หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ส่งเสริม ควบคุม ดูแลรักษาสุขภาพและความปลอดภัย

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-WWYO-873A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ส่งเสริม ควบคุม ดูแลรักษาสุขภาพและความปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างจัดดอกไม้แบบสากล

ช่างจัดดอกไม้แบบไทย

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     หน่วยสมรรถนะนี้  ใช้ทักษะ และ ความรู้ เพื่อตระหนักในเรื่องการส่งเสริม ควบคุม ดูแลรักษาสุขภาพและความปลอดภัยในสถานประกอบการ สำหรับผู้ทำงาน ลูกค้า และบุคคลทั่วไป ต้องการความสามารถในการประเมินการควบคุมความเสี่ยง ปฏิบัติงานในเรื่องการยกเคลื่อนย้ายและการทำงานด้วยมืออย่างปลอดภัย รวมทั้งการใช้วัสดุอุปกรณ์ทีเป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วยความระมัดระวัง      หน่วยสมรรถนะนี้เหมาะสมกับผู้ทำงานในทุกระดับ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในสถานประกอบการ โดยสามารถรายงานปัญหาและสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น ตลอดจนวิธีปฏิบัติตัวในภาวะฉุกเฉินได้ถูกต้อง     หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นสมรรถนะพื้นฐานเบื้องต้นเหมาะกับผู้เข้ารับการประเมินที่ต้องการการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ธุรกิจจัดดอกไม้ (Floristry)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    ISCO-08 Unit Group 7549 (Flower Arranger)    SOC 2010  Major Group skilled Trade Occupations  5443 Florist 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20101.01 ประเมินและควบคุมความเสี่ยง 1.1 ประเมินความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย 20101.01.01 174540
20101.01 ประเมินและควบคุมความเสี่ยง 1.2 ควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น 20101.01.02 174541
20101.02 ปฏิบัติงานในเรื่องการยก เคลื่อนย้าย และการทำงานด้วยมืออย่างปลอดภัย 2.1 ประมาณการน้ำหนักสิ่งของที่จะยกและยกเคลื่อนย้ายของอย่างถูกวิธี ซึ่งอาจต้องใช้อุปกรณ์ในการช่วยยกเคลื่อนย้าย 20101.02.01 174542
20101.02 ปฏิบัติงานในเรื่องการยก เคลื่อนย้าย และการทำงานด้วยมืออย่างปลอดภัย 2.2 ปฏิบัติงานด้วยมืออย่างปลอดภัย 20101.02.02 174543
20101.02 ปฏิบัติงานในเรื่องการยก เคลื่อนย้าย และการทำงานด้วยมืออย่างปลอดภัย 2.3 จัดเก็บของอย่างเป็นระเบียบ สะดวก ปลอดภัยและไม่กีดขวางเป็นอันตรายต่อการทำงาน 20101.02.03 174544
20101.02 ปฏิบัติงานในเรื่องการยก เคลื่อนย้าย และการทำงานด้วยมืออย่างปลอดภัย 2.4 จัดการปัญหาเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน 20101.02.04 174545
20101.03 ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างระมัดระวัง 3.1 เก็บรักษาวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือที่เป็นอันตรายอย่างถูกต้อง 20101.03.01 174546
20101.03 ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างระมัดระวัง 3.2 ศึกษาวิธีใช้และการป้องกันอันตรายจากวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ 20101.03.02 174547
20101.03 ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างระมัดระวัง 3.3 ระมัดระวังอันตรายทั้งทางตรงและทางอ้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้วัสดุอุปกรณ์ 20101.03.03 174548

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. ทักษะการประเมินเพื่อประเมินความเสี่ยง

    2. ทักษะการแก้ปัญหา โดยเฉพาะในภาวะฉุกเฉิน

    3. ทักษะการติดต่อสื่อสารเพื่อใช้รายงานการทำงานที่ไม่ปลอดภัย

    4. ทักษะการอ่านออกเขียนได้ เพื่อการอ่านและทำความเข้าใจ

    5. ทักษะการใช้อุปกรณ์ปกป้องร่างกายที่ถูกต้อง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. รู้จักวิธีกำจัดขยะ ของเสีย สารพิษ ดอกไม้ วัสดุพืชพรรณที่เสีย หรือเป็นโรค 

    2. รู้จักวิธีการใช้สารอันตรายทั่วไปที่ถูกใช้ในวงการการจัดดอกไม้ และ สารเฉพาะที่ถูกใช้โดยองค์กร เช่น สารทำความสะอาดด้วยความปลอดภัย

    3. รู้จักวิธีประเมินและควบคุมความเสี่ยง

    4. รู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการส่งต่อกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

    5. รู้กฎหมายและสิทธิในเรื่องดูแลรักษาสุขภาพ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน ละควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. การปฏิบัติงาน (แสดงการประมาณการน้ำหนักสิ่งของที่จะยกและยกเคลื่อนย้ายของอย่างถูกวิธี )

2. การปฏิบัติงาน (แสดงการปฏิบัติงานด้วยมืออย่างปลอดภัย)

3. ผลการปฏิบัติงาน (จากสถานที่ปฏิบัติงานจริงในเรื่องการจัดเก็บของอย่างเป็นระเบียบ สะดวก ปลอดภัยและไม่กีดขวางเป็นอันตรายต่อการทำงาน)

4. ผลการปฏิบัติงาน (จากสถานที่ปฏิบัติงานจริงในเรื่องการเก็บรักษาวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือที่เป็นอันตรายอย่างถูกต้อง)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. การประเมินความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย

2. การควบคุมความเสี่ยง

3. การจัดการปัญหาเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน

4. วิธีใช้และการป้องกันอันตรายจากวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้

5. การระมัดระวังอันตรายทั้งทางตรงและทางอ้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้วัสดุอุปกรณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ไม่มี

(ง) วิธีการประเมิน

1. การสังเกตการปฏิบัติงานของผู้ขอรับการประเมิน

2. การตรวจสอบผลงานจริง  แฟ้มสะสมงาน (Portfolios) หลักฐานเอกสารต่างๆ  

3. การสอบถามปากเปล่า/การสัมภาษณ์ผู้ขอรับการประเมินและบุคคลที่ 3 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

    ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    1. ความเสี่ยงจาก 

        1.1 คน

        1.2 วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ

        1.3 สถานที่ปฏิบัติงาน

    2. สถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย

        2.1 อุปกรณ์เครื่องมือที่แหลมคม 

        2.2 อุปกรณ์ที่ชำรุด 

        2.3 ไฟและน้ำ

        2.4 สารพิษสารอันตราย 

        2.5 อันตรายจากไฟและสาร/อุปกรณ์ติดไฟ 

        2.6 ปฏิบัติการการยก 

        2.7 การตกหล่นของสินค้าหรือน้ำ 

        2.8 บันได

        2.9 รถเข็น

        2.10 ปืนกาว

        2.11 ความเครียด

        2.12 การเดินทาง การลื่นล้ม

    3. ควบคุมความเสี่ยง

        3.1 การกำจัดสารอันตราย

        3.2 การแยกสารอันตราย

        3.3 ใช้นโยบายการบริหารงาน

        3.4 ใช้อุปกรณ์ปกป้องร่างกาย

    4. อุปกรณ์ช่วยยกเคลื่อนย้าย

       4.1 เข็มขัดบล็อกหลัง

       4.2 รถเข็น

       4.3 รถลาก

       4.4 ลวดสลิง

       4.5 รอก

    5. เหตุฉุกเฉิน

       5.1 ความเจ็บป่วย 

       5.2 อุบัติเหตุ

       5.3 ไฟไหม้

    6. วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือที่เป็นอันตราย

       6.1 ละอองสเปรย์ เช่น กาว สี ใบมัน

       6.2 ฝุ่นผงจากฟลอรัลโฟม

       6.3 ความแหลมคมของไม้ต่อก้าน เชื้อราจากไม้ต่อก้าน

       6.4 ดอกไม้ ใบไม้ ต้นไม้ที่เป็นพิษหรือมีปฏิกิริยากับผู้ที่แพ้บางคน

       6.5 สารอันตรายที่ก่อให้เกิดเปลวไฟ

       6.6 สารเคมี

       6.7 อุปกรณ์ไฟฟ้า

    7. ป้องกันอันตราย

       7.1 สวมถุงมือ 

       7.2 สวมหน้ากาก ผ้าปิดจมูก

       7.3 สวมแว่นตากันละออง

       7.4 สวมผ้ากันเปื้อน

       7.5 สวมรองเท้ายางป้องกันน้ำ สารเคมี และป้องกันการลื่น

       7.6 การล้างมือบ่อยๆ

       7.7 การสเปรย์ในที่โล่ง อากาศถ่ายเทได้ดี

    8. อันตรายทั้งทางตรงและทางอ้อม

       8.1 ทางตรง เช่น เกิดบาดแผล ลื่นล้ม เกสรดอกไม้ หรือ สารเคมี

       8.2 ทางอ้อม สะสมระยะยาว เช่น จากการสูดดม เชื้อรา ละอองสเปรย์

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสังเกตการปฏิบัติงานของผู้ขอรับการประเมิน

2. การตรวจสอบผลงานจริง แฟ้มสะสมงาน (Portfolios) หลักฐานเอกสารต่างๆ  

3. การสอบถามปากเปล่า/การสัมภาษณ์ผู้ขอรับการประเมินและบุคคลที่ 3 

 



ยินดีต้อนรับ