หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การประเมินเพื่อคัดเลือกพนักงานที่มีศักยภาพสูง

สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HRM-DUEP-122A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การประเมินเพื่อคัดเลือกพนักงานที่มีศักยภาพสูง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 2412.30 นักแนะแนวอาชีพ

ISCO 2423 : ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคล

 


1 2423 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคลและอาชีพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
สามารถกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และแนวทางการบริหารพนักงานที่มีศักยภาพสูง (Talent) และประเมินเพื่อคัดเลือกพนักงานที่มีศักยภาพสูง (Talent) รวมถึงวางแผนและดำเนินการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพของพนักงานที่มีศักยภาพสูง (Talent)

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักบริหารงานบุคคล 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1080501 กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และแนวทางการบริหารพนักงานที่มีศักยภาพสูง (Talent) 1.1 กำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์การบริหารพนักงานที่มีศักยภาพสูง (Talent) เช่น หลักเกณฑ์การคัดเลือก พนักงานที่มีศักยภาพสูง Talent ฯลฯ 1080501.01 176195
1080501 กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และแนวทางการบริหารพนักงานที่มีศักยภาพสูง (Talent) 1.2 จัดทำแนวทาง กระบวนการ และเครื่องมือบริหารพนักงานที่มีศักยภาพสูง (Talent) 1080501.02 176196
1080502
ประเมินเพื่อคัดเลือกพนักงานที่มีศักยภาพสูง (Talent)
2.1 ดำเนินการประเมินเพื่อคัดเลือกพนักงานที่มีศักยภาพสูง (Talent) 1080502.01 176200
1080502
ประเมินเพื่อคัดเลือกพนักงานที่มีศักยภาพสูง (Talent)
2.2 สรุปผลการประเมิน และแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ 1080502.02 176201
1080503
วางแผนและดำเนินการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพของพนักงานที่มีศักยภาพสูง (Talent)

3.1 จัดทำแผน ขั้นตอนดำเนินการ และกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการพัฒนาสมรรถนะ 1080503.01 176202
1080503
วางแผนและดำเนินการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพของพนักงานที่มีศักยภาพสูง (Talent)

3.2 ดำเนินการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพของพนักงานที่มีศักยภาพสูง (Talent) ตามแผน 1080503.02 176203

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะในการสรุป วิเคราะห์ และจัดทำรายงาน

2) ทักษะในการใช้เครื่องมือในการบริหารพนักงานที่มีศักยภาพสูง (Talent) เช่น เครื่องมือในการประเมินสมรรถนะ เป็นต้น

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือในการบริหารพนักงานที่มีศักยภาพสูง (Talent)

2) ความรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้ประเมิน (Assessor)

3) ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาพนักงาน และการวางแผนความก้าวหน้าในอาชีพ

4) ความรู้เกี่ยวกับระบบบริหารความก้าวหน้าในอาชีพของพนักงานที่มีศักยภาพสูง (Talent)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) กำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์การบริหารพนักงานที่มีศักยภาพสูง

2) อธิบายแนวทาง กระบวนการ และเครื่องมือบริหารพนักงานที่มีศักยภาพสูง

14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) ตัวอย่างเครื่องมือในการประเมินพนักงานที่มีศักยภาพสูง (Talent)

2) ตัวอย่างแผนการพัฒนาพนักงานที่มีศักยภาพสูง (Talent)

14.3 คำแนะนำในการประเมิน

    ใช้วิธีการในการสอบสัมภาษณ์ประกอบกับการสอบข้อเขียน ทั้งนี้ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด

วิธีการประเมิน

1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้ แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร เอกสารต่าง ๆ และ/หรือ

2. ผู้ประเมินทำประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ และ/หรือ ใช้แบบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

การประเมินเพื่อคัดเลือกพนักงานที่มีศักยภาพสูง คือ การประเมินเพื่อคัดเลือกบุคลากรที่มีศักยภาพสูงภายในองค์การ เพื่อที่จะพัฒนา และเตรียมความพร้อมในการเติบโตก้าวหน้าในสายอาชีพ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

คัดกรองผู้สมัครจากใบสมัคร เพื่อพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นก่อนอนุมัติให้เข้าสู่กระบวนการประเมิน และประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบการสัมภาษณ์ 

3) ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ