หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการพันธุ์และสุขภาพไก่ไข่

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-GUAQ-600A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการพันธุ์และสุขภาพไก่ไข่

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6122     ผู้เลี้ยงสัตว์ปีก    

6122     คนงานฝีมือในการเลี้ยงสัตว์ปีก    

6122     เกษตรกรเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์เป็ด ไก่    

6122     เกษตรกรเลี้ยงไก่    

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการจัดการพันธุ์และสุขภาพไก่ไข่ การเตรียมไก่รุ่นให้มีคุณภาพดี การให้วัคซีนไก่รุ่น/ไก่ไข่ตามที่ได้รับมอบหมายหรือคำแนะนำจากสัตวแพทย์ สามารถจัดการไก่ไข่ป่วยและรักษาเบื้องต้นได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ปศุสัตว์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565- มาตรฐานฟาร์มไก่ไข่ กรมปศุสัตว์- พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557- พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558- ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม พ.ศ. 2560- พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561- พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
E4010101

เตรียมไก่รุ่นให้มีคุณภาพดี

เตรียมอาหารสำหรับไก่รุ่น

E4010101.01 174995
E4010101

เตรียมไก่รุ่นให้มีคุณภาพดี

ให้แสงสว่างสำหรับไก่รุ่นตามขั้นตอนที่กำหนด

E4010101.02 174996
E4010101

เตรียมไก่รุ่นให้มีคุณภาพดี

แยกไก่ตามขนาดเพื่อปรับคุณภาพของไก่ให้ใกล้เคียงกัน       

E4010101.03 174997
E4010101

เตรียมไก่รุ่นให้มีคุณภาพดี

คัดเลือกไก่คุณภาพดีและประเมินคุณค่าทางเศรษฐกิจ

E4010101.04 174998
E4010101

เตรียมไก่รุ่นให้มีคุณภาพดี

คัดแยกไก่ที่มีคุณภาพไม่ดีตามขั้นตอนที่กำหนด

E4010101.05 174999
E4010102

ให้วัคซีนไก่ไข่ตามที่ได้รับมอบหมายหรือคำแนะนำจากสัตวแพทย์

เตรียมตัวไก่ก่อนเข้ารับวัคซีน

E4010102.01 175003
E4010102

ให้วัคซีนไก่ไข่ตามที่ได้รับมอบหมายหรือคำแนะนำจากสัตวแพทย์

ประเมินไก่ตามรายงานสุขภาพ

E4010102.02 175004
E4010102

ให้วัคซีนไก่ไข่ตามที่ได้รับมอบหมายหรือคำแนะนำจากสัตวแพทย์

ประเมินสุขภาพไก่ไข่

E4010102.03 175005
E4010102

ให้วัคซีนไก่ไข่ตามที่ได้รับมอบหมายหรือคำแนะนำจากสัตวแพทย์

เตรียมวัคซีนแต่ละชนิดให้ถูกต้องสำหรับไก่ไข่

E4010102.04 175006
E4010102

ให้วัคซีนไก่ไข่ตามที่ได้รับมอบหมายหรือคำแนะนำจากสัตวแพทย์

เตรียมอุปกรณ์การทำวัคซีนได้อย่างถูกต้อง

E4010102.05 175007
E4010102

ให้วัคซีนไก่ไข่ตามที่ได้รับมอบหมายหรือคำแนะนำจากสัตวแพทย์

ฉีดวัคซีนในตำแหน่งที่ถูกต้องตามชนิดของวัคซีน

E4010102.06 175008
E4010102

ให้วัคซีนไก่ไข่ตามที่ได้รับมอบหมายหรือคำแนะนำจากสัตวแพทย์

ตรวจสอบผลของการทำวัคซีนในไก่ไข่ได้

E4010102.07 175009
E4010103

จัดการไก่ไข่ป่วยและการรักษาเบื้องต้น

สังเกตพฤติกรรมไก่รุ่น/ไก่ไข่

E4010103.01 175019
E4010103

จัดการไก่ไข่ป่วยและการรักษาเบื้องต้น

แยกไก่ป่วยออกจากไก่สุขภาพดีได้อย่างถูกต้อง

E4010103.02 175020
E4010103

จัดการไก่ไข่ป่วยและการรักษาเบื้องต้น

ดูแลไก่ป่วยได้อย่างถูกต้อง

E4010103.03 175021
E4010103

จัดการไก่ไข่ป่วยและการรักษาเบื้องต้น

เข้าใจขั้นตอนการเก็บตัวอย่าง

E4010103.04 175022
E4010103

จัดการไก่ไข่ป่วยและการรักษาเบื้องต้น

เตรียมอุปกรณ์การเก็บตัวอย่างให้ได้ถูกต้อง

E4010103.05 175023
E4010103

จัดการไก่ไข่ป่วยและการรักษาเบื้องต้น

เก็บและจัดส่งตัวอย่างได้อย่างถูกต้อง

E4010103.06 175024
E4010103

จัดการไก่ไข่ป่วยและการรักษาเบื้องต้น

บันทึกและรายงานการส่งตัวอย่างให้หัวหน้างาน

E4010103.07 175025

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ความรู้พื้นฐานและทักษะด้านการจัดการฟาร์มไก่ไข่

- ความรู้และทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยงไก่ไข่

- ความรู้และทักษะการให้อาหารไก่ไข่ในแต่ละระยะ

- ความรู้และทักษะการปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลที่ดีและความปลอดภัยทางชีวภาพ

- ความรู้และทักษะการจัดการสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- มีทักษะการสื่อสาร การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาพื้นฐานที่พบเป็นประจำได้ 

- มีทักษะสามารถทำงานประจำตามลักษณะวิชาชีพ ดัดแปลงและเลือกใช้วิธีการทำงานที่เหมาะสม

- มีทักษะเกี่ยวกับการประเมินสุขภาพสัตว์เบื้องต้น

 - มีทักษะในการคัดแยกไก่ผิดปกติหรือไก่ป่วย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้ด้านชีววิทยาและระบบสรีรวิทยาในไก่ไข่

- มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสุขศาสตร์สัตว์เบื้องต้น

- มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคในไก่ไข่ที่พบประจำ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- สามารถเตรียมไก่รุ่นให้มีคุณภาพดี

- สามารถให้วัคซีนไก่ไข่ตามที่ได้รับมอบหมายหรือคำแนะนำจากสัตวแพทย์

- สามารถจัดการไก่ไข่ป่วยและให้การรักษาเบื้องต้น

- ผลคะแนนการสัมภาษณ์    

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

- ความรู้เรื่องการเตรียมและให้อาหารไก่รุ่น

- ความรู้เรื่องการทำวัคซีนตามที่ได้รับมอบหมายหรือคำแนะนำจากสัตวแพทย์

- ความรู้เรื่องพฤติกรรมไก่ที่ป่วย

- ผลคะแนนทดสอบความรู้และการสัมภาษณ์

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

 เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานหลักฐานความรู้ ที่คลอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้

(ง) วิธีการประเมิน

สอบข้อเขียน

สอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

 หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

- การเก็บตัวอย่าง หมายถึง การเก็บตัวอย่างจากไก่ไข่ เช่น มูลไก่ เลือด ไข่ เป็นต้น เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุของการตายหรือติดตามสุขภาพของไก่

- การจัดการอาหาร หมายถึง การตรวจสอบคุณภาพอาหาร เช่น เบอร์อาหาร สี กลิ่น ลักษณะเม็ด ไม่มีสิ่งปนเปื้อน เช่น เชื้อรา เป็นต้น

- การจัดการแสงสว่าง หมายถึง การจัดการตามโปรแกรมแสงและความเข้มแสง โดยจะต้องป้องกันการเกิดจุดอับแสงและคอยตรวจสอบหลอดไฟทุกดวง

- ไก่รุ่น หมายถึง ไก่ที่ยังไม่สามารถให้ผลผลิตเป็นไข่ได้

- ไก่ไข่ หมายถึง ไก่ที่อยู่ในช่วงให้ผลผลิตไข่

- การคัดขนาดไก่ หมายถึง การแบ่งขนาดของไก่ตามช่วงอายุ สอดคล้องกับที่มาตรฐานกำหนด

- ไก่ที่มีคุณภาพดี หมายถึง ไก่ที่หงอนสีสดใส แววตาแจ่มใส ยืนปกติ ไม่พิการ กะตือรือร้น หายใจปกติ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน

สอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ