หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บ

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-DLGM-867A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างจัดดอกไม้แบบไทย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการออกแบบและวางแผนประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทย  เพื่อแจกแจง  ขอบเขต  กำหนดรูปแบบ  ร่างแบบ  และส่วนประกอบในการเย็บ  และความสามารถในการเลือกวัสดุ  อุปกรณ์  เครื่องมือ  จัดทำ  และการนำเสนอผลงาน  เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามรายละเอียดของงานที่กำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ธุรกิจจัดดอกไม้ (Floristry)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO-08 Unit Group 7549 (Flower Arranger)SOC 2010  Major Group skilled Trade Occupations  5443 Florist 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10203.01 ออกแบบและวางแผนประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บ 1.1 แจกแจงขอบเขตของประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บ 10203.01.01 174474
10203.01 ออกแบบและวางแผนประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บ 1.2 ทำความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องตามรายละเอียดของงาน 10203.01.02 174475
10203.01 ออกแบบและวางแผนประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บ 1.3 วางแผนแนวคิดประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บโดยคำนึงถึงการใช้งาน 10203.01.03 174476
10203.01 ออกแบบและวางแผนประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บ 1.4 กำหนดรูปแบบ ร่างแบบ ส่วนประกอบในการเย็บ 10203.01.04 174477
10203.02 เลือกวัสดุอุปกรณ์สำหรับประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บ 2.1 เลือกวัสดุในการเย็บให้เหมาะสมกับเทคนิค 10203.02.01 174478
10203.02 เลือกวัสดุอุปกรณ์สำหรับประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บ 2.2 เลือกวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือให้เหมาะสมกับเทคนิคการเย็บ 10203.02.02 174479
10203.03 เตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บ 3.1 เตรียมดอกไม้ ใบไม้ ให้พร้อม 10203.03.01 174480
10203.03 เตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บ 3.2 เตรียมวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการเย็บให้พร้อม 10203.03.02 174481
10203.04 ประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บ 4.1 ประดิษฐ์ดอกไม้ไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บโดยคำนึงถึงหลักการออกแบบและองค์ประกอบศิลป์ 10203.04.01 174482
10203.05 ประเมินผลงานประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บ 5.1 ตรวจสอบความสวยงาม 10203.05.01 174483
10203.05 ประเมินผลงานประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บ 5.2 เลือกวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม 10203.05.02 174484
10203.05 ประเมินผลงานประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บ 5.3 จัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้อง 10203.05.03 174485

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น(Pre-requisite Knowledge)

1. ความรู้เรื่องหลักการออกแบบและองค์ประกอบศิลป์รวมทั้งเรื่องวงล้อของสี

2. ความรู้เรื่องดอกไม้ ใบไม้ วัสดุพืชพรรณ และการดูแลรักษา

3. ความรู้เรื่องการใช้และบำรุงรักษาสภาพอุปกรณ์เครื่องมืออย่างถูกวิธี 



(ข) ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill)

1. ทักษะเรื่องการดูแลรักษาดอกไม้ ใบไม้ และวัสดุพืชพรรณ

2. ทักษะเรื่องการใช้และบำรุงรักษาสภาพอุปกรณ์เครื่องมืออย่างถูกวิธี

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. ทักษะการประเมินผลงานการประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บของตนเองแต่ละชิ้นงาน

    2. ทักษะการบริหารเวลาที่ใช้ในการประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด

    3. ทักษะการแก้ปัญหาระหว่างการทำงาน

    4. ทักษะการติดต่อสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องในงาน

    5. ทักษะการอ่านและการเขียนเอกสารที่เกี่ยวข้องในการทำงาน

    6. ทักษะการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายอย่างถูกต้องขณะปฏิบัติงาน

    7. ทักษะการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือการประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บอย่างถูกวิธี

    8. ทักษะการดูแลรักษาดอกไม้ ใบไม้ วัสดุพืชพรรณชนิดต่างๆ วัสดุมีพิษ และการใช้สารเคมี

    9. ทักษะการประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการออกแบบและองค์ประกอบศิลป์ที่ประยุกต์ใช้ในการประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บ

    2. ความรู้เกี่ยวกับหลักการประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บ

    3. ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบพื้นฐานในการประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บ เช่น การเย็บแบบ การเย็บสวน เป็นต้น

    4. ความรู้เกี่ยวกับชนิดของดอกไม้ ใบไม้ และวัสดุพืชพรรณที่เหมาะสมในการนำมาประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บ

    5. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. แสดงการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือในการประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บตามที่กำหนดได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

    2. แสดงการใช้เทคนิคดูแลรักษาที่ถูกต้องสำหรับดอกไม้ ใบไม้ และวัสดุพืชพรรณ

    3. แสดงการใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

    4. แสดงการใช้เทคนิคดูแลทำความสะอาดกับพื้นที่

    5. แสดงการประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บตามที่กำหนด

    6. แสดงการนำเสนอ และตรวจสอบผลงานสำเร็จให้สวยงามมั่นคงแข็งแรง

    7. ชิ้นงานจริงหรือแฟ้มสะสมผลงาน ภาพถ่าย ภาพร่าง

    8. เอกสารบันทึกข้อมูลรายละเอียดสินค้าและลูกค้า

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. การเลือกวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือในการประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บตามแบบที่กำหนดได้

    2. การดูแลรักษาวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บ

    3. การรู้จักธรรมชาติของดอกไม้ ใบไม้ ต้นไม้ที่เหมาะสมกับการประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บ

    4. การรู้จักรูปแบบพื้นฐานในการประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บ

    5. การรู้จักหลักการออกแบบและองค์ประกอบศิลป์ที่ประยุกต์ใช้ในการประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยโดยใช้เทคนิคการเย็บ

    6. การตรวจสอบชิ้นงานสำเร็จ

    7. การจัดเก็บข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ไม่มี

(ง) วิธีการประเมิน

    1. การสังเกตการปฏิบัติงานของผู้ขอรับการประเมิน

    2. การตรวจสอบผลงานจริง  แฟ้มสะสมงาน (Portfolios) หลักฐานเอกสารต่างๆ  

    3. การสอบถามปากเปล่า/การสัมภาษณ์ผู้ขอรับการประเมินและบุคคลที่ 3 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

    ไม่มี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. ขอบเขต

    1.1 การเย็บ คือ การนำดอกไม้ใบไม้มาพับแล้ววางเย็บลงบนแบบใบตองที่เสริมลวดไว้

2. รูปแบบ

    2.1 เย็บแบบเส้น

    2.2 เย็บแบบเฟื่อง

    2.3 เย็บแบบกนก

    2.4 เย็บแบบทัดหู

    2.5 เย็บแบบกลีบบัว

    2.6 เย็บแบบตัวสัตว์

3. วัสดุในการเย็บ

    3.1 ประเภทของดอกไม้ ได้แก่ ดอกพุด ดอกรัก ดอกกุหลาบ และอื่นๆ

    3.2 ประเภทของใบไม้ ได้แก่ ใบแก้ว ใบกระบือ ใบมะยม และอื่นๆ 

4. วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ

    4.1 เข็ม ด้าย กรรไกร  มีด  และอื่นๆ      

5. เตรียมดอกไม้ ใบไม้

    5.1 ปลิดกลีบดอกไม้  

    5.2 เด็ดกลีบ

    5.3 ตัดก้านดอกไม้

    5.4 แยกกลีบดอกไม้

    5.5 แยกขนาดและสี  ฯลฯ

6. เทคนิคการเย็บ

    6.1 ความเรียบร้อยของโครงแบบ  การพับ  การจับจีบ

    6.2 ความเรียบร้อยของการเย็บ ความแข็งแรง  ทนทาน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสังเกตการปฏิบัติงานของผู้ขอรับการประเมิน

2. การตรวจสอบผลงานจริง  แฟ้มสะสมงาน (Portfolios) หลักฐานเอกสารต่างๆ  

3. การสอบถามปากเปล่า/การสัมภาษณ์ผู้ขอรับการประเมินและบุคคลที่ 3 

 



ยินดีต้อนรับ