หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ติดตาม ประเมินผล และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพัฒนา

สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HRM-WXUX-085A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ติดตาม ประเมินผล และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพัฒนา

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 2412.20 : นักวิเคราะห์งานอาชีพ 

ISCO 2423 : ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคล

 


1 2423 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคลและอาชีพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
สามารถจัดทำรายงานผลการดำเนินงานสรรหาคัดเลือกบุคลากร และวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนางานสรรหาบุคลากร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1030801 จัดทำรายงานผลการดำเนินงานสรรหาคัดเลือกบุคลากร 1) จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน  1030801.01 175993
1030801 จัดทำรายงานผลการดำเนินงานสรรหาคัดเลือกบุคลากร 2) เปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับเป้าหมายแผนงานสรรหาคัดเลือก 1030801.02 175994
1030802 วิเคราะห์สาเหตุการลาออกของพนักงาน 1) สัมภาษณ์สาเหตุการลาออกของพนักงาน 1030802.01 175995
1030802 วิเคราะห์สาเหตุการลาออกของพนักงาน 2) จัดทำรายงานสาเหตุการลาออกของพนักงาน 1030802.02 175996

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะการสรุป แปลผล และเชื่อมโยงข้อมูลสถิติ

2) ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล และรายงานประเด็นที่น่าสนใจ

3) ทักษะการสัมภาษณ์พนักงานที่ลาออก

4) ทักษะในการเขียนรายงานพนักงานที่ลาออก

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของงานสรรหาคัดเลือกบุคลากร

2) ความรู้เกี่ยวกับการลาออกประเภทต่างๆ และวิธีการคำนวณอัตราการลาออกประเภทต่างๆ

3) ความรู้เกี่ยวกับแนวการตั้งคำถามสัมภาษณ์พนักงานที่ลาออก

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) ระบุหรืออธิบายประสิทธิภาพของงานสรรหาคัดเลือกบุคลากร

2) คำนวณอัตราการลาออกประเภทต่างๆ

3) กำหนดหรือตั้งคำถามสัมภาษณ์พนักงานที่ลาออก



14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) รายงานผลงานสรรหาคัดเลือก

2) หัวข้อคำถามสัมภาษณ์พนักงานลาออก

3) รายงานผลการสัมภาษณ์พนักงานลาออก



14.3 คำแนะนำในการประเมิน

ใช้วิธีการในการสอบสัมภาษณ์กับสอบข้อเขียน ทั้งนี้ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ติดตาม ประเมินผล และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพัฒนา เพื่อตรวจสอบระดับความสำเร็จในงานสรรหาและคัดเลือกขององค์กรทั้งการสรรหาภายในและภายนอกองค์กร


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 

3) ประเมินภาคความรู้ด้วยเอกสารรับรองการศึกษาฝึกอบรม

4) ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ