หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เข้าถึงและตระหนักดิจิทัล

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CEC-OQZN-027

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เข้าถึงและตระหนักดิจิทัล

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ กลุ่มผู้บริหารระดับสูง (Executive) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับงาน นโยบายและงานวิชาการ (Academic) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านบริการ (Service) และกลุ่ม ผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ (Others)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถ 1) ใช้งานคอมพิวเตอร์ในเรื่องต่างๆ ได้เช่นฮาร์ดแวร์ ระบบปฏิบัติการ การจัดการข้อมูล การสำรองข้อมูล อุปกรณ์เคลื่อนที่ และคลาวด์คอมพิวติ้ง 2) ใช้งาน อินเทอร์เน็ตได้เช่นการใช้เว็บเบราเซอร์การสืบค้นข้อมูล การใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ปฏิทิน สื่อสังคม โปรแกรมการสื่อสาร และใช้ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และ 3) สามารถใช้งานเพื่อความมั่นคงปลอดภัยได้เช่น การใช้ งานบัญชีรายชื่อบุคคล การป้องกันภัยคุกคาม การป้องกันมัลแวร์การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้อง และปลอดภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
Dlit101

ใช้งานคอมพิวเตอร์

1.1 ใช้งานฮาร์ดแวร์

Dlit101.01 176753
Dlit101

ใช้งานคอมพิวเตอร์

1.2 ใช้งานระบบปฏิบัติการ

Dlit101.02 176754
Dlit101

ใช้งานคอมพิวเตอร์

1.3 จัดการข้อมูล

Dlit101.03 176755
Dlit101

ใช้งานคอมพิวเตอร์

1.4 สำรองข้อมูล 

Dlit101.04 176756
Dlit101

ใช้งานคอมพิวเตอร์

1.5 ใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่ 

Dlit101.05 176757
Dlit101

ใช้งานคอมพิวเตอร์

1.6 ใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้ง

Dlit101.06 176758
Dlit102

ใช้งานอินเตอร์เน็ต 

2.1 ใช้งานเว็บเบราเซอร์

Dlit102.01 176759
Dlit102

ใช้งานอินเตอร์เน็ต 

2.2 สืบค้นข้อมูล

Dlit102.02 176760
Dlit102

ใช้งานอินเตอร์เน็ต 

2.3 ใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

Dlit102.03 176761
Dlit102

ใช้งานอินเตอร์เน็ต 

2.4 ใช้งานปฏิทิน

Dlit102.04 176762
Dlit102

ใช้งานอินเตอร์เน็ต 

2.5 ใช้งานสื่อสังคม

Dlit102.05 176763
Dlit102

ใช้งานอินเตอร์เน็ต 

2.6 ใช้งานโปรแกรมการสื่อสาร

Dlit102.06 176764
Dlit102

ใช้งานอินเตอร์เน็ต 

2.7 ใช้ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

Dlit102.07 176765
Dlit103

ใช้งานเพื่อความมั่นคงปลอดภัย

3.1 ใช้บัญชีรายชื่อบุคคล

Dlit103.01 176766
Dlit103

ใช้งานเพื่อความมั่นคงปลอดภัย

3.2 ป้องกันภัยคุกคาม 

Dlit103.02 176767
Dlit103

ใช้งานเพื่อความมั่นคงปลอดภัย

3.3 ป้องกันมัลแวร์

Dlit103.03 176768
Dlit103

ใช้งานเพื่อความมั่นคงปลอดภัย

3.4 ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย

Dlit103.04 176769
Dlit103

ใช้งานเพื่อความมั่นคงปลอดภัย

3.5 ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้อง

Dlit103.05 176770

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

  • ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการ หน้าที่ความรับผิดชอบ และการบริหารจัดการภาครัฐ

  • ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายปกครอง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ กฎหมายว่าด้วยการละเมิด

  • ความรู้เกี่ยวกับทิศทางและยุทธศาสตร์ของประเทศ

  • ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ปฏิบัติการใช้งานฮาร์ดแวร์

  • ปฏิบัติการใช้งานระบบปฏิบัติการ

  • ปฏิบัติการจัดการข้อมูล

  • ปฏิบัติการสำรองข้อมูล

  • ปฏิบัติการใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่

  • ปฏิบัติการใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้ง

  • ปฏิบัติการใช้งานเว็บเบราเซอร์

  • ปฏิบัติการสืบค้นข้อมูล

  • ปฏิบัติการใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

  • ปฏิบัติการใช้งานปฏิทิน 

  • ปฏิบัติการใช้งานสื่อสังคม 

  • ปฏิบัติการใช้งานโปรแกรมการสื่อสาร

  • ปฏิบัติการใช้ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

  • ปฏิบัติการใช้บัญชีรายชื่อบุคคล

  • ปฏิบัติการป้องกันภัยคุกคาม

  • ปฏิบัติการป้องกันมัลแวร์

  • ปฏิบัติการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย

  • ปฏิบัติการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้อง

  • ชอบทดลองทำสิ่งใหม่ๆ (Exploratorily Excitable)

  • ยอมรับปรับตัว (Adaptive)

  • มีความพยายาม ไม่ย่อท้อ (Persistent)

  • ติดตามความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี(Keep Abreast with Technological Change)

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • การใช้งานคอมพิวเตอร์

  • การใช้งานอินเตอร์เน็ต

  • การใช้งานเพื่อความมั่นคงปลอดภัย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการหรือหน่วยงานราชการ

  • เอกสารการประเมินการปฏิบัติงานจริงตามรายการประเมิน

  • แบบบันทึกรายการจากการสังเกตจากการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้(Knowledge Evidence)




  • เอกสารรับรองการสอบผ่านการทดสอบความรู้ทางด้านไอทีด้านดิจิทัล หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • เอกสารรับรองการเข้ารับการอบรมความรู้ทางด้านไอทีด้านดิจิทัล หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  • ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและ หลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



N/A



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  • การใช้งานฮาร์ดแวร์มีขอบเขตครอบคลุม ประเภทของฮาร์ดแวร์เช่น Desktop, Laptop, Tablet, Smartphone, Media Player, Digital Camera เป็นต้น องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เช่น System Unit, CPU, Memory, Input/Output Devices, Storage Devices เป็นต้น การ เชื่อมต่ออุปกรณ์นำเข้าตัวอย่างเช่น Driver, USB, PS2, Firewire, RJ45, พอร์ต Multimedia เป็นต้น การเชื่อมต่ออุปกรณ์แสดงผล เช่น USB, HDMI, VGA, DVI, FireWire, พอร์ต Multimedia เป็นต้น พร้อมทั้งการแก้ปัญหาการใช้งานฮาร์ดแวร

  • การใช้งานระบบปฏิบัติการ มีขอบเขตครอบคลุม ประเภทของซอฟต์แวร์เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ ซอฟต์แวร์ประยุกต์และโปรแกรมอรรถประโยชน์เป็นต้น การแสดงผลเดสก์ท็อป เช่น การปรับภาพ พื้นหลัง, การตั้งค่าการแสดงผล Resolution, การปรับแต่งไอคอน เพิ่ม ลบ แก้ไข เป็นต้น ฟังก์ชันของ ระบบปฏิบัติการ เช่น Window, Toolbar, Task Bar, Control Panel, Start Up, Shut Down เป็น ต้น โปรแกรมประยุกต์บนระบบปฏิบัติการ เช่น การติดตั้ง ถอนการติดตั้ง และอัพเดตโปรแกรม เป็น ต้น ตลอดจนการแก้ไขปัญหาการใช้ระบบปฏิบัติการ

  • การจัดการข้อมูล มีขอบเขตครอบคลุม การสร้าง เคลื่อนย้าย ใช้งาน แฟ้ม/ฐานข้อมูล พร้อมทั้ง ปรับเปลี่ยนค่ากำหนดของแฟ้ม เช่น การตั้งชื่อ เปลี่ยนชื่อ คัดลอก ย้าย ระบุประเภท จัดรูปแบบการ แสดงผล และคุณสมบัติเป็นต้น −

  • การสำรองข้อมูล มีขอบเขตครอบคลุม รูปแบบการสำรองข้อมูล เช่น Unstructured, System Imaging, Incremental เป็นต้น สำรองและกู้คืนข้อมูล เช่น การสำรองและกู้คืนข้อมูลโดยการใช้ โปรแกรมประยุกต์การสำรองข้อมูลไปยังหน่วยความจำสำรองและหน่วยจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ คอมพิวติ้ง เป็นต้น

  • การใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่ มีขอบเขตครอบคลุม ประเภทของอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น Tablet, Smartphone, PDA เป็นต้น การเชื่อมต่อระบบเครือข่าย เช่น WIFI, Bluetooth 4G และ 3G เป็นต้น การใช้แอพพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น SMS, Social Media, Organizer เป็นต้น พร้อมทั้งการ ปรับแต่งแอพพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่

  • การใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้ง มีขอบเขตครอบคลุม บริการบนคลาวด์คอมพิวติ้ง เช่น SaaS PaaS และ IaaS เป็นต้น พร้อมทั้งการใช้บริการและการแบ่งปันทรัพยากรบนคลาวด์คอมพิวติ้ง เช่น Dropbox, OneDrive, Google Drive, Amazon Cloud Service เป็นต้น

  • การใช้งานเว็บเบราเซอร์ในการปฏิบัติงาน มีขอบเขตครอบคลุม การเลือกใช้เครือข่าย เช่น (LAN, MAN, WAN, VPN เป็นต้น รวมทั้งการใช้งานและการปรับแต่งเว็บเบราเซอร์

  • การสืบค้นข้อมูลในการปฏิบัติงาน มีขอบเขตครอบคลุม การสืบค้นด้วยคำค้นและเงื่อนไขที่กำหนด เช่น And, Or, Not, Image, Size, Color, File Type เป็นต้น รวมถึงการจัดการการเข้าถึงข้อมูลที่สืบค้น

  • การใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ในการปฏิบัติงาน มีขอบเขตครอบคลุม การสร้างอีเมล์ องค์ประกอบของอีเมล เช่น ชื่อเรื่อง ไฟล์แนบ ส่งถึง สำเนาถึงและสำเนาลับ เป็นต้น การปรับตั้งค่า และการจัดการอีเมล รวมทั้งรายชื่อผู้ติดต่อบนอีเมล์

  • การใช้งานปฏิทินในการปฏิบัติงาน มีขอบเขตครอบคลุม การสร้างตารางนัดหมาย การปรับตั้งค่า ปฏิทิน เช่น มุมมอง การจัดเรียง การกรอง เป็นต้น รวมทั้งการแบ่งปันปฏิทินให้ผู้อื่นใช้งาน เช่น Share, Invite เป็นต้น

  • การใช้งานสื่อสังคมในการปฏิบัติงาน มีขอบเขตครอบคลุม การใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ตาม ประเภทของการติดต่อสื่อสาร และตามหลักความปลอดภัย เช่น ด้านกฎหมาย จริยธรรม ความ น่าเชื่อถือ ปลอดภัย เป็นต้น

  • การใช้งานโปรแกรมการสื่อสารในการปฏิบัติงาน มีขอบเขตครอบคลุม การเลือกใช้โปรแกรมการ สื่อสาร เช่น Internet Relay Chat, SMS, Web Conference, Google Hangouts, Streaming Media Technology, E-learning เป็นต้น รวมทั้งการปรับแต่งค่าของโปรแกรมการสื่อสาร

  • การใช้ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในการปฏิบัติงาน มีขอบเขตครอบคลุม ความปลอดภัยในการซื้อ-ขาย สินค้าออนไลน์การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์การบริการออนไลน์รวมทั้งการเรียนรู้ออนไลน์

  • การใช้งานบัญชีรายชื่อบุคคล มีขอบเขตครอบคลุม ความปลอดภัยในการสร้างบัญชีรายชื่อและ รหัสผ่าน รวมทั้งการใช้อัตลักษณ์บุคคลในการยืนยันตัวตน

  • การป้องกันภัยคุกคาม มีขอบเขตครอบคลุม การปรับรุ่นระบบปฏิบัติการ การกำหนดค่าไฟร์วอลล์ส่วน บุคคล (Personal Firewall) การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล เช่น รหัสบัตรประชาชน หมายเลขบัตร เครดิต ที่อยู่ เป็นต้น

  • การป้องกันมัลแวร์มีขอบเขตครอบคลุม การใช้งานซอฟต์แวร์ป้องกันมัลแวร์การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ต่อความปลอดภัย การตรวจสอบอาการผิดปกติจากมัลแวร์

  • การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย มีขอบเขตครอบคลุม ความปลอดภัยในการใช้งานโปรแกรม เบราเซอร์การทำงานกับระบบรหัสลับ (Encryption) การใช้งานอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

  • การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้อง มีขอบเขตครอบคลุม การใช้งานเนื้อหาออนไลน์การใช้บริการ อินเทอร์เน็ต การใช้งานอินเทอร์เน็ต เช่น ข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์หลักการโดยชอบธรรมในการใช้งานข้อมูล มารยาทเครือข่าย (Netiquette) การให้ร้าย การกลั่นแกล้ง เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ผู้ที่มีความประสงค์จะเข้ารับการประเมินตามหน่วยสมรรถนะนี้ให้ดำเนินการตามขั้นตอนเข้ารับการ ประเมินสมรรถนะของบุคคล ตามที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพได้ประกาศเผยแพร่ไว้ที่หน้าเว็บไซท์ของสถาบันฯ (http://tpqi-net.tpqi.go.th/tpqi_cp/?page=howTo/howTo_asmRegist.php) โดยเลือกสมัครเข้ารับการ ประเมินสมรรถนะของบุคคลได้โดยตรงภายใต้มาตรฐานสมรรถนะหลักในการทำงาน สมรรถนะหลักด้าน คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ สมรรถนะความสามารถด้านการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) ระดับ 1 ทักษะขั้น พื้นฐาน (http://tpqi-net.tpqi.go.th/tpqi_sa/index.php?page=ShowCer.php&OCC=ITC&RoleId=24325 &Level=1&KfID=1&user_id) เพื่อนำเอาผลการประเมินมาแสดงต่อผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องใช้ในการพิจารณา



นอกจากนี้ยังสามารถเลือกสมัครเข้ารับการประเมินสมรรถนะของบุคคลในอีก 3 ระดับ (ซึ่งมีจำนวนหน่วย สมรรถนะที่ต้องรับการประเมินมากกว่าในระดับ 1 ทักษะขั้นพื้นฐาน) ภายใต้มาตรฐานสมรรถนะหลักในการ ทำงาน สมรรถนะหลักด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ สมรรถนะความสามารถด้านการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) คือ




  • ระดับ 2 ทักษะขั้นต้นสำหรับการทำงาน (กลุ่ม 2)

  • ระดับ 2 ทักษะขั้นต้นสำหรับการทำงาน (กลุ่ม 3)

  • ระดับ 3 ทักษะขั้นประยุกต์สำหรับการทำงาน



โดยให้นำเฉพาะผลการประเมินของหน่วยสมรรถนะใช้งานคอมพิวเตอร์ (CEC-ITC-1-001ZA) หน่วย สมรรถนะใช้งานอินเทอร์เน็ต (CEC-ITC-1-002ZA) และหน่วยสมรรถนะใช้งานเพื่อความมั่นคงปลอดภัย (CEC-ITC-1-003ZA) มาแสดงต่อผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการพิจารณาต่อไป



ยินดีต้อนรับ