หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สื่อสารระบบค่าตอบแทน

สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HRM-TMQY-094A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สื่อสารระบบค่าตอบแทน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 2412.20 : นักวิเคราะห์งานอาชีพ 

ISCO 2423 : ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคล

 


1 2423 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคลและอาชีพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการให้ความรู้และคำปรึกษาในการบริหารค่าตอบแทนแก่ผู้บริหาร และสื่อสารแนวคิดหลักการ นโยบาย และระบบค่าตอบแทน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริหารบุคคล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1040901 ให้ความรู้และคำปรึกษาในการบริหารค่าตอบแทนแก่ผู้บริหาร 1) วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงานการบริหารค่าตอบแทนสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารค่าตอบแทนแก่ผู้บริหาร 1040901.01 176046
1040901 ให้ความรู้และคำปรึกษาในการบริหารค่าตอบแทนแก่ผู้บริหาร 2) ให้ความรู้และคำแนะนำปรึกษาแก่ผู้บริหารหน่วยงานในการบริหารค่าตอบแทนและการพิจารณาให้คุณให้โทษพนักงาน 1040901.02 176047
1040902 สื่อสารแนวคิดหลักการ นโยบาย และระบบค่าตอบแทน  1) วางแผน และเรียบเรียงเนื้อหาการสื่อสารระบบบริหารค่าตอบแทน 1040902.01 176048
1040902 สื่อสารแนวคิดหลักการ นโยบาย และระบบค่าตอบแทน  2) การกำหนดช่องทางการสื่อสารระบบบริหารค่าตอบแทน 1040902.02 176049
1040902 สื่อสารแนวคิดหลักการ นโยบาย และระบบค่าตอบแทน  3) สื่อสารแนวคิดหลักการ นโยบาย และระบบค่าตอบแทนให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ 1040902.03 176050

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลค่าตอบแทน

2) ทักษะการสื่อสาร

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำข้อมูลค่าตอบแทนเพื่อการตัดสินใจ

2) ความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และหลักการบริหารค่าตอบแทน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) อธิบายได้ถึงแนวทางการจัดทำข้อมูลค่าตอบแทนเพื่อการตัดสินใจสำหรับผู้บริหาร

2) อธิบายได้ถึงหลักการบริหารค่าตอบแทนที่ดี

3) อธิบายได้ถึงความเชื่อมโยงระหว่างการบริหารค่าตอบแทนและการพิจารณาให้คุณให้โทษพนักงาน



14.2  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) รายงานการบริหารค่าตอบแทนสำหรับผู้บริหาร

2) เอกสารนำเสนอ/สื่อเกี่ยวกับแนวคิดหลักการ นโยบาย และระบบค่าตอบแทน



14.3 คำแนะนำในการประเมิน

    ใช้วิธีการในการสอบข้อเขียน หรือตามหลักฐานที่ต้องแสดง ทั้งนี้ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน สมรรถนะย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

การวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงานการบริหารค่าตอบแทนสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารค่าตอบแทนแก่ผู้บริหาร อาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น การวิเคราะห์ค่าตอบแทนตามระดับงาน การวิเคราะห์ค่าตอบแทนเปรียบเทียบตามสายอาชีพ การวิเคราะห์ค่าตอบแทนเทียบกับผลการประเมินประจำปี เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานในกระบวนการประเมิน ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 

3) ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน 

 



ยินดีต้อนรับ