หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สร้างนวัตกรรมบริการแก่นที่ใช้การได้และสำเร็จได้ (Minimum Viable Service) ในระยะเวลาสั้นและใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CEC-BJEV-024

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สร้างนวัตกรรมบริการแก่นที่ใช้การได้และสำเร็จได้ (Minimum Viable Service) ในระยะเวลาสั้นและใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Technology)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความสามารถในการออกแบบความคิดสำหรับการพัฒนาบริการดิจิทัล ออกแบบกระบวนงานสำหรับการให้บริการ (Process Design) ออกแบบสารสนเทศสำหรับการให้บริการ (Information Design) ออกแบบองค์กรสำหรับการให้บริการ และ พัฒนานวัตกรรมบริการดิจิทัล ด้วยเทคนิคพล วัตรปรับต่อเนื่อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549 พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการพ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ.2560 พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
DS501

ออกแบบกระบวนการทำงานของบริการดิจิทัล (Process Design)

1.1 ทบทวนรายละเอียดกระบวนการทำงานของบริการดิจิทัลแบบเชื่อมโยง

DS501.01 176720
DS501

ออกแบบกระบวนการทำงานของบริการดิจิทัล (Process Design)

1.2 ออกแบบกระบวนการทำงานใหม่โดยมุ่งเน้นการเชื่อมโยงกระบวนการที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร

DS501.02 176721
DS501

ออกแบบกระบวนการทำงานของบริการดิจิทัล (Process Design)

1.3 จัดทำเอกสารกระบวนงานเพื่อการอ้างอิงสำหรับการพัฒนา

DS501.03 176722
DS502

ออกแบบสารสนเทศสำหรับการให้บริการ (Information Design) 

2.1 อธิบายได้ถึง Information Flow เพื่อทำให้การพัฒนาบริการดิจิทัลมีประสิทธิภาพและคุณภาพการให้บริการที่มีคุณภาพสูง

DS502.01 176723
DS502

ออกแบบสารสนเทศสำหรับการให้บริการ (Information Design) 

2.2 ระบุแหล่งข้อมูลที่ต้องการนำมาใช้ซ้ำหรือใช้ร่วมกันระหว่างหน่วยงาน

DS502.02 176724
DS502

ออกแบบสารสนเทศสำหรับการให้บริการ (Information Design) 

2.3 จัดทำเอกสารอธิบายข้อมูล และการไหลของข้อมูลเพื่อใช้อ้างอิงร่วมกันในการพัฒนา 

DS502.03 176725
DS503

ออกแบบองค์กรสำหรับการให้บริการ

3.1 ระบุทีมงานและทักษะที่ต้องการสำหรับพัฒนานวัตกรรมบริการตลอดกระบวนงานทั้ง Frontstage และ Backstage

DS503.01 176726
DS503

ออกแบบองค์กรสำหรับการให้บริการ

3.2 มอบอำนาจการตัดสินใจสำหรับบุคคลและทีมในการตัดสินใจเองได้ 

DS503.02 176727
DS504

พัฒนานวัตกรรมบริการดิจิทัลด้วยเทคนิคพลวัตรปรับต่อเนื่อง

4.1 เลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนานวัตกรรมสำหรับยกระดับการให้บริการอย่างมีประสิทธิผล

DS504.01 176728
DS504

พัฒนานวัตกรรมบริการดิจิทัลด้วยเทคนิคพลวัตรปรับต่อเนื่อง

4.2 พัฒนานวัตกรรมบริการที่สำเร็จได้ในระยะเวลาสั้นเพื่อให้ทันต่อการใช้งานและพิสูจน์สมมติฐานก่อนขยายการพัฒนา

DS504.02 176729
DS504

พัฒนานวัตกรรมบริการดิจิทัลด้วยเทคนิคพลวัตรปรับต่อเนื่อง

4.3 กำหนดสถานการณ์ทดสอบเสมือนจริง

DS504.03 176730
DS504

พัฒนานวัตกรรมบริการดิจิทัลด้วยเทคนิคพลวัตรปรับต่อเนื่อง

4.4 วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคที่ได้จากการทดสอบและจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อปรับแต่ง

DS504.04 176731
DS504

พัฒนานวัตกรรมบริการดิจิทัลด้วยเทคนิคพลวัตรปรับต่อเนื่อง

4.5 ติดตาม ประเมิน และปรับแต่งนวัตกรรมบริการ

DS504.05 176732

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • ทักษะการเรียนรู้ในศตวววษที่ 21

  • ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการ หน้าที่ความรับผิดชอบ และการบริหารจัดการภาครัฐ

  • ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายปกครอง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ กฎหมายว่าด้วยการละเมิด

  • ความรู้เกี่ยวกับทิศทางและยุทธศาสตร์ของประเทศ

  • ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะการวิเคราะห์กระบวนงานให้บริการแบบเชื่อมโยง

  • ทักษะการตั้งคำถามต่อความคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อให้ผู้อื่นนำเสนอเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนา

  • ทักษะการสัมภาษณ์การใช้คำถามติดตาม และให้คำปรึกษาเพื่อคัดเลือกแนวทางการให้บริการที่มีผู้ใช้ เป็นศูนย์กลาง

  • มีความคิดริเริ่ม (Innovative)

  • ชอบแก้ปัญหาที่มีความท้าทาย (Problem Solving)

  • มีความพยายาม ไม่ย่อท้อ (Persistent)

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมาย พันธกิจ กระบวนการทำงานและการให้บริการของหน่วยงาน

  • ความรู้ด้านการออกแบบองค์กรและเทคนิคการทำให้บรรลุผล Organization Design and Implementation)

  • ความรู้ด้านการปรับโครงสร้างการทำงานหน่วยงานภาครัฐ (Government Process reengineering)

  • ความรู้พื้นฐานด้านสถาปัตยกรรมระบบสารสนเทศ ได้แก่ กระบวนงานดิจิทัลขององค์กร สถาปัตยกรรมข้อมูลของระบบงาน และโปรแกรมประยุกต์ที่สนับสนุนการทำงานและการตัดสินใจของหน่วยงาน

  • ความรู้ด้าน E-Government Life Cycle

  • ความรู้พื้นฐานด้านการออกแบบการให้บริการและกรอบมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ITIL (Information Technology Infrastructure Library โดยมุ่งเน้นเรื่อง IT service management (ITSM) เป็นต้น

  • ความรู้ด้านมาตรฐานการจัดการการให้บริการด้านดิจิทัล (IT Service Management Standard) เช่น ISO/IEC 20000 รวมถึง วงจรชีวิตการให้บริการ (Service Lifecycle)

  • เทคนิคการใช้เครื่องมือออกแบบการให้บริการ เช่น Service Canvas เป็นต้น

  • เทคนิคการออกแบบโดยคำนึงถึงประสบการณ์การใช้งานของผู้รับบริการ (User Experience Design)

  • เทคนิคการออกแบบกระบวนงานโดยใช้เครื่องมือ เช่น UML Diagram, Flow Chart, Business Process Modeling (BPM) เป็นต้น

  • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

  • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์

  • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทดสอบซอฟต์แวร์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • ประวัติการดำรงตำแหน่ง หรือ ประวัติการทำงาน

  • หลักฐานหรือเอกสารในการสร้างนวัตกรรมบริการ



(ข) หลักฐานความรู้(Knowledge Evidence)




  • หลักฐานการนำนวัตกรรมบริการไปใช้และผลการประเมินจากผู้ใช้

  • ประกาศนียบัตรต่างๆ จากการฝึกอบรมพัฒนาหรือการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  • ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและ หลักฐานด้านความร


15. ขอบเขต (Range Statement)

หน่วยสมรรถนะนี้เป็นสมรรถนะของข้าราชการที่ทำหน้าที่ให้บริการประชาชน หรือ ให้บริการหน่วยงาน ภายนอกหรือภายใน การสร้างนวัตกรรมบริการ หมายถึงการสร้างต้นแบบที่ได้จากการออกแบบร่วมกับกลุ่ม นักวิชาการคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคนิคพลวัตรปรับต่อเนื่อง (Agile Development) ที่สามารถทำซ้ำ โดยเน้นการ วิเคราะห์หาส่วนที่สำคัญแล้วลงมือทำก่อนด้วยเวลาระยะสั้น เพื่อให้เห็นแนวคิดของการให้บริการ แล้วทำการ ประเมินผล จากนั้นจึงทำการปรับแก้แล้วจึงทำในส่วนสำคัญถัดไป



(ก) คำแนะนำ




  • การวิเคราะห์ทางเลือกที่เหมาะสม จะวิเคราะห์โดยใช้การกำหนด Scenario ของการให้บริการใน รูปแบบดิจิทัลเต็มรูปแบบ หรือ บางส่วน เพื่อทดแทนบริการเดิมที่เป็นดิจิทัล หรือ บริการเดิมที่เป็น การทำงานด้วยคน โดยสามารถเลือกบริการที่กล่าวถึงในรายงาน PMQA ของหน่วยงาน มาเป็นตัวตั้ง ต้นได้

  • การวิเคราะห์เพื่อสร้างนวัตกรรมบริการแก่น จะใช้วิธีการคัดเลือกส่วนสำคัญเพื่อสร้างต้นแบบอย่าง รวดเร็วในรอบแรก และเพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนานวัตกรรมแก่นในรอบถัดไป

  • การใช้เทคนิคในการวิเคราะห์แบบพลวัตรปรับต่อเนื่อง สำหรับงานบริการดิจิทัล จะต้องมีเครื่องมือ สำหรับใช้สร้างต้นแบบที่ใช้งานได้ง่ายและสามารถสร้างต้นแบบได้อย่างรวดเร็ว โดยจะทำงานร่วมกับ นักวิชาการคอมพิวเตอร์



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  • การออกแบบบริการร่วมกัน จะใช้แนวคิดแบบ Co-Creation คือการทำการออกแบบบริการร่วมกัน ระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ โดยวิเคราะห์หาจุดที่ควรปรับปรุงกระบวนการทำงานเดิม แล้ว สร้างกระบวนการทำงานใหม่ 

  • การทำงานแบบพลวัตรปรับต่อเนื่อง (Agile)คือเทคนิคในการทำงานที่ไม่เน้นความสมบูรณ์ในแต่ละ ขั้นตอน แต่จะทำการคัดเลือกสิ่งที่ต้องทำ แล้วสร้างต้นแบบเพื่อประเมิน แล้วทำการปรับปรุงแก้ไข เมื่อเป็นที่พอใจจึงคัดเลือกสิ่งสำคัญลำดับถัดไป เพื่อดำเนินการต่อไปเรื่อยๆจนครบถ้วน 

  • เทคนิคการทวนสอบแนวคิด (Prove of Concept) ของการให้บริการดิจิทัล หมายถึงการจัดทำ ต้นแบบบริการ (Service Prototype) เพื่อใช้ในการพิจารณาความเป็นไปได้ทางเทคนิค และใช้ในการ ตรวจสอบขั้นตอนการทำงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ