หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการพัฒนาองค์การตามแผน

สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HRM-ZUMB-131A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการพัฒนาองค์การตามแผน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 2412.30 นักแนะแนวอาชีพ

ISCO 2423 : ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคล

 


1 2423 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคลและอาชีพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการดำเนินการตามแผนพัฒนาองค์การ รวมถึงการจัดการช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงบรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1090701 ดำเนินการตามแผนพัฒนาองค์การ 1) ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาองค์การตามแผนที่กำหนดร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย และติดตามผลการดำเนินกิจกรรมตามระยะ 1090701.01 176249
1090701 ดำเนินการตามแผนพัฒนาองค์การ 2) วิเคราะห์ผลการดำเนินการพัฒนาองค์การตามกรอบระยะเวลา และแก้ไขปรับปรุงแนวทางการดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปอย่างราบรื่น 1090701.02 176250
1090702 จัดการช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงบรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน 1) ออกแบบกิจกรรมส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงให้เกิดผลอย่างถาวร โดยคำนึงถึงลักษณะวัฒนธรรมองค์การ และเป้าหมายองค์การ 1090702.01 176251
1090702 จัดการช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงบรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน 2) ดำเนินการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงให้เกิดผลอย่างถาวรกับกลุ่มเป้าหมาย 1090702.02 176252

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) สามารถบริหารโครงการ หรือการดำเนินกิจกรรมด้านพัฒนาองค์การได้

2) สามารถวิเคราะห์ผลการพัฒนาองค์การ รวมถึงผลกระทบที่ได้รับจากการพัฒนาองค์การได้

3) สามารถจัดการการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการพัฒนาองค์การได้

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาองค์การ 

2) ความรู้เกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) อธิบายความหมาย หรือความสำคัญ หรือความจำเป็นของการพัฒนาองค์การได้

2) อธิบายขั้นตอน แนวทาง หรือวิธีการในการพัฒนาองค์การได้

3) อธิบายแนวคิด หลักการ ขั้นตอน แนวทาง หรือวิธีการในการจัดการการเปลี่ยนแปลงองค์การได้

4) อธิบายแนวคิด หลักการ และวิธีการในการใช้เครื่องมือพัฒนาองค์การได้

14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) แสดงตัวอย่างเครื่องมือพัฒนาองค์การได้

2) แสดงตัวอย่างแผนการจัดการเปลี่ยนแปลงองค์การได้

3) แสดงวิธีการนำเสนอแนวทาง และเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงองค์การได้

14.3 คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) ขอบข่ายงานและความรับผิดชอบตามหน่วยสมรรถนะ

การประเมินนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถนะตามเกณฑ์การดำเนินการพัฒนาองค์การตามแผนโดยใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกัน เช่น การทดสอบข้อเขียนแบบตัวเลือก การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค การสาธิตการปฏิบัติงาน หรือแสดงหลักฐานผลงานจากแฟ้มสะสมผลงาน เป็นต้น

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

การประเมินนี้ต้องการเห็นความรู้ ทักษะ รวมไปถึงความสามารถในการเลือกประยุกต์ใช้ หรือผสมผสาน หรือสร้างสรรค์แนวทางในการบริหารพัฒนาองค์การให้เป็นไปอย่างราบรื่น รวมทั้งการจัดการการเปลี่ยนแปลงองค์การที่เกิดจากการพัฒนาองค์การของผู้เข้ารับการประเมิน

(ค) คำศัพท์เฉพาะสำหรับหน่วยสมรรถนะนี้

การจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management) เป็นแนวทางในเชิงระบบในการรับมือกับการเปลี่ยนผ่าน หรือเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ภายในองค์การ โดยในที่นี้มุ่งให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการพัฒนาองค์การ ทั้งนี้วัตถุประสงค์อันสำคัญของการจัดการการเปลี่ยนแปลงนั้นก็เป็นไปเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนผ่านอย่างมีประสิทธิผล ควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และอำนวยความสะดวกให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ 

ตัวแบบการจัดการการเปลี่ยนแปลงของ Kurt Lewin มี 3 ขั้นตอนสำคัญ คือ 

1) การละลายความคุ้นชินเดิม (Unfreezing)

2) การใส่การเปลี่ยนแปลงใหม่เข้าไป (Change)

3) การรักษาให้การเปลี่ยนแปลงนั้นคงอยู่อย่างถาวร (Refreezing)

นอกจากนี้ยังมีตัวแบบด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ที่อาจสามารถนำมาใช้อ้างอิงในการจัดการการเปลี่ยนแปลงได้ อาทิ ตัวแบบของ Kotter (Kotter's 8-Step Process for Leading Change) ตัวแบบของ McKinsey (McKinsey’s 7Ss Model)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 

3) ประเมินภาคความรู้ด้วยเอกสารรับรองการศึกษาฝึกอบรม

4) ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ