หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำแผนการประเมินสมรรถนะของพนักงาน และความก้าวหน้าในอาชีพของบุคลากร

สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HRM-DQCN-121A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำแผนการประเมินสมรรถนะของพนักงาน และความก้าวหน้าในอาชีพของบุคลากร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 2412.30 นักแนะแนวอาชีพ

ISCO 2423 : ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคล

 


1 2423 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคลและอาชีพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
สามารถจัดทำการประเมินสมรรถนะของพนักงานตามขั้นตอนและแนวปฏิบัติที่กำหนด ติดตามและสรุปผลการพัฒนาพนักงานตามแผนบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1080401 จัดทำแผนการประเมินสมรรถนะของพนักงาน ตามขั้นตอนและแนวปฏิบัติที่กำหนด 1.1 เข้าใจแนวคิด หลักการบริหารสายอาชีพ การบริหารพนักงานศักยภาพสูง และการวางแผนทดแทนตำแหน่ง 1080401.01 176191
1080401 จัดทำแผนการประเมินสมรรถนะของพนักงาน ตามขั้นตอนและแนวปฏิบัติที่กำหนด 1.2 วางแผนการประเมินสมรรถนะของพนักงาน และดำเนินการประเมินสมรรถนะโดยใช้เครื่องมือ แนวทางที่กำหนด 1080401.02 176192
1080402 ติดตามและสรุปผลการพัฒนาพนักงานตามแผนบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ 2.1 ติดตาม รวบรวมข้อมูลการพัฒนาสมรรถนะพนักงานตามแผนความก้าวหน้าในอาชีพ 1080402.01 176193
1080402 ติดตามและสรุปผลการพัฒนาพนักงานตามแผนบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ 2.2 สรุปผลการประเมินการพัฒนาสมรรถนะพนักงานและพนักงานที่มีศักยภาพสูง ตามแผนความก้าวหน้าในอาชีพ 1080402.02 176194

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะการสื่อสาร

2) ทักษะการจัดทำแผนงาน

3) ทักษะการประเมินสมรรถนะบุคลากร

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนทดแทนตำแหน่งงาน

2) ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนการประเมินสมรรถนะ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) อธิบายแนวคิด หลักการบริหารสายอาชีพ การวางแผนทดแทนตำแหน่งงาน

2) อธิบายการดำเนินการประเมินสมรรถนะโดยใช้เครื่องมือ แนวทางที่กำหนด

3) อธิบายการติดตาม รวมรวมข้อมูลการพัฒนาสมรรถนะพนักงาน

14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) แผนการประเมินสมรรถนะของพนักงาน

2) แผนความก้าวหน้าในอาชีพของบุคลากร

14.3 คำแนะนำในการประเมิน

    ใช้วิธีการในการสอบสัมภาษณ์ประกอบกับการสอบข้อเขียน ทั้งนี้ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด

วิธีการประเมิน

1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้ แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร เอกสารต่าง ๆ และ/หรือ

2. ผู้ประเมินทำประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ และ/หรือ ใช้แบบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

1) การประเมินสมรรถนะ หมายถึงการวัดระดับสมรรถนะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของบุคลากร เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาบุคลากรทั้งในระยะสั้น และระยะยาว

2) การวางแผนทดแทนตำแหน่งงาน หมายถึง การจัดทำแผนทดแทนบุคลากรในตำแหน่งงานหลัก และตำแหน่งงานที่สำคัญในองค์การ เพื่อให้มีบุคลากรเพียงพอต่อการดำเนินงานในแต่ละช่วงเวลา

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

คัดกรองผู้สมัครจากใบสมัคร เพื่อพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นก่อนอนุมัติให้เข้าสู่กระบวนการประเมิน และประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบการสัมภาษณ์ 

3) ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ