หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้โปรแกรมดิจิทัลเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับงานประจำ

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CEC-UKCS-033

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้โปรแกรมดิจิทัลเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับงานประจำ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ กลุ่มผู้อำนวยการกอง (Management) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับ งานนโยบายและงานวิชาการ (Academic) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านบริการ (Service) และกลุ่ม ผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ (Others)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถกำหนดข้อมูลนำเข้า (Input Data), รูปแบบสมการ/แนวทาง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมดิจิทัล และรูปแบบการแสดงผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนจัดทำ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการทำงานของหน่วยงานจากข้อมูลสารสนเทศที่ได

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
Dlit701

กำหนดข้อมูลนำเข้า (Input Data)

1.1 นำเข้าข้อมูล (Input Data) จากแหล่งข้อมูลหลายแหล่งได้

Dlit701.01 176817
Dlit701

กำหนดข้อมูลนำเข้า (Input Data)

1.2 ระบุเกณฑ์เพื่อใช้ในการตรวจสอบข้อมูลนำเข้า โดยการใช้โปรแกรมดิจิทัล

Dlit701.02 176818
Dlit702

กำหนดรูปแบบสมการ/แนวทางวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมดิจิทัล

2.1 ใช้Aggregate Function (Sum, Avg, Min, Max) กับข้อมูลที่จะวิเคราะห์ได้

Dlit702.01 176819
Dlit702

กำหนดรูปแบบสมการ/แนวทางวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมดิจิทัล

2.2 จัดกลุ่มข้อมูลได้

Dlit702.02 176820
Dlit702

กำหนดรูปแบบสมการ/แนวทางวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมดิจิทัล

2.3 วิเคราะห์การกระจายและความสัมพันธ์ของข้อมูลได้ 

Dlit702.03 176821
Dlit703

กำหนดรูปแบบการแสดงผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ข้อมูล

3.1 แสดงผลลัพธ์ในรูปแบบตาราง

Dlit703.01 176822
Dlit703

กำหนดรูปแบบการแสดงผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ข้อมูล

3.2 แสดงผลลัพธ์ในรูปแบบกราฟ

Dlit703.02 176823
Dlit704

จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการทำงานของหน่วยงานจากข้อมูลสารสนเทศที่ได

4.1 วิเคราะห์และตีความผลจากข้อมูลสารสนเทศที่ได้

Dlit704.01 176824
Dlit704

จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการทำงานของหน่วยงานจากข้อมูลสารสนเทศที่ได

4.2 เสนอแนวทางเพื่อพัฒนาการทำงานโดยอิงข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์

Dlit704.02 176825

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

  • ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการ หน้าที่ความรับผิดชอบ และการบริหารจัดการภาครัฐ

  • ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายปกครอง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ กฎหมายว่าด้วยการละเมิด

  • ความรู้เกี่ยวกับทิศทางและยุทธศาสตร์ของประเทศ

  • ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • มองเห็นภาพรวมและความเชื่อมโยงระหว่างการทำงานของตนเองและคนอื่น (Holistic View and Task Linkage

  • สามารถกำหนดขอบเขตงานของการสร้างข้อสนเทศจากข้อมูลในหน่วยงาน

  • สามารถจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการทำงานของหน่วยงานจากข้อมูลสารสนเทศที่ได้

  • ชอบแก้ปัญหาที่มีความท้าทาย (Problem Solving)

  • มีความคิดริเริ่ม (Innovative)

  • ชอบทดลองทำสิ่งใหม่ๆ (Exploratorily Excitable)

  • เปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ (Open to New Experience)

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมการบริการ (SOA: Service-Oriented Architecture)

  • ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมองค์กรในด้านข้อมูล (Enterprise Data Architecture)

  • ความรู้ด้านมาตรฐานข้อมูล (Government Data Standard) และมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูล (Government Open Data)

  • ความรู้ด้านสถิติพื้นเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์เบื้องต้น

  • ความรู้ด้านข้อมูลและการวิเคราะห์(Data and Analytic Literacy) ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Quantitative and Qualitative)

  • เทคนิคการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบรูปภาพ (Infographic)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากหน่วยงาน 

  • เอกสารการประเมินการปฏิบัติงานจริงตามรายการประเมิน 

  • แบบบันทึกรายการจากการสังเกตจากการปฏิบัติงาน

  • ประวัติการดำรงตำแหน่ง หรือ ประวัติการทำงาน



(ข) หลักฐานความรู้(Knowledge Evidence) 




  • เอกสารรับรองการสอบผ่านการทดสอบความรู้ทางด้านไอทีด้านดิจิทัล หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อ

  • เอกสารรับรองการเข้ารับการอบรมความรู้ทางด้านไอทีด้านดิจิทัล หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • ประกาศนียบัตรต่างๆ จากการฝึกอบรมพัฒนาหรือการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  • ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและ หลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ




  • หน่วยสมรรถนะนี้จะเป็นสมรรถนะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากงานประจำของตนเอง ซึ่งแต่ละบุคคลก็มี ข้อมูลที่แตกต่างกันไป การประเมินจึงต้องพยายามทำความเข้าใจชุดข้อมูลที่ผู้เข้ารับการประเมินได้ทำ การวิเคราะห์ซึ่งอาจจะมีนิยามและขอบเขตที่แตกต่างไปจากความเข้าใจทั่วไป

  • ในการประเมินการวิเคราะห์ข้อมูลในงานประจำนั้น แต่ละบุคคลอาจมีข้อมูลที่ต้องรับผิดชอบแตกต่าง กันไป การประเมินจึงต้องพยายามทำความเข้าใจชุดข้อมูลที่ผู้เข้ารับการประเมินได้ทำการวิเคราะห์ซึ่ง อาจจะมีนิยามและขอบเขตที่แตกต่างไปจากความเข้าใจทั่วไป

  • สำหรับข้อเสนอแนะนั้น เนื่องจากแต่ละตำแหน่งานจะมีขอบเขตการทำงานและความรับผิดขชอบที่ แตกต่างกัน ดังนั้น ในการประเมินจึงต้องทำความเข้าใจว่า ผลการวิเคราะห์สามารถทำได้ในระดับ แนวทางเป็นหลัก เพื่อให้ผู้บริหารได้พิจารณาคัดเลือกไปดำเนินโครงการเพื่อปรับปรุงต่อไป ซึ่งอยู่นอก ขอบเขตของการประเมิน



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  • กำหนดขอบเขตงานของการสร้างข้อสนเทศเพื่องานบริการ มีขอบเขตครอบคลุม สถาปัตยกรรมองค์กร (EA) ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ (1) Business Architecture (2) Information Architecture (3) Application Architecture (4) Technology/Infrastructure Architecture

  • จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการทำงานของหน่วยงานจากข้อมูลสารสนเทศที่ได้ มีขอบเขต ครอบคลุม ถึงการวิเคราะห์ผลจากข้อมูลสารสนเทศที่ได้สามารถกำหนดแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขได้ซึ่งในการแก้ไขจริงๆจะต้องได้รับการพิจารณาจากผู้บริหาร และดำเนินการแก้ไขโดยใช้ความรู้ ความสามารถด้านอื่นๆ ต่อไป

  • การวิเคราะห์ข้อมูลในแต่ละชุดจะมีความจำเป็นในการใช้เทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูลที่แตกต่างกันไป โดยให้พิจารณาตามความเหมาะสมของบริบทการทำงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ