หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลสุขภาพไก่เนื้อ

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-JLNF-575A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลสุขภาพไก่เนื้อ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6122     เกษตรกรดูแลการฟักไข่ของสัตว์ปีก    

6122     เกษตรกรผสมพันธุ์และเพาะพันธุ์สัตว์ปีก    

6122     หัวหน้าคนงานเลี้ยงสัตว์ปีก    

6122     ผู้เลี้ยงสัตว์ปีก    

6122     เจ้าของฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ/ไก่ไข่    

6122     คนงานฝีมือในการเลี้ยงสัตว์ปีก    

6122     เกษตรกรเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์เป็ด ไก่    

6122     เกษตรกรเลี้ยงไก่    



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการจัดการดูแลสุขภาพไก่เนื้อ สังเกตลักษณะการแสดงออกภายนอกของไก่เนื้อ รู้ขั้นตอนวิธีทำลายซากตามหลักสุขาภิบาลโดยไม่ปล่อยมลภาวะสู่สภาพแวดล้อม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ปศุสัตว์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565- มาตรฐานฟาร์มไก่เนื้อ กรมปศุสัตว์- พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557- พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558- ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม พ.ศ. 2560- พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561- พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558- พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์การจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
D4010501

สังเกตลักษณะการแสดงออกภายนอกของไก่เนื้อ 

คัดแยกไก่ที่มีรูปร่างลักษณะผิดปกติหรือพิการออกจากไก่ปกติได้

D4010501.01 174840
D4010501

สังเกตลักษณะการแสดงออกภายนอกของไก่เนื้อ 

สังเกตหรือประเมินอาการป่วยเบื้องต้นจากลักษณะปรากฎของไก่ในโรงเรือนได้

D4010501.02 174841
D4010502

ทำลายซากไก่เนื้อตามหลักสุขาภิบาล

กำจัดหรือทำลายซากไก่เนื้อได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลสัตว์ หรือตามคำแนะนำของสัตวแพทย์

D4010502.01 174842
D4010502

ทำลายซากไก่เนื้อตามหลักสุขาภิบาล

ใช้งานสารเคมีในกระบวนการทำลายซากไก่เนื้อด้วยความระมัดระวังและคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น 

D4010502.02 174843

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ความรู้พื้นฐานทางด้านสัตวบาล ชีววิทยา กายวิภาค พันธุกรรม การจัดการเลี้ยงไก่เนื้อ

- ความรู้พื้นที่เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มไก่เนื้อตามข้อกำหนด 

- ความรู้พื้นฐานด้านการจัดการตัวสัตว์

- ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี

- ทักษะการอ่านและการสื่อสาร


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- มีทักษะในการสื่อสารที่ดี มีการคิดวิเคราะห์ สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานที่พบประจำได้

- มีทักษะเกี่ยวกับการประเมินสุขภาพสัตว์เบื้องต้น



 - มีทักษะในการคัดแยกไก่ผิดปกติหรือไก่ป่วย

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- มีความรู้ในการเลี้ยงไก่และสามารถทำงานประจำตามลักษณะวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม

- มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสุขศาสตร์สัตว์

- มีความรู้ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการทำลายซากสัตว์ที่ถูกต้องและเหมาะสม

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- สังเกตหรือประเมินอาการไก่ป่วยเบื้องต้น

- กำจัดหรือทำลายซากไก่เนื้อได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลสัตว์ 

- ผลคะแนนการสัมภาษณ์



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

- ความรู้เรื่องพฤติกรรมไก่ป่วย

- ความรู้เรื่องการทำลายซากไก่เนื้อ

- ความรู้เรื่องหลักสุขาภิบาลในฟาร์มไก่เนื้อ

- ผลคะแนนทดสอบความรู้

   (ค) คำแนะนำในการประเมิน

 เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานหลักฐานความรู้ ที่คลอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้

 (ง) วิธีการประเมิน

สอบข้อเขียน

สอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

     หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    - ลักษณะภายนอกของไก่ หมายถึง ลักษณะที่เห็นได้จากภายนอก เช่น หน้า ตา จมูก หงอน เหนียง ฯลฯ ซึ่งไก่ที่ไม่สบายมักจะแสดงอาการให้เห็นจากลักษณะภายนอกเหล่านี้ เช่นตาบวม หน้าบวม หงอนซีด หน้าซีด จมูกมีน้ำเมือก เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน

สอบสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ