หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์และจัดทำรายงานด้านค่าตอบแทน

สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HRM-BLZF-093A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์และจัดทำรายงานด้านค่าตอบแทน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 2412.20 : นักวิเคราะห์งานอาชีพ 

ISCO 2423 : ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคล

 


1 2423 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคลและอาชีพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการรวบรวมข้อมูลสถิติการจ่ายค่าตอบแทน และวิเคราะห์แนวโน้มและปัญหาการจ่ายค่าตอบแทน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริหารบุคคล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1040801 รวบรวมข้อมูลสถิติการจ่ายค่าตอบแทน 1) รวบรวมข้อมูลสถิติการจ่ายค่าตอบแทน ประจำเดือน ประจำไตรมาส และประจำปี 1040801.01 176037
1040801 รวบรวมข้อมูลสถิติการจ่ายค่าตอบแทน 2) จัดทำรายงานการบริหารค่าตอบแทน นำส่งผู้บริหาร 1040801.02 176038
1040802 วิเคราะห์แนวโน้มและปัญหาการจ่ายค่าตอบแทน 1) วิเคราะห์ค่าใช้จ่าย และแนวโน้มต้นทุนค่าตอบแทนขององค์การ เช่น ค่าล่วงเวลา แนวโน้มอัตราการขึ้นเงินเดือนขององค์การ และตลาดแรงงาน 1040802.01 176039
1040802 วิเคราะห์แนวโน้มและปัญหาการจ่ายค่าตอบแทน 2) รวบรวมและวิเคราะห์ความคิดเห็น ประเด็นปัญหา อัตราการลาออก และข้อเรียกร้องของพนักงานที่เกี่ยวข้องกับค่าตอบแทน 1040802.02 176040

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับสถิติเบื้องต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) อธิบายได้ถึงสถิติเบื้องต้นในการวิเคราะห์ข้อมูลการจ่ายค่าตอบแทนขององค์การ

14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) รายงานสถิติทางด้านค่าตอบแทน

2) รายงานการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและแนวโน้มต้นทุนค่าตอบแทนขององค์การ

14.3 คำแนะนำในการประเมิน

    ใช้วิธีการในการสอบข้อเขียน หรือตามหลักฐานที่ต้องแสดง ทั้งนี้ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน สมรรถนะย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

จัดทำรายงานสถิติการจ่ายค่าตอบแทนให้อยู่ในรูปแบบที่สะดวกต่อการนำไปวิเคราะห์เพื่อกำหนดนโยบายการจ่ายค่าจ้างหรือเพื่อปรับปรุงรายการค่าตอบแทน เช่น จัดทำสถิติในรูปแบบร้อยละ จัดทำสถิติเปรียบเทียบระหว่างเดือนหรือระหว่างปี เป็นต้น รวมถึงวิเคราะห์แนวโน้มค่าใช้จ่ายด้านค่าตอบแทนในอนาคตและปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เช่น แนวโน้มค่าล่วงเวลาที่สูงขึ้น ตัวเลขการเบิกจ่ายสวัสดิการที่ผิดปกติ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานในกระบวนการประเมิน ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 

3) ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน 

 



ยินดีต้อนรับ