หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

มีจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานวิชาชีพ และเป็นตัวอย่างทีดี

สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HRM-FGEK-134A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ มีจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานวิชาชีพ และเป็นตัวอย่างทีดี

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 2412.20 : นักวิเคราะห์งานอาชีพ, TSCO 2412.30 นักแนะแนวอาชีพ

ISCO 2423 : ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคล

 


1 2423 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านงานบุคคลและอาชีพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติงานอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม และเป็นตัวอย่างทีดีในการไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
2010201 เป็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติงานอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม 1.1 เป็นตัวอย่างที่ดีในปฏิบัติงานอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรมอันดี เคารพ และปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และจรรยาบรรณวิชาชีพที่กำหนด 2010201.01 176261
2010201 เป็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติงานอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม 1.2 เคารพ และเป็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และจรรยาบรรณวิชาชีพที่กำหนด 2010201.02 176262
2010201 เป็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติงานอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม 1.3 เป็นตัวอย่างที่ดีในการประกอบวิชาชีพอย่างเต็มความสามารถด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยไม่เลือกปฏิบัติ รวมถึงเคารพและรักษาความลับข้อมูลส่วนบุคคล และองค์การ 2010201.03 176263
2010201 เป็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติงานอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม 1.4 เป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้ข้อมูล และทรัพยากรขององค์การอย่างสุจริต มีประสิทธิภาพ เพื่อบรรลุเป้าประสงค์ขององค์การ 2010201.04 176264
2010201 เป็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติงานอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม 1.5 ถ่ายทอด และจูงใจให้ผู้ร่วมงานยึดมั่นในหลักที่พึงปฏิบัติ ให้คำปรึกษาแนะนำ และส่งเสริมผู้ร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติตนที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ 2010201.05 176265
2010202 เป็นตัวอย่างทีดีในการไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ 2.1 เป็นตัวอย่างที่ดีในการไม่รับผลประโยชน์อันมิชอบด้วยกฎหมาย และจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมถึงไม่ใช้ตำแหน่ง หน้าที่เอื้อประโยชน์อันมิควรแก่ตนเองและผู้อื่น 2010202.01 176266
2010202 เป็นตัวอย่างทีดีในการไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ 2.2 เป็นตัวอย่างที่ดีในการไม่ประกอบธุรกิจส่วนตัวหรือมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจ หรืออาชีพอื่นที่เป็นการแข่งขัน หรือขัดต่อผลประโยชน์ขององค์การที่ตนสังกัดอยู่ 2010202.02 176267

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการสื่อสาร ถ่ายทอด

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย

2) ความรู้เกี่ยวกับนโยบายองค์การ

3) ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1 หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) ระบุหรืออธิบายกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นโยบาย ระเบียบข้อบังคับ และแนวปฏิบัติขององค์การ

2) ระบุหรืออธิบายหลักคุณธรรม จริยธรรม และมาตรฐานความประพฤติอันดี

3) ระบุหรืออธิบายกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพการบริหารทรัพยากรบุคคล โดยสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (สจท.)

14.2 หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากบริษัท หรือหัวหน้างาน ที่แสดงออกถึงการทำงานอย่างเต็มความสามารถ และความซื่อสัตย์สุจริตเป็นระยะเวลานาน

2) เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากบริษัท หรือหัวหน้างาน ที่แสดงออกถึงการไม่มีพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์

3) เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากบริษัท หรือหัวหน้างาน ที่แสดงออกถึงการต่อต้าน หรือไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมหรือการกระทำที่ไม่เหมาะสม และมีส่วนร่วมกำหนดแนวทางป้องกัน



14.3 คำแนะนำในการประเมิน

ใช้วิธีการในการสอบข้อเขียน หรือตามหลักฐานที่ต้องแสดง ทั้งนี้ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน สมรรถนะย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ระเบียบข้อบังคับ และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพการบริหารทรัพยากรบุคคล โดยสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (สจท.)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) ประเมินภาคความรู้ด้วยข้อสอบข้อเขียนแบบตัวเลือก

2) ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 

3) ประเมินภาคความรู้ด้วยเอกสารรับรองการศึกษาฝึกอบรม

 



ยินดีต้อนรับ