หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้ดิจิทัลเพื่อการทำงานร่วมกัน

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CEC-MTBN-029

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้ดิจิทัลเพื่อการทำงานร่วมกัน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ กลุ่มผู้บริหารระดับสูง (Executive) กลุ่มผู้อำนวยการกอง (Management) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับงานนโยบายและงานวิชาการ (Academic) กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน เฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Technology) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านบริการ (Service) และกลุ่ม ผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ (Others)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถ 1) ทำงานร่วมกันแบบออนไลน์โดยใช้งานพื้นที่แบ่งปันข้อมูล ออนไลน์ใช้งานโปรแกรมแบ่งปันหน้าจอ ใช้งานโปรแกรมประชุมทางไกลผ่านจอภาพ 2) สามารถใช้โปรแกรม สร้างสื่อดิจิทัล โดยใช้โปรแกรมสร้างเว็บ ใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการทำงาน ใช้โปรแกรมตกแต่งภาพ ใช้โปรแกรมจับ การทำงานของหน้าจอ ใช้โปรแกรมตัดต่อสื่อภาพเคลื่อนไหว และ 3) สามารถใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย เพื่อป้องกันภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัย ปฏิบัติตามหลักการเพื่อรักษาความปลอดภัย ปฏิบัติตามหลักการ ใช้งานเว็บบราวเซอร์อย่างปลอดภัย พร้อมทั้งสามารถกำหนดรูปแบบการพิสูจน์ตัวตนได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
N/A

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
Dlit301

ทำงานร่วมกันแบบออนไลน์

1.1 ใช้งานพื้นที่ทำงานแบบออนไลน์ 

Dlit301.01 176790
Dlit301

ทำงานร่วมกันแบบออนไลน์

1.2 ใช้งานพื้นที่แบ่งปันข้อมูลออนไลน์

Dlit301.02 176791
Dlit301

ทำงานร่วมกันแบบออนไลน์

1.3 ใช้งานโปรแกรมแบ่งปันหน้าจอ

Dlit301.03 176792
Dlit301

ทำงานร่วมกันแบบออนไลน์

1.4 ใช้งานโปรแกรมประชุมทางไกลผ่านจอภาพ

Dlit301.04 176793
Dlit302

ใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล

2.1 ใช้โปรแกรมสร้างเว็บ

Dlit302.01 176794
Dlit302

ใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล

2.2 ใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการทำงาน

Dlit302.02 176795
Dlit302

ใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล

2.3 ใช้โปรแกรมตกแต่งภาพ 

Dlit302.03 176796
Dlit302

ใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล

2.4 ใช้โปรแกรมจับการทำงานของหน้าจอ

Dlit302.04 176797
Dlit302

ใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล

2.5 ใช้โปรแกรมตัดต่อสื่อภาพเคลื่อนไหว

Dlit302.05 176798
Dlit303

ใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย

3.1 จัดการภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัย

Dlit303.01 176799
Dlit303

ใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย

3.2 ปฏิบัติตามหลักการเพื่อรักษาความปลอดภัย

Dlit303.02 176800
Dlit303

ใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย

3.3 ปฏิบัติตามหลักการใช้งานเว็บบราวเซอร์อย่างปลอดภัย 

Dlit303.03 176801
Dlit303

ใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย

3.4 จัดการรูปแบบการพิสูจน์ตัวตน

Dlit303.04 176802

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

  • ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการ หน้าที่ความรับผิดชอบ และการบริหารจัดการภาครัฐ

  • ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายปกครอง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ กฎหมายว่าด้วยการละเมิด

  • ความรู้เกี่ยวกับทิศทางและยุทธศาสตร์ของประเทศ

  • ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล

  • การใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

  • การใช้งานอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ปฏิบัติการใช้งานพื้นที่ทำงานแบบออนไลน์

  • ปฏิบัติการใช้งานพื้นที่แบ่งปันข้อมูลออนไลน์

  • ปฏิบัติการใช้งานโปรแกรมแบ่งปันหน้าจอ

  • ปฏิบัติการใช้งานโปรแกรมประชุมทางไกลผ่านจอภาพ

  • ปฏิบัติการใช้โปรแกรมสร้างเว็บ

  • ปฏิบัติการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการทำงาน

  • ปฏิบัติการใช้โปรแกรมตกแต่งภา

  • ปฏิบัติการใช้โปรแกรมจับการทำงานของหน้าจอ

  • ปฏิบัติการใช้โปรแกรมตัดต่อสื่อภาพเคลื่อนไหว 

  • ป้องกันภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัย

  • ปฏิบัติตามหลักเพื่อรักษาความปลอดภัย

  • ปฏิบัติตามหลักการใช้งานเว็บบราวเซอร์อย่างปลอดภัย

  • กำหนดรูปแบบการพิสูจน์ตัวตน

  • ชอบทดลองทำสิ่งใหม่ๆ (Exploratorily Excitable)

  • ยอมรับปรับตัว (Adaptive)

  • มีความพยายาม ไม่ย่อท้อ (Persistent)

  • ติดตามความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี(Keep Abreast with Technological Change)

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้ด้านการใช้งานเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย รวมถึงประเด็นทางสังคม จริยธรรมและความเป็น ส่วนตัว

  • เทคนิคการใช้โปรแกรมใช้ทำงานร่วมกันแบบออนไลน์

  • ความรู้ด้านการใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการหรือหน่วยงานราชการ

  • เอกสารการประเมินการปฏิบัติงานจริงตามรายการประเมิน

  • แบบบันทึกรายการจากการสังเกตจากการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้(Knowledge Evidence)




  • เอกสารรับรองการสอบผ่านการทดสอบความรู้ทางด้านไอทีด้านดิจิทัล หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • เอกสารรับรองการเข้ารับการอบรมความรู้ทางด้านไอทีด้านดิจิทัล หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



การตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



N/A



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  • การใช้งานพื้นที่เพื่อการทำงานร่วมกันแบบออนไลน์มีขอบเขตครอบคลุม การเลือกใช้พื้นที่การทำงาน เช่น Microsoft SharePoint, Google Docs เป็นต้น รวมทั้งการใช้งานและการแบ่งปันพื้นที่การ ทำงานแบบออนไลน์

  • การใช้งานพื้นที่แบ่งปันข้อมูลออนไลน์มีขอบเขตครอบคลุม การเลือกใช้พื้นที่แบ่งปันข้อมูล เช่น OneDrive, Drop box เป็นต้น รวมทั้งการใช้งานและการแบ่งปันพื้นที่แบ่งปันข้อมูลแบบออนไลน์

  • การใช้งานโปรแกรมแบ่งปันหน้าจอ มีขอบเขตครอบคลุม การเลือกใช้โปรแกรมแบ่งปันหน้าจอ เช่น Windows Remote Assistance, TeamViewer, Join me เป็นต้น รวมทั้งการใช้งานโปรแกรม แบ่งปันหน้าจอร่วมกัน 

  • การใช้งานโปรแกรมประชุมทางไกลผ่านจอภาพ มีขอบเขตครอบคลุม การเลือกใช้โปรแกรมประชุม ทางไกลผ่านจอภาพ เช่น Skype, Google Hangout เป็นต้น รวมทั้งการใช้งานโปรแกรมประชุม ทางไกลผ่านจอภาพร่วมกัน 

  • การใช้โปรแกรมสร้างเว็บมีขอบเขตครอบคลุม การออกแบบหน้าเว็บเพจ ด้วยการปรับแต่งตัวอักษร การสร้างจุดเชื่อมโยง กาสร้างตาราง อีกทั้งการใส่ CSS Styles และการแทรกวัตถุต่าง ๆ บนเว็บเพจ เช่นรูปภพ และแบบฟอร์ม รวมถึงการเผยแพร่เว็บเพจ 

  • การใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการทำงานมีขอบเขตครอบคลุม การเลือกใช้สื่อดิจิทัลแบบต่าง ๆ การจำแนก รูปแบบของสื่อดิจิทัล รวมถึงการใช้งานสื่อดิจิทัล 

  • การใช้โปรแกรมตกแต่งภาพมีขอบเขตครอบคลุม การบันทึกภาพจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น หน้าจอ คอมพิวเตอร์, หน้าเว็บเพจ สแกนเนอร์เป็นต้น และการปรับแต่งรูปด้วยโปรแกรมตกแต่งภาพ รวมถึง การบันทึกไฟล์ภาพเพื่อนำไปใช้งาน −

  • การใช้โปรแกรมจับการทำงานของหน้าจอมีขอบเขตครอบคลุม การใช้โปรแกรมสำหรับจับการทำงาน ของหน้าจอ รวมถึงการบันทึกไฟล์เพื่อนำไปใช้งาน

  • การใช้โปรแกรมตัดต่อสื่อภาพเคลื่อนไหวมีขอบเขตครอบคลุม ชนิดไฟล์ที่นำมาใช้งานเพื่อการตัดต่อสื่อ ภาพเคลื่อนไหว การใช้โปรแกรมตัดต่อสื่อภาพเคลื่อนไหว รวมถึงการบันทึกไฟล์เพื่อนำไปใช้งาน

  • การป้องกันภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัย มีขอบเขตครอบคลุม ภัยคุกคามด้านความมั่นคง ปลอดภัย ของข้อมูล เช่น การนำแฟ้มข้อมูลขึ้นสู่การทำงานบนระบบออนไลน์หรือคลาวคอมพิวติ้ง วิธีการป้องกันการแก้ไขข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ การเข้ารหัส และการจัดเก็บแฟ้มข้อมูลลงสื่อจัดเก็บ เป็นต้น การป้องกันภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัยของโปรแกรม เช่น โปรแกรมการใช้งาน ธนาคารออนไลน์การใช้งานโปรแกรมสังคมออนไลน์และการปรับปรุงข้อบกพร่องและรุ่นของ โปรแกรม เป็นต้น รวมทั้งการป้องกันภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัย ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น การแพร่ขยายไวรัสคอมพิวเตอร์ผ่านอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล การติดตามอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เมื่อ สูญหาย และความมั่นคงปลอดภัยของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

  • การปฏิบัติตามหลักเพื่อรักษาความปลอดภัย มีขอบเขตครอบคลุม การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เช่น การเข้ารหัสแฟ้มข้อมูล ช่องทางการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมกับการส่งผ่านข้อมูลใน สถานะเคลื่อนไหว หรือสถานะหยุดพัก วิธีการจัดเก็บข้อมูลที่ดีที่สุดในการรักษาข้อมูลให้ปลอดภัย การ ทำลายข้อมูล การกู้คืนข้อมูล และนโยบายภาครัฐกับระบบการรักษาข้อมูล เป็นต้น พร้อมทั้งการรักษา ความปลอดภัยของโปรแกรม เช่น การเข้าโจมตีโปรแกรม กระบวนการ update โปรแกรมเพื่อปิดช่อง โหว่และการเลือกใช้ภาษาโปรแกรมเพื่อความปลอดภัยในโปรแกรมระบบออนไลน์เป็นต้น

  • การปฏิบัติตามหลักการใช้งานเว็บบราวเซอร์อย่างปลอดภัย มีขอบเขตครอบคลุม การปรับแต่งความ ปลอดภัยของเว็บเบราเซอร์เช่น การกำหนดค่า remember username และ password, การล้าง cache, การกำหนดค่าความปลอดภัยในการเข้าระบบอินเทอร์เน็ต, การอนุญาตให้run script บน เว็บเบราเซอร์และการปรับเป็นโหมดไม่ระบุตัวตน เป็นต้น การใช้งานเว็บเบราเซอร์อย่างปลอดภัย เช่น การใช้https, การ log off, การใช้งานผ่าน proxy และการเข้าถึงเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ เป็นต้น พร้อมทั้งการใช้งานโปรแกรมเสริมสำหรับเว็บเบราเซอร์เช่น add on, web store, และ extensions เป็นต้น

  • การกำหนดรูปแบบการพิสูจน์ตัวตน มีขอบเขตครอบคลุม การพิสูจน์ตัวตนด้วยสิ่งที่เป็น เช่น finger print, palm scan, voice recognition, retina scan, และ facial recognition เป็นต้น การพิสูจน์ ตัวตนด้วยสิ่งที่มีเช่น cryptographic keys, one time password, และ ID card เป็นต้น พร้อมทั้ง การพิสูจน์ตัวตนด้วยสิ่งที่รู้เช่น การกำหนดรหัสผ่าน, การพิสูจน์ตัวตน, และเครื่องมือสำหรับทดสอบ รหัสผ่าน เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ผู้ที่มีความประสงค์จะเข้ารับการประเมินตามหน่วยสมรรถนะนี้ให้ดำเนินการตามขั้นตอนเข้ารับการ ประเมินสมรรถนะของบุคคล ตามที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพได้ประกาศเผยแพร่ไว้ที่หน้าเว็บไซท์ของสถาบันฯ (http://tpqi-net.tpqi.go.th/tpqi_cp/?page=howTo/howTo_asmRegist.php) โดยเลือกสมัครเข้ารับการ ประเมินสมรรถนะของบุคคลภายใต้มาตรฐานสมรรถนะหลักในการทำงาน สมรรถนะหลักด้านคอมพิวเตอร์และ สารสนเทศ สมรรถนะความสามารถด้านการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) ระดับ 2 ทักษะขั้นต้นสำหรับการทำงาน (กลุ่ม 3 (http://tpqi-net.tpqi.go.th/tpqi_sa/index.php?page=ShowCer.php&OCC=ITC&RoleId=24325 &Level=2&KfID=3&user_id) หรือ ระดับ 3 ทักษะขั้นประยุกต์สำหรับการทำงาน (http://tpqi-net.tpqi.go.th/ tpqi_sa/index.php?page=ShowCer.php&OCC=ITC&RoleId=24348&Level=3&KfID=4&user_id) โดยให้ นำเฉพาะผลการประเมินของหน่วยสมรรถนะทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ (CEC-ITC-2-007ZA) หน่วยสมรรถนะ ใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล (CEC-ITC-2-008ZA) และหน่วยสมรรถนะใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย (CEC-ITC-2-009ZA) มาแสดงต่อผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการพิจารณาต่อไป



ยินดีต้อนรับ