หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานตามระบบสุขาภิบาลและความปลอดภัยในฟาร์มแพะ

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-BRVL-646A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานตามระบบสุขาภิบาลและความปลอดภัยในฟาร์มแพะ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6121     เกษตรกรเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์สุกร โค กระบือ ม้า แพะ แกะ    

6121     เกษตรกรเลี้ยงแพะ    

6121     คนงานรีดนมแพะ    

6121     คนเลี้ยงแพะ/แกะ    

6121     เกษตรกรผลิตนมแพะดิบ    

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของแพะ เก็บตัวอย่างเบื้องต้นจากแพะเพื่อนำไปใช้วินิจฉัยโรคโดยการควบคุมของสัตวแพทย์ ปฏิบัติตามหลักมาตรฐานฟาร์มแพะ ปฏิบัติงานด้านสุขลักษณะและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ปศุสัตว์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565- ประกาศระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและ การเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม Good Farming Management (GFM) พ.ศ. 2561- ประกาศระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองสถานภาพฟาร์มปลอดโรค พ.ศ. 2563- พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
F4010201

ปฏิบัติตามมาตรการในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของแพะ

ระบุหลักการในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของแพะ

F4010201.01 175512
F4010201

ปฏิบัติตามมาตรการในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของแพะ

เขียนขั้นตอนในการปฏิบัติงานเพื่อควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของแพะ

F4010201.02 175513
F4010201

ปฏิบัติตามมาตรการในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของแพะ

ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของแพะตามขั้นตอนที่กำหนด

F4010201.03 175514
F4010202

ปฏิบัติการเก็บตัวอย่างเบื้องต้นจากแพะเพื่อนำไปใช้วินิจฉัยโรคโดยการควบคุมของสัตวแพทย์

ระบุลักษณะ/ประเภทของตัวอย่างที่เก็บ

F4010202.01 175515
F4010202

ปฏิบัติการเก็บตัวอย่างเบื้องต้นจากแพะเพื่อนำไปใช้วินิจฉัยโรคโดยการควบคุมของสัตวแพทย์

เก็บตัวอย่างในตำแหน่ง/บริเวณที่ถูกต้อง

F4010202.02 175516
F4010202

ปฏิบัติการเก็บตัวอย่างเบื้องต้นจากแพะเพื่อนำไปใช้วินิจฉัยโรคโดยการควบคุมของสัตวแพทย์

เก็บตัวอย่างอย่างเหมาะสมก่อนส่งไปวินิจฉัยโรค

F4010202.03 175517
F4010203

ปฏิบัติตามหลักมาตรฐานฟาร์มแพะตามสุขลักษณะที่ดี 

ระบุหลักมาตรฐานฟาร์มแพะตามสุขลักษณะที่ดี

F4010203.01 175518
F4010203

ปฏิบัติตามหลักมาตรฐานฟาร์มแพะตามสุขลักษณะที่ดี 

เขียนขั้นตอนในการปฏิบัติงานตามหลักมาตรฐานฟาร์มแพะตามสุขลักษณะที่ดี

F4010203.02 175519
F4010203

ปฏิบัติตามหลักมาตรฐานฟาร์มแพะตามสุขลักษณะที่ดี 

ปฏิบัติงานตามหลักมาตรฐานฟาร์มแพะที่กำหนด

F4010203.03 175520
F4010204

ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขลักษณะและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน

ระบุข้อกำหนดด้านสุขลักษณะและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานภายในฟาร์มแพะ

F4010204.01 175521
F4010204

ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขลักษณะและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน

เขียนขั้นตอนในการปฏิบัติงานตามข้อกำหนดด้านสุขลักษณะและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน

F4010204.02 175522
F4010204

ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขลักษณะและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานด้านสุขลักษณะและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานตามข้อกำหนด

F4010204.03 175523

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ความรู้และทักษะเกี่ยวกับหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในในฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและ การเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) เบื้องต้น

- ความรู้และทักษะเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เบื้องต้น

- ทักษะการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะการเขียนขั้นตอนปฏิบัติงาน (Work Instruction)

- ทักษะการเก็บตัวอย่างเพื่อวินิจฉัยโรค

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เบื้องต้นที่เกี่ยวการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของแพะ

- ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มแพะ

- ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดด้านสุขลักษณะและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- สามารถควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของแพะตามขั้นตอนที่กำหนด

- สามารถเก็บตัวอย่างอย่างเหมาะสมก่อนส่งไปวินิจฉัยโรค

- สามารถปฏิบัติงานตามหลักมาตรฐานฟาร์มแพะ

- สามารถปฏิบัติงานด้านสุขลักษณะและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน

- ผลคะแนนการสัมภาษณ์

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

- ความรู้เรื่องการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อในแพะ

- ความรู้เรื่องการเก็บตัวอย่างเบื้องต้นจากแพะเพื่อนำไปใช้วินิจฉัยโรค

- ความรู้เรื่องมาตรฐานฟาร์มแพะตามสุขลักษณะที่ดี

- ความรู้เรื่องสุขลักษณะและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในฟาร์มแพะ

- ผลคะแนนทดสอบความรู้และการสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานหลักฐานความรู้ ที่คลอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้

(ง) วิธีการประเมิน

สอบข้อเขียน

สอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

- มาตรฐานฟาร์มแพะ หมายถึง ฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) คือ ฟาร์มเลี้ยงแพะที่ยกระดับการแพะ การจัดการให้มีความปลอดภัยทางชีวภาพ ระบบการบันทึกข้อมูล การพัฒนาคุณภาพผลผลิต เพื่อให้ได้แพะและผลผลิตที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

- โรคติดต่อของแพะ หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นกับแพะที่สามารถติดต่อจากแพะตัวหนึ่งไปอีกตัวหนึ่งภายในฟาร์ฒ สามารถจำแนกได้ตามภาวะการติดเชื้อโรคต่างๆ เชน โรคติดเชื้อแบคทีเรีย โรคติดเชื้อไวรัส และโรคติดเชื้อจากปรสิตชนิดต่างๆทั้งภายนอกและภายใน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน

สอบสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ