หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบกระบวนการ และเครื่องมือการสรรหาคัดเลือกพนักงาน

สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HRM-ACFM-080A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบกระบวนการ และเครื่องมือการสรรหาคัดเลือกพนักงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 2412.20 : นักวิเคราะห์งานอาชีพ 

ISCO 2423 : ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคล

 


1 2423 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคลและอาชีพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
สามารถกำหนดกระบวนการสรรหาคัดเลือกบุคลากร จัดหาและประเมินเครื่องมือในการคัดเลือกบุคลากร และจัดทำระบบปฐมนิเทศน์พนักงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1030301 กำหนดกระบวนการสรรหาคัดเลือกบุคลากร 1) กำหนดกระบวนการสรรหาคัดเลือกบุคลากร 1030301.01 175963
1030301 กำหนดกระบวนการสรรหาคัดเลือกบุคลากร 2) กำหนดบทบาทผู้ที่เกี่ยวข้องในการสรรหาคัดเลือกบุคลากร 1030301.02 175964
1030302 จัดหาและประเมินเครื่องมือในการคัดเลือกบุคลากร 1) จัดหา เครื่องมือสรรหา คัดเลือกบุคลากร 1030302.01 175965
1030302 จัดหาและประเมินเครื่องมือในการคัดเลือกบุคลากร 2) สร้างเครื่องมือสรรหาคัดเลือกบุคลากร 1030302.02 175966
1030302 จัดหาและประเมินเครื่องมือในการคัดเลือกบุคลากร 3) จัดทำคู่มือพนักงาน 1030302.03 175967
1030303 จัดทำระบบปฐมนิเทศน์พนักงาน 1) ออกแบบโปรแกรม และเนื้อหาปฐมนิเทศ 1030303.01 175968
1030303 จัดทำระบบปฐมนิเทศน์พนักงาน 2) จัดทำหลักเกณฑ์การสร้างและกำหนดพี่เลี้ยง 1030303.02 175969

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

10305    คัดเลือกพนักงาน

10308    ติดตาม ประเมินผล และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพัฒนา

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะการออกแบบเครื่องสรรหาคัดเลือก

2) ทักษะการจัดทำคู่มือพนักงาน

3) ทักษะการออกแบบกรปฐมนิเทศ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับช่องทางการสรรหาคัดเลือก

2) ความรู้เกี่ยวกับประเภทของเครื่องมือสรรหาคัดเลือก

3) ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบเครื่องมือการสรรหาคัดเลือก

4) ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติ กระบวนการและขั้นตอนสากลในการสรรหาคัดเลือก

5) ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ และการคัดเลือกลักษณะของเครื่องมือสรรหาคัดเลือกที่ดี

6) ความรู้เกี่ยวกับแนวคิด และหลักเกณฑ์การสรุปผลการคัดเลือก

7) ความรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดทำคู่มือพนักงาน

8) ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลทดสอบ และการสร้างเกณฑ์การคัดเลือก

9) ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบเนื้อหา และจัดโปรแกรมการปฐมนิเทศน์ที่เหมาะสม

10) ความรู้เกี่ยวกับระบบพี่เลี้ยง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) กำหนดและเลือกใช้ช่องทางการสรรหาคัดเลือก

2) กำหนดหรือเลือกใช้เครื่องมือสรรหาคัดเลือก

3) วิเคราะห์และออกแบบเครื่องมือการสรรหาคัดเลือก

4) เขียนแนวปฏิบัติ กระบวนการและขั้นตอนสากลในการสรรหาคัดเลือก

5) ระบุหรืออธิบายเกณฑ์ และการคัดเลือกลักษณะของเครื่องมือสรรหาคัดเลือกที่ดี

6) ระบุหรืออธิบายแนวคิด และหลักเกณฑ์การสรุปผลการคัดเลือก

7) ระบุหรืออธิบายวิธีการจัดทำคู่มือพนักงาน

8) ระบุหรืออธิบายแนวทางการวิเคราะห์ผลทดสอบ และการสร้างเกณฑ์การคัดเลือก

9) ระบุหรืออธิบายแนวทางการออกแบบเนื้อหา และจัดโปรแกรมการปฐมนิเทศน์ที่เหมาะสม

10) ระบุหรืออธิบายแนวทางการสร้างระบบพี่เลี้ยง



14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) ขั้นตอนการทำงาน (Work Procedure) สรรหาคัดเลือกบุคลากร 

2) คู่มือพนักงาน

3) กำหนดการ และเนื้อหาการปฐมนิเทศ

4) เครื่องมือทดสอบผู้สมัครงาน



14.3 คำแนะนำในการประเมิน

    ใช้วิธีการในการสอบสัมภาษณ์กับสอบข้อเขียน ทั้งนี้ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ออกแบบกระบวนการ และเครื่องมือการสรรหาคัดเลือกพนักงาน ที่สอดคล้องกับหลักการทางวิชาชีพ และเป็นมาตรฐานสากล อาทิ สอดคล้องกับหลักจิตวิทยาบุคคล หลักการสร้างแบบทดสอบที่ถูกต้อง รวมถึงการไม่ละเมิดสิทธิ หรือข้อมูลส่วนบุคคล และการไม่เลือกปฏิบัติจากความแตกต่างทางเพศ เชื้อชาติ ศาสนา และอื่นๆ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 

3) ประเมินภาคความรู้ด้วยเอกสารรับรองการศึกษาฝึกอบรม

4) ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ