หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมทรัพยากรเพื่อการบูรณาการสำหรับองค์กรดิจิทัล

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CEC-PWCV-009

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมทรัพยากรเพื่อการบูรณาการสำหรับองค์กรดิจิทัล

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ กลุ่มผู้บริหารระดับสูง (Executive) และกลุ่มผู้อำนวยการกอง (Management)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถจัดทำแผนการลงทุนทรัพยากรทั้งระยะสั้น กลาง ยาว ตามยุทธศาสตร์ การพัฒนาสู่องค์กรดิจิทัล และจัดการทรัพยากรให้บรรลุผลตามเป้าหมาย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
SPM301

จัดทำแผนลงทุนทรัพยากร

1.1 รวบรวมความต้องการทรัพยากรในองค์กร

SPM301.01 176549
SPM301

จัดทำแผนลงทุนทรัพยากร

1.2 จัดลำดับความสำคัญและความจำเป็นของทรัพยากร ในการสนับสนุนการพัฒนาองค์กรดิจิทัล

SPM301.02 176550
SPM301

จัดทำแผนลงทุนทรัพยากร

1.3 จัดทำแผนลงทุนทรัพยากรระยะสั้น กลาง ยาว เพื่อพัฒนาองค์กรดิจิทัล

SPM301.03 176551
SPM302

ให้การสนับสนุนทรัพยากร

2.1 ระบุแหล่งที่มาทรัพยากร

SPM302.01 176552
SPM302

ให้การสนับสนุนทรัพยากร

2.2 นำเสนอแผนและดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากร

SPM302.02 176553
SPM302

ให้การสนับสนุนทรัพยากร

2.3 ติดตามความคืบหน้าและแก้ไขอุปสรรคเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากร 

SPM302.03 176554
SPM303

จัดการทรัพยากรให้บรรลุตามยุทธศาสตร์องค์กรดิจิทัล

3.1 กำหนดหน่วยงานและ/หรือบุคลากรที่จะรับผิดชอบแผนลงทุนทรัพยากรแต่ละแผน

SPM303.01 176555
SPM303

จัดการทรัพยากรให้บรรลุตามยุทธศาสตร์องค์กรดิจิทัล

3.2 กำหนดตัวชี้วัดแผนการลงทุนทรัพยากร (KPI) 

SPM303.02 176556
SPM303

จัดการทรัพยากรให้บรรลุตามยุทธศาสตร์องค์กรดิจิทัล

3.3 ติดตามประเมินผลการใช้ทรัพยากรดิจิทัล

SPM303.03 176557

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • ทักษะการเรียนรู้ในศตวววษที่ 21

  • ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการ หน้าที่ความรับผิดชอบ และการบริหารจัดการภาครัฐ

  • ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายปกครอง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ กฎหมายว่าด้วยการละเมิด

  • ความรู้เกี่ยวกับทิศทางและยุทธศาสตร์ของประเทศ

  • ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • มองเห็นภาพรวมและความเชื่อมโยงระหว่างการทำงานของตนเองและคนอื่น (Holistic View and Task Linkage)

  • ทักษะการแก้ไขปัญหา (Problem Solving)

  • ทักษะการตัดสินใจด้วยข้อมูล (Data-driven Decision Makings)

  • กล้าตัดสินใจ กล้ารับความเสี่ยง (Risk Taking)

  • มีความพยายาม ไม่ย่อท้อ (Persistent)

  • มีความฉลาดทางอารมณ์(Emotionally Intelligent)

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้ด้านการบริหารงานภาครัฐ (Public Management)

  • ความรู้ด้านการบริหารยุทธศาสตร์ภาครัฐ

  • เทคนิคการจัดการเชิงกลยุทธ์(Strategic Management) 

  • ความรู้พื้นฐานด้านการจัดการโครงการ (Project Management)

  • เทคนิคการวางแผนการใช้ทรัพยากร (Resource Planning)

  • การพัฒนาและบริหารทรัพยากรบุคคลของหน่วยงาน (Human Resource Management and Development)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • ประวัติการดำรงตำแหน่ง หรือ ประวัติการทำงาน

  • เอกสารหรือหลักฐานการจัดทำแผนการลงทุน, การนำเสนอของบประมาณหรือทรัพยากร

  • เอกสารการกำหนดตัวชี้วัดและประเมินผลการจัดการแผนการลงทุน



(ข) หลักฐานความรู้(Knowledge Evidence)




  • ประกาศนียบัตรด้านการจัดการทรัพยากรหรือการวางแผนการลงทุน

  • หลักฐานการฝึกอบรมพัฒนาหรือการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  • พิจารณาความเป็นสากลและเป็นที่ยอมรับของประกาศนียบัตร

  • พิจารณาได้จากคุณภาพแผนการลงทุน และผลการประเมินจากตัวชี้วัดการจัดการแผนการลงทุน

  • ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและ หลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

หน่วยสมรรถนะนี้เน้นการพัฒนาในช่วง 1-5 ปีโดยมุ่งเน้นการทำแผนการลงทุนเทคโนโลยีดิจิทัลและ นวัตกรรมรวมไปถึงการจัดสรรทรัพยากร ตามนโยบายและกลยุทธ์สู่การเป็นองค์กรดิจิทัลที่สอดคล้องกับแผน ยุทธศาสตร์ระดับชาติและแผนยุทธศาสตร์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเพื่อสนับสนุนการพัฒนาองค์กรดิจิทัล สำหรับยกระดับการให้บริการและกระบวนการให้บริการ



(ก) คำแนะนำ




  • ผู้ปฏิบัติงานภายใต้หน่วยสมรรถนะนี้เป็นผู้บริหารระดับสูงที่สามารถอนุมัติและบริหารทรัพยากรเพื่อ สนับสนุนการพัฒนาองค์กรดิจิทัลเพื่อส่งมอบบริการที่มีมูลค่าสูง พร้อมทั้งสรรหาและจัดการทรัพยากร เพื่อการพัฒนานวัตกรรมบริการและยกระดับกระบวนการให้บริการ (ตัดสินใจโดยคำนึงถึงต้นทุน) ตลอดจนพิเคราะห์การปรับเปลี่ยนการว่าจ้างเพื่อสร้างคนพันธุ์ใหม่ (Digital DNA) และชี้นำการ ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมหน่วยงาน ซึ่งมีผลต่อการเพิ่มและปรับปรุงผลงานของหน่วยงานและกระทรวงสู่ดิจิทัล

  • แผนการลงทุนระยะยาว คือแผนการลงทุนที่ผูกพันงบประมาณในระยะเวลามากกว่า 5 ปีระยะกลาง คือ 2 ปีถึง 5 ปีส่วนระยะสั้นคือ 1-2 ปี

  • ทรัพยากรดิจิทัล หมายถึง ซอฟท์แวร์ฮาร์ดแวร์ระบบเครือข่าย บุคลากร โปรแกรมใช้งาน รวมไปถึง สาระเนื้อหาความในรูปแบบดิจิทัล (Content)



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • สอบข้อเขียน

  • การสัมภาษณ์

  • หลักฐานการปฏิบัติงาน

  • พิจารณาได้จากเครื่องมือประเมินสมรรถนะบุคคล (Assessment Tool)



ยินดีต้อนรับ