หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เก็บ รวบรวม และสรุปข้อมูลการวินิจฉัยองค์การเบื้องต้น

สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HRM-ZWTS-127A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เก็บ รวบรวม และสรุปข้อมูลการวินิจฉัยองค์การเบื้องต้น

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 2412.30 นักแนะแนวอาชีพ

ISCO 2423 : ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคล

 


1 2423 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคลและอาชีพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการเก็บ และรวบรวมข้อมูลสำหรับการวินิจฉัยองค์การ รวมไปถึงการสรุปข้อมูลการวินิจฉัยองค์การเบื้องต้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1090301 เก็บ และรวบรวมข้อมูลสำหรับการวินิจฉัยองค์การ 1) ออกแบบเครื่องมือในการเก็บ และรวบรวมข้อมูลสำหรับการวินิจฉัยองค์การ 1090301.01 176233
1090301 เก็บ และรวบรวมข้อมูลสำหรับการวินิจฉัยองค์การ 2) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายที่ได้กำหนดเอาไว้ 1090301.02 176234
1090302 สรุปข้อมูลการวินิจฉัยองค์การเบื้องต้น 1) จัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปวิเคราะห์ต่อได้ 1090302.01 176235
1090302 สรุปข้อมูลการวินิจฉัยองค์การเบื้องต้น 2) สรุปข้อมูลการวินิจฉัยเบื้องต้นออกมาในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ตารางข้อมูล สถิติ กราฟ 1090302.02 176236

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) สามารถออกแบบเครื่องมือเก็บ และรวบรวมข้อมูลได้

2) สามารถวิเคราะห์ และสรุปข้อมูลเบื้องต้นได้

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวินิจฉัยองค์การ (Organizational Diagnosis) 

2) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องมือวินิจฉัยองค์การ (Organizational Diagnosis Tools)

3) ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือในการเก็บ และรวบรวมข้อมูลสำหรับการวินิจฉัยองค์การ

4) ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือในการสรุปข้อมูลการวินิจฉัยองค์การ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) อธิบายความหมาย หรือความสำคัญ หรือความจำเป็นของการเก็บ และรวบรวมข้อมูลได้

2) ระบุหรืออธิบายประเภท หรือลักษณะ หรือข้อดีข้อเสียของเครื่องมือในการเก็บ และรวบรวมข้อมูลประเภทต่าง ๆ ได้

3) กำหนด และเลือกใช้เครื่องมือเก็บ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมกับสถานการณ์ขององค์การได้

4) สรุป หรืออธิบายข้อมูลการวินิจฉัยองค์การด้วยรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย และตรงได้

14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) แสดงตัวอย่างเครื่องมือเก็บ และรวบรวมข้อมูลได้

2) แสดงวิธีการใช้เครื่องมือเก็บ และรวบรวมข้อมูลได้

3) แสดงตัวอย่างรายงานสรุปข้อมูลการวินิจฉัยองค์การได้

14.3 คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) ขอบข่ายงานและความรับผิดชอบตามหน่วยสมรรถนะ

การประเมินนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถนะตามเกณฑ์การเก็บ รวบรวม และสรุปข้อมูลการวินิจฉัยองค์การเบื้องต้นโดยใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกัน เช่น การทดสอบข้อเขียนแบบตัวเลือก การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค การสาธิตการปฏิบัติงาน หรือแสดงหลักฐานผลงานจากแฟ้มสะสมผลงาน เป็นต้น

(ข) คำแนะนำ 

การประเมินสมรรถนะสำหรับระดับ 4 นี้ จำเป็นต้องอ้างอิงจรรยาบรรณของสมรรถนะระดับ 3

(ค) คำอธิบายรายละเอียด

การประเมินนี้ต้องการเห็นความรู้ ทักษะ รวมไปถึงความสามารถในการเลือกใช้ ออกแบบเครื่องมือ และการดำเนินการเก็บ รวบรวม และสรุปข้อมูลเบื้องต้นที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ที่แตกต่างขององค์การ เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ผลการวินิจฉัยองค์การในเชิงลึกต่อไป

(ง) คำศัพท์เฉพาะสำหรับหน่วยสมรรถนะนี้

การวินิจฉัยองค์การ (Organizational Diagnosis) เป็นการใช้ตัวแบบ หรือเครื่องมือ รวมไปถึงระเบียบวิธีวิจัยเพื่อศึกษา ทำความเข้าใจ และประเมินมิติต่าง ๆ  ขององค์การในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งที่แสดงออกให้เห็นได้อย่างชัดเจนในเชิงวัตถุวิสัย จนถึงลักษณะที่ไม่อาจสังเกตเห็นได้โดยง่าย โดยการวินิจฉัยองค์การมีจุดประสงค์เพื่อค้นหารากเหง้าของประเด็นปัญหาที่องค์การกำลังเผชิญอยู่ หรือกำลังจะต้องเผชิญในอนาคต เพื่อค้นหาแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขต่อไป ทั้งนี้ตัวแบบ หรือเครื่องมือวินิจฉัยองค์การชนิดต่าง ๆ สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความต้องการ ความจำเป็น และเป้าหมายขององค์การ

เครื่องมือวินิจฉัยองค์การ (Organizational Diagnosis Tools) เป็นตัวแบบ หรือระเบียบวิธีวิจัยต่าง ๆ ที่ใช้เพื่อทำความเข้าใจมิติต่าง ๆ ขององค์การ อาจสามารถจัดกลุ่มหรือแบ่งแยกประเภทได้หลายลักษณะ ทั้งนี้ในการประเมินนี้มุ่งหวังให้ผู้รับการประเมินเข้าใจเป้าหมายของการวินิจฉัย ข้อจำกัดของการวินิจฉัย และเลือกใช้เครื่องมือวินิจฉัยองค์การที่เหมาะสมเป็นสำคัญ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 

3) ประเมินภาคความรู้ด้วยเอกสารรับรองการศึกษาฝึกอบรม

4) ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ