หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานตามระบบสุขาภิบาลและความปลอดภัยในฟาร์มไก่ไข่

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-NBTN-604A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานตามระบบสุขาภิบาลและความปลอดภัยในฟาร์มไก่ไข่

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6122     ผู้เลี้ยงสัตว์ปีก    

6122     คนงานฝีมือในการเลี้ยงสัตว์ปีก    

6122     เกษตรกรเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์เป็ด ไก่    

6122     เกษตรกรเลี้ยงไก่    

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของคนและสัตว์ ปฏิบัติงานตามมาตรฐานความปลอดภัยของบุคลากร ปฏิบัติงานให้ไก่ไข่มีความปลอดภัยตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ สามารถกำจัดของเสียที่เกิดจากฟาร์มไก่ไข่ได้อย่างเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ปศุสัตว์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565- มาตรฐานฟาร์มไก่ไข่ กรมปศุสัตว์- พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557- พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558- ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม พ.ศ. 2560- พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561- พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
E4010501

ปฏิบัติงานให้มีความปลอดภัยของบุคลากรในฟาร์มไก่ไข่

ปฏิบัติงานตามมาตรฐานความปลอดภัยของบุคลากร

E4010501.01 175157
E4010501

ปฏิบัติงานให้มีความปลอดภัยของบุคลากรในฟาร์มไก่ไข่

ใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการป้องกันอันตรายในโรงเรือนได้ถูกต้อง

E4010501.02 175158
E4010501

ปฏิบัติงานให้มีความปลอดภัยของบุคลากรในฟาร์มไก่ไข่

ควบคุมการเข้า - ออกของคนในฟาร์มไก่ไข่ตามขั้นตอนที่กำหนด

E4010501.03 175159
E4010502

ปฏิบัติงานให้ไก่ไข่มีความปลอดภัย

ปฏิบัติงานตามหลักสวัสดิภาพสัตว์

E4010502.01 175169
E4010502

ปฏิบัติงานให้ไก่ไข่มีความปลอดภัย

ป้องกันสัตว์พานะทั้งในและรอบโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ตามขั้นตอนที่กำหนด E4010502.02 175170
E4010503

กำจัดของเสียที่เกิดจากฟาร์มไก่ไข่ได้อย่างเหมาะสม

กำจัดของเสียตามขั้นตอนที่เหมาะสม

E4010503.01 175177
E4010503

กำจัดของเสียที่เกิดจากฟาร์มไก่ไข่ได้อย่างเหมาะสม

ใช้และการบำรุงระบบ Biogas ตามขั้นตอนที่เหมาะสม

E4010503.02 175178

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ความรู้พื้นฐานและทักษะด้านการจัดการฟาร์มไก่ไข่

- ความรู้และทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยงไก่ไข่

- ความรู้และทักษะการให้อาหารไก่ไข่ในแต่ละระยะ

- ความรู้และทักษะการปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลที่ดีและความปลอดภัยทางชีวภาพ

- ความรู้และทักษะการจัดการสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- มีทักษะการสื่อสาร การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาพื้นฐานที่พบเป็นประจำได้ 

- มีทักษะสามารถทำงานประจำตามลักษณะวิชาชีพ ดัดแปลงและเลือกใช้วิธีการทำงานที่เหมาะสม

- มีทักษะในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการฟาร์มไก่ไข่

- มีทักษะการเลี้ยงไก่ไข่ให้ปลอดภัย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- มีความรู้ด้านโภชนะอาหารพื้นฐานและความต้องการอาหารของไก่ไข่

- มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพทั้งด้านบุคคล สิ่งของ และพาหนะ

- มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสุขศาสตร์สัตว์

- มีความรู้เกี่ยวกับเวชภัณฑ์ น้ำยาฆ่าเชื้อโรคและสารเคมีกำจัดแมลงสัตว์พาหะ

- มีความรู้ด้านสวัสดิภาพสัตว์และความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

- มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์ และการบำรุงรักษาอุปกรณ์เพื่อให้ในการเลี้ยงไก่รุ่น/ไก่ไข่

- มีความรู้เรื่องการจัดการของเสีย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- สามารถใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการป้องกันอันตรายในโรงเรือนได้

- สามารถปฏิบัติงานตามหลักสวัสดิภาพสัตว์

- สามารถป้องกันสัตว์พาหะ

- สามารถกำจัดของเสียที่เกิดจากฟาร์มไก่ไข่ได้

- ผลคะแนนการสอบข้อเชียน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

- ความรู้เรื่องมาตรฐานความปลอดภัยของบุคลากรในฟาร์มไก่ไข่

- ความรู้เรื่องหลักสวัสดิภาพสัตว์

- ความรู้เรื่องสัตว์พาหะในฟาร์มไก่ไข่

- ความรู้เรื่องการกำจัดของเสียในฟาร์มและระบบ Biogas

- ผลคะแนนการสอบข้อเชียน  

   (ค) คำแนะนำในการประเมิน

 เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานหลักฐานความรู้ ที่คลอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้

(ง) วิธีการประเมิน

สอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

 หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

- ความปลอดภัยทางชีวภาพ หมายถึง ระบบการจัดการและมาตรการทางกายภาพที่ดำเนินการเพื่อป้องกันและควบคุมโรค โดยลดความเสี่ยงจากการนำโรคเข้าหรือออกจากฟาร์ม

- ของเสียภายในฟาร์ม หมายถึง ของเสียที่ได้จากการผลิตภายในฟาร์มไก่ไข่ เช่น ขยะเปียก ขยะแห้ง ซากสัตว์ มูลสัตว์ วัสดุรองพื้น เปลือกไข่ ขยะติดเชื้อ ขยะอันตราย เช่น เข็มฉีดยา ขวดวัคซีน เป็นต้น

- ระบบ Biogas หมายถึง การนำมูลสัตว์มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแก๊สเป็นพลังงานไฟฟ้า

- หลักสวัสดิภาพสัตว์ หมายถึง การที่สัตว์ได้รับการเลี้ยงและดูแลให้สัตว์มีความเป็นอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม มีสุขอนามัยที่ดี มีที่อยู่สะดวกสบาย ได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ ทำให้สัตว์มีความสุขกายและ สบายใจ โดยยึดหลักการ 5 ประการ (Five Freedoms) ในการเลี้ยงและปฏิบัติต่อสัตว์ ได้แก่ 1) สัตว์ที่เลี้ยงมีอิสระจากความหิว กระหาย และการให้อาหารที่ไม่ถูกต้อง 2) มีอิสระจากความไม่สะดวกสบายอันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อม 3) มีอิสระจากความเจ็บปวด การบาดเจ็บ หรือเป็นโรค 4) มีอิสระจากความกลัวและความทุกข์ทรมาน และ 5) มีอิสระในการแสดงพฤติกรรมตามปกติของสัตว์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน



ยินดีต้อนรับ