หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมและจัดการสุขภาพแพะภายในฟาร์ม

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-KTDL-649A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมและจัดการสุขภาพแพะภายในฟาร์ม

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6121     เกษตรกรเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์สุกร โค กระบือ ม้า แพะ แกะ    

6121     เกษตรกรเลี้ยงแพะ    

6121     คนงานรีดนมแพะ    

6121     คนเลี้ยงแพะ/แกะ    

6121     เกษตรกรผลิตนมแพะดิบ  

6121     หัวหน้าคนงานเลี้ยงปศุสัตว์     



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการควบคุมและจัดการสุขภาพแพะภายในฟาร์ม กำหนดวิธีควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญของแพะ เขียนขั้นตอนการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญของแพะ ควบคุมการให้ยา/วัคซีนสำหรับป้องกันโรคที่สำคัญในแพะและถ่ายทอดในพนักงานในฟาร์มนำไปปฏิบัติ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ปศุสัตว์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565- ประกาศระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและ การเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม Good Farming Management (GFM) พ.ศ. 2561- ประกาศระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองสถานภาพฟาร์มปลอดโรค พ.ศ. 2563- พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
F5010201

ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญของแพะ

ระบุประเภทและชนิดของโรคที่สำคัญในแพะ

F5010201.01 175538
F5010201

ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญของแพะ

ประเมินผลกระทบและความรุนแรงของโรคที่สำคัญในแพะ

F5010201.02 175539
F5010201

ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญของแพะ

กำหนดวิธีควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญของแพะ

F5010201.03 175540
F5010201

ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญของแพะ

เขียนขั้นตอนการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญของแพะและถ่ายทอดในพนักงานในฟาร์มนำไปปฏิบัติ

F5010201.04 175541
F5010202

ควบคุมการให้ยา/วัคซีน สำหรับป้องกันโรคที่สำคัญในแพะ

กำหนดวิธีการให้ยา/วัคซีน สำหรับป้องกันโรคที่สำคัญในแพะ

F5010202.01 175542
F5010202

ควบคุมการให้ยา/วัคซีน สำหรับป้องกันโรคที่สำคัญในแพะ

เขียนโปรแกรมการทำวัคซีน

F5010202.02 175543
F5010202

ควบคุมการให้ยา/วัคซีน สำหรับป้องกันโรคที่สำคัญในแพะ

ควบคุมการให้ยา/วัคซีน ตามโปรแกรมที่กำหนด

F5010202.03 175544

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ความรู้และทักษะเกี่ยวกับหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในในฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและ การเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) เบื้องต้น

- ความรู้และทักษะเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เบื้องต้น

- ทักษะการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

 - ทักษะการเขียนขั้นตอนปฏิบัติงาน (Work Instruction)

 - ทักษะในการให้ยา/วัคซีน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เกี่ยวการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของแพะ

- ความรู้เกี่ยวการใช้วัคซีน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- สามารถเขียนขั้นตอนการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญของแพะ

- สามารถเขียนโปรแกรมการทำวัคซีน

- ผลคะแนนการสัมภาษณ์

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

- ความรู้เรื่องการให้ยา/วัคซีน สำหรับป้องกันโรคที่สำคัญในแพะ

- ความรู้เรื่องควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญของแพะ

- ผลคะแนนทดสอบความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

 เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานหลักฐานความรู้ ที่คลอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้

(ง) วิธีการประเมิน

สอบข้อเขียน

สอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

- โรคในแพะ หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นกับแพะโดยทั่วไป สามารถจำแนกได้ในแบบที่เป็นโรคติดเชื้อตาม

ภาวะการติดเชื้อโรคต่างๆ เช่น โรคติดเชื้อแบคทีเรีย โรคติดเชื้อไวรัส โรคติดเชื้อปรสิตชนิดต่างๆทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งโรคที่สำคัญในแพะ ได้แก่ โรคแอนแทรกซ์ (Antrax) โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) โรคมงคล่อพิษเทียม (Melioidosis) โรคคอบวม (Hemorrhagic septicemia) เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน

สอบสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ