หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารความหลากหลาย

สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HRM-QYJA-146A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารความหลากหลาย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 1232.20 : ผู้จัดการฝ่ายบุคคลม TSCO 2412.20 : นักวิเคราะห์งานอาชีพ, TSCO 2412.30 นักแนะแนวอาชีพ

ISCO 1212 : ผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคล, ISCO 2423 : ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคล

 


1 1212 ผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคล
1 2423 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคลและอาชีพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
สามารถบริหารความหลากหลายของแต่ละบุคคล อันหมายถึงด้านชาติพันธุ์ เพศ อายุ รวมถึงความแตกต่างทางด้านความคิด ค่านิยม วัฒนธรรม ด้วยความเข้าใจถึงความแตกต่างหลากหลาย ตระหนักเห็นคุณค่าของความหลากหลาย (Valued Diversity) และให้ความสำคัญกับแต่ละบุคคลอย่างเท่าเทียมกัน สามารถนำจุดแข็งในความหลากหลายของแต่ละบุคคล มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อหน่วยงานและองค์การ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักบริหารงานบุคคล 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
2080001 ให้ความรู้และสร้างความตระหนักในคุณค่าของความแตกต่างหลากหลาย 1.1 วิเคราะห์ประเด็นความหลากหลายที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และแนวโน้มความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ที่อาจจะมีผลกระทบต่อองค์การ 2080001.01 176340
2080001 ให้ความรู้และสร้างความตระหนักในคุณค่าของความแตกต่างหลากหลาย 1.2 ออกแบบและจัดหากิจกรรมที่ส่งเสริมให้พนักงานในทุกๆ ระดับได้ความรู้และมีส่วนร่วมร่วมกัน โดยคำนึงถึงรูปแบบการเรียนรู้ของพนักงาน (Learning Style) และ วัฒนธรรมการเรียนรู้ (Learning culture) 2080001.02 176341
2080001 ให้ความรู้และสร้างความตระหนักในคุณค่าของความแตกต่างหลากหลาย 1.3 จัดช่องทางเพื่อการสื่อสารและประชาสัมพันธ์เพื่อการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประเด็นความหลากหลาย และแนวทางการปฏิบัติตนเพื่อการอยู่ร่วมกัน 2080001.03 176342
2080002 สร้างบรรยากาศของการหลอมรวมความแตกต่างหลากหลายของบุคคลเข้าด้วยกัน 2.1 กำหนดนโยบายและหลักในการปฏิบัติงานร่วมกันภายในองค์การ 2080002.01 176343
2080002 สร้างบรรยากาศของการหลอมรวมความแตกต่างหลากหลายของบุคคลเข้าด้วยกัน 2.2 สนับสนุน และส่งเสริมการมีความเคารพซึ่งกันและกัน (Respect) การเปิดใจรับฟัง (Open-mindedness) 2080002.02 176344
2080003 บริหารความขัดแย้งในองค์การ 3.1 นิยามประเด็นความขัดแย้ง โดยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเกิดประเด็นความขัดแย้ง 2080003.01 176345
2080003 บริหารความขัดแย้งในองค์การ 3.2 วิเคราะห์ข้อมูล บริบทและปัจจัย ต่างๆ และประเมินระดับความรุนแรงของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น และผลกระทบทั้งในด้านที่เป็นประโยชน์ และด้านที่เป็นโทษของความขัดแย้ง 2080003.02 176346
2080003 บริหารความขัดแย้งในองค์การ 3.3 วิเคราะห์หาแนวทางการบริหารประเด็นความขัดแย้ง โดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบ/โมเดลในการบริหารความขัดแย้ง และดำเนินการบริหารความขัดแย้ง 2080003.03 176347
2080004 บริหารความแตกต่างทางวัฒนธรรม 4.1 ให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่หลากหลาย ค่านิยม และแนวทางการอยู่ร่วมกัน (awareness) 2080004.01 176348
2080004 บริหารความแตกต่างทางวัฒนธรรม 4.2 ปลูกฝังการรับรู้และความไวกับวัฒนธรรม (Cultural sensitivity) ให้กับพนักงาน 2080004.02 176349
2080004 บริหารความแตกต่างทางวัฒนธรรม 4.3 ออกแบบและกำหนดตัวแบบพฤติกรรมทางวัฒนธรรมที่เหมาะสม (Cultural competence) 2080004.03 176350

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะเจรจาต่อรอง

2) ทักษะการสื่อสาร

3) ทักษะการคิดวิเคราะห์

4) ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับหลักการบริหารความหลากหลาย

2) ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action plan)

3) ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ และการฝึกอบรม

4) ความรู้เกี่ยวกับการทำงานในทีมงานที่มีความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม (Cross Cultural team)

5) ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรม เพื่อบรรลุเป้าประสงค์

6) ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้

7) ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมการเรียนรู้

8) ความรู้เกี่ยวกับการบริหารโครงการ การประเมินผลโครงการ

9) ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้

10) ความรู้เกี่ยวกับการเขียนแนวนโยบาย และระเบียบปฏิบัติ

11) ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปลูกฝังค่านิยม

12) ความรู้เกี่ยวกับการจัดช่องทางการสื่อสาร

13)  ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี และสื่อสังคมออนไลน์ (Technology and Social Media)

14) ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร

15) ความรู้เกี่ยวกับประเภทของความขัดแย้ง

16) ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบความขัดแย้ง

17) ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่หลากหลาย

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence 

1) อธิบายหลักการบริหารจัดการองค์การและทรัพยากรบุคคล ความหมาย วัตถุประสงค์ ความต้องการ ความแตกต่างของมนุษย์กับทรัพยากรบุคคลอื่น

2) อธิบายหลักการบริหารจัดการองค์การและทรัพยากรบุคคล ในการวางแผนและดำเนินการบริหาร

3) อธิบายลักษณะธุรกิจที่องค์การดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน

4) อธิบายการประยุกต์ใช้ระบบ เครื่องมือ และกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์การ

14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) ตัวอย่างแผนการบริหารทรัพยากรบุคคล

2) หนังสือรับรองการปฏิบัติงาน

3) หนังสือรับรองการศึกษาอบรมด้านการบริหารความแตกต่าง

14.3 คำแนะนำในการประเมิน

ใช้วิธีการในการสอบสัมภาษณ์ประกอบกับการสอบข้อเขียน ทั้งนี้ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด

วิธีการประเมิน

1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้ แฟ้มสะสมผลงาน ได้แก่ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร เอกสารต่าง ๆ และ/หรือ

2. ผู้ประเมินทำประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ และ/หรือ ใช้แบบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

อธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

คัดกรองผู้สมัครจากใบสมัคร เพื่อพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นก่อนอนุมัติให้เข้าสู่กระบวนการประเมิน และประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบการสัมภาษณ์ 

3) ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ