หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินโครงการและควบคุมโครงการดิจิทัล

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CEC-KKHV-011

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินโครงการและควบคุมโครงการดิจิทัล

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Technology)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถติดตามผล ควบคุมการดำเนินการโครงการ ควบคุมการเปลี่ยนแปลง ขอบเขตโครงการ ควบคุมและประกันคุณภาพโครงการและบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
SPM501

ควบคุมและประกันคุณภาพโครงการ (Quality Assurance and Control) 

1.1 ติดตามผลตรวจสอบคุณภาพตามแผนการจัดการด้านคุณภาพ

SPM501.01 176583
SPM501

ควบคุมและประกันคุณภาพโครงการ (Quality Assurance and Control) 

1.2 ระบุสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาด้านคุณภาพ (Root Cause Analysis)

SPM501.02 176584
SPM501

ควบคุมและประกันคุณภาพโครงการ (Quality Assurance and Control) 

1.3 หาแนวทางแก้ไขสาเหตุของปัญหา 

SPM501.03 176585
SPM501

ควบคุมและประกันคุณภาพโครงการ (Quality Assurance and Control) 

1.4 ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงาน

SPM501.04 176586
SPM502

บริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น (Risk Response) 

2.1 ติดตามและตรวจสอบความเสี่ยงในระหว่างดำเนินการโครงการ (Risk Monitoring and Controlling) 

SPM502.01 176587
SPM502

บริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น (Risk Response) 

2.2 ดำเนินการตามแผนการรองรับความเสี่ยง ระบุความเสี่ยงใหม่ที่อาจ เกิดขึ้นและวางแผนจัดการ

SPM502.02 176588
SPM503

ติดตามผลและควบคุมการดำเนินการโครงการ

3.1 ตรวจสอบความคืบหน้าโครงการเพื่อระบุปัญหาและอุปสรรค

SPM503.01 176589
SPM503

ติดตามผลและควบคุมการดำเนินการโครงการ

3.2 วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่กระทบต่อความคืบหน้าของโครงการ

SPM503.02 176590
SPM503

ติดตามผลและควบคุมการดำเนินการโครงการ

3.3 ปรับปรุงแก้ไขแผนการดำเนินโครงการ

SPM503.03 176591
SPM503

ติดตามผลและควบคุมการดำเนินการโครงการ

3.4 ติดตาม KPI บุคลากรโดยการใช้เครื่องมือดิจิทัล

SPM503.04 176592
SPM504

ควบคุมการเปลี่ยนแปลงขอบเขต โครงการ 

4.1 กำหนดแนวทางในการแก้ไขขอบเขตโครงการ

SPM504.01 176593
SPM504

ควบคุมการเปลี่ยนแปลงขอบเขต โครงการ 

4.2 ปรับปรุงเงื่อนไขการตรวจรับให้สอดคล้องกับขอบเขตงานที่เปลี่ยนแปลง

SPM504.02 176594
SPM504

ควบคุมการเปลี่ยนแปลงขอบเขต โครงการ 

4.3 จัดทำระบบดิจิทัลเพื่อควบคุมและการเปลี่ยนแปลงขอบเขตของโครงการ

SPM504.03 176595

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • ทักษะการเรียนรู้ในศตวววษที่ 21

  • ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการ หน้าที่ความรับผิดชอบ และการบริหารจัดการภาครั

  • ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายปกครอง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ กฎหมายว่าด้วยการละเมิด 

  • ความรู้เกี่ยวกับทิศทางและยุทธศาสตร์ของประเทศ

  • ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะการใช้เครื่องมือการควบคุมคุณภาพ (Quality Control Tools) 

  • ทักษะการใช้เครื่องมือค้นหาสาเหตุของปัญหา (Root cause analysis tools) 

  • ทักษะการใช้เครื่องมือติดตามความคืบหน้าโครงการ (Project monitoring and control tools) 

  • ทักษะการใช้เครื่องมือควบคุมการเปลี่ยนแปลงรุ่น (Configuration management tool) 

  • การชี้ชวนและการเจรจาต่อรอง (Convincing and Negotiation) 

  • ทำงานร่วมกับและให้ความช่วยเหลือผู้อื่น (Collaborative) 

  • มีความพยายาม ไม่ย่อท้อ (Persistent) 

  • มีความฉลาดทางอารมณ์(Emotionally Intelligent)

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมาย พันธกิจ กระบวนการทำงานและการให้บริการของหน่วยงาน

  • ความรู้พื้นฐานด้านการจัดการโครงการ (Project Management)

  • ความรู้ด้านการจัดการความเสี่ยงดิจิทัล (Digital Risk Management)

  • เทคนิคการบริหารผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Management)

  • ความรู้พื้นฐานการควบคุมและประกันคุณภาพ (Quality control and Quality assurance)

  • เทคนิคการจัดการการสื่อสาร (Communication Management)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • ประวัติการดำรงตำแหน่ง หรือ ประวัติการทำงา

  • หลักฐานหรือเอกสารการมีส่วนร่วมในการควบคุมและประกันคุณภาพโครงการ เช่น การติดตามผล ตรวจสอบคุณภาพ การระบุสาเหตุปัญหา แนวทางแก้ไขปัญหาหรือปรับปรุงกระบวนการทำงาน

  • หลักฐานหรือเอกสารการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการความเสี่ยงของโครงการ เช่น เอกสารบันทึก รายการความเสี่ยงที่มีการปรับปรุงตามช่วงเวลาที่เหมาะสม หลักฐานการดำเนินการตามแผนการ รองรับความเสี่ยง (ถ้ามี) และผลการดำเนินการ

  • หลักฐานหรือเอกสารการมีส่วนร่วมในการติดตามความคืบหน้าโครงการรวมไปถึงการวิเคราะห์สาเหตุ ปัญหาที่กระทบต่อความคืบหน้า 

  • หลักฐานหรือเอกสารการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงแก้ไขแผนการดำเนินโครงการ การกำหนดขอบเขต การปรับปรุงแก้ไขเงื่อนไขการตรวจรับ



(ข) หลักฐานความรู้(Knowledge Evidence)




  • ประกาศนียบัตรด้านการจัดการโครงการ (Project Management)

  • ประกาศนียบัตรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยง (Risk Management)

  • ผลการทดสอบความรู้ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • ประกาศนียบัตรต่างๆ จากการฝึกอบรมพัฒนาหรือการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  • พิจารณาความเป็นสากลและเป็นที่ยอมรับของประกาศนียบัตร

  • พิจารณาได้จากคุณภาพของหลักฐานการปฏิบัติงาน

  • ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและ หลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ




  • SPM501 ควบคุมและประกันคุณภาพโครงการ หากเป็นการจัดจ้างบุคคลภายนอกเป็นผู้ทำโครงการ ขอบเขตของผู้ถูกประเมินจะเป็นการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) เป็นหลัก เช่นการทดสอบ ระบบตามเงื่อนไขการส่งมอบ ส่วนของการประกันคุณภาพเป็นขอบเขตของผู้รับจ้าง

  • SPM502 การบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น หากเป็นการจัดการโครงการแบบอไจล์การ ติดตามตรวจสอบความเสี่ยงควรมีการสรุปทุกวงรอบ (Release/Time box) เพื่อประเมินสถานการณ์ ล่าสุดและปรับปรุงแผนการรองรับความเสี่ยงที่เหมาะสมในวงรอบถัดไป

  • กรณีเป็นการทำโครงการรูปแบบพลวัตรปรับต่อเนื่อง (Agile) ควรดำเนินการใน SPM503 และ SPM504 (ยกเว้นข้อ 3.4) ทุกระยะเวลาการทำงานวนรอบ (Time box) หากเป็นโครงการที่จ้าง บุคคลภายนอกเป็นผู้ทำโครงการจะต้องพิจารณาสัญญาว่าจ้างให้ครอบคลุมแนวทางการแก้ไขขอบเขต ของโครงการตามวงรอบด้วย

  • กรณีเป็นการจ้างบุคคลภายนอก (Outsource) เป็นผู้ทำโครงการไม่จำเป็นต้องกำหนด KPI บุคลากร



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  • การรับมือความเสี่ยง (Risk Treatments) คือวิธีที่เลือกใช้เพื่อลดความรุนแรงจากผลกระทบเมื่อเกิด เหตุการณ์หรือลดโอกาสการเกิดความเสี่ยงแต่ละประเภท ประกอบด้วยวิธีหลักๆ คือ การหลีกเลี่ยง ความเสี่ยง (Avoidance), การโอนย้ายความเสี่ยง (Transfer), การลดความเสี่ยง (Reduce), การ ยอมรับความเสี่ยง (Accept) และการยุติความเสี่ยง (Terminate)

  • การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) หมายถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นในโครงการเพื่อให้มั่นใจว่า ผลลัพธ์ของโครงการมีคุณภาพยอมรับได้โดยมากกิจกรรมหลักคือการตรวจสอบหาความผิดพลาดของ ผลลัพธ์เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องก่อนจะนำออกใช้งานจริง

  • การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) เป็นการบริหารจัดการเพื่อสร้างความมั่นใจว่า กระบวนการหรือการดำเนินงานจะได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพตรงตามที่กำหนด โดยกิจกรรมหลักมุ่งไปที่ การตรวจสอบและปรับปรุงกระบวนการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด

  • เครื่องมือการควบคุมคุณภาพ (Quality Control Tools) การควบคุมคุณภาพเพื่อให้มั่นใจว่า ผลลัพธ์ของโครงการมีคุณภาพยอมรับได้จะต้องมีการตรวจสอบหาความผิดพลาดของผลลัพธ์เพื่อนำไป ปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องก่อนจะนำออกใช้งานจริง เครื่องมือควบคุมคุณภาพเป็นส่วนสำคัญในการ วิเคราะห์คุณภาพ เช่น ความสัมพันธ์ของข้อผิดพลาดในปัจจัยต่างๆ แนวโน้มการเพิ่มขึ้นลดลงของ ความผิดพลาด, ส่วนของโครงการที่สร้างข้อผิดพลาดเป็นต้น ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้สากล ได้แก่ Histogram, Pareto Chart, Scatter diagram เป็นต้น

  • เครื่องมือค้นหาสาเหตุของปัญหา (Root cause analysis tools) ปัญหาหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น อาจมีความซับซ้อน หากไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงการแก้ไขก็จะไม่ตรงจุด ข้อผิดพลาดอาจเกิดขึ้นอีก เรื่อยๆ เครื่องมือค้นหาสาเหตุปัญหาเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสืบค้นไปถึงสาเหตุของปัญหาได้ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ทั่วไปได้แก่ Fishbone diagrams, Flow charting, Five whys, Affinity diagrams เป็นต้น

  • เครื่องมือติดตามความคืบหน้าโครงการ (Project monitoring and control tools) ใช้วัดความ คืบหน้าของโครงการเพื่อประเมินว่าโครงการเร็วหรือล่าช้ากว่ากำหนด และใช้เป็นข้อมูลตั้งต้นในการ ระบุปัญหาที่ต้องแก้ไข ตัวอย่างของเครื่องมือที่ใช้ทั่วไป เช่น PERT/CPM diagram, Gantt chart, Burn down chart เป็นต้น โดยเครื่องมือที่ใช้ควรเลือกให้เหมาะสมกับรูปแบบการจัดการโครงการ กรณีเป็นการจัดการโครงการแบบอไจล์ควรต้องมีรวบรวมข้อมูลและแสดงความคืบหน้ารายวันโดยใช้ Burn down chart เพื่อให้ทุกฝ่ายทราบสถานการณ์ต่อเนื่อง และแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที

  • เครื่องมือควบคุมการเปลี่ยนแปลงรุ่น (Configuration management tools) ในการจัดการ โครงการจำเป็นต้องมีการควบคุมการเปลี่ยนแปลงรุ่นของเอกสารหรือชิ้นงานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่เกี่ยวข้องกับขอบเขตงาน เครื่องมือควบคุมการเปลี่ยนแปลงรุ่นมีความสำคัญในการเก็บรุ่นเอกสาร เพื่อให้สามารถสืบย้อน เปรียบเทียบได้ตัวอย่างของเครื่องมือควบคุมการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ใช้ทั่วไป เช่น CSV, Subversion, Rational Clear Case เป็นต้น

  • โครงการที่พัฒนาโดยวิธีพลวัตรปรับต่อเนื่อง (Agile) พิจารณากระบวนการในขั้นตอนต่างๆ ตลอด ทั้งวัฏจักรชีวิตของซอฟต์แวร์ตั้งแต่การจัดทำแผนการพัฒนาซอฟต์แวร์การพัฒนาซอฟต์แวร์การ ตรวจสอบควบคุมคุณภาพซอฟต์แวร์และประเมินคุณภาพโดยรวมของซอฟต์แวร์อย่างมีความยืดหยุ่น โดยเน้นความเหมาะสมกับบริบทขององค์กรที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการและใช้งานได้จริง

  • ระยะเวลาการทำงานวนรอบ (Time box) เป็นแนวคิดสำคัญในการจัดการโครงการแบบพลวัตร ปรับต่อเนื่อง (Agile) โดยแบ่งเวลาในการพัฒนาโครงการเป็นช่วงๆ และมีการกำหนดผลลัพธ์ที่จะได้ มาตรฐานสมรรถนะด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ หน้า 155 อย่างชัดเจนทีละช่วงไป ในการทำงานเป็นทีมย่อยอาจกำหนดระยะเวลาการทำงานวนรอบในระดับ 2- 4 สัปดาห์ในระดับการส่งมอบผลลัพธ์โครงการ (Release) อาจกำหนดเป็นใน 2-6 เดือน เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ