประเทศ และภูมิภาคอาเซียน

2) เขียนหรือบรรยายแนวปฏิบัติสากล และจรรยาบรรณในการจ้างงาน

3) ระบุหรืออธิบายถึงเงื่อนไข ข้อบังคับของกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจ้างงาน

4) ระบุหรืออธิบายวิธีการสร้างแบรนด์ในการสรรหาคัดเลือก

5) ระบุหรืออธิบายลักษณะ คุณสมบัติ และความต้องการของกลุ่มอายุ ช่วงวัย (Generation) ของตลาดแรงงาน

14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) นโยบาย เจตนารมณ์ และแนวปฏิบัติงานสรรหาคัดเลือกขององค์การ

14.3 คำแนะนำในการประเมิน

    ใช้วิธีการในการสอบสัมภาษณ์กับสอบข้อเขียน ทั้งนี้ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

กำหนดนโยบายและกลยุทธ์การสรรหาคัดเลือกบุคลากรที่สอดคล้องกับบริบทขององค์กร และสถานการณ์ อย่างยืดหยุ่น และครอบคลุมทั้งการสรรหาภายใน และภายนอกองค์กร


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 

3) ประเมินภาคความรู้ด้วยเอกสารรับรองการศึกษาฝึกอบรม

4) ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ