หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เลี้ยงไก่เนื้อในแต่ละระยะ

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-NTML-573A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เลี้ยงไก่เนื้อในแต่ละระยะ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6122     เกษตรกรดูแลการฟักไข่ของสัตว์ปีก    

6122     เกษตรกรผสมพันธุ์และเพาะพันธุ์สัตว์ปีก    

6122     หัวหน้าคนงานเลี้ยงสัตว์ปีก    

6122     ผู้เลี้ยงสัตว์ปีก    

6122     เจ้าของฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ/ไก่ไข่    

6122     คนงานฝีมือในการเลี้ยงสัตว์ปีก    

6122     เกษตรกรเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์เป็ด ไก่    

6122     เกษตรกรเลี้ยงไก่    



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการจัดการดูแลอนุบาลระยะไก่เล็ก ไก่รุ่น และระยะปลดไก่ การเตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์การเลี้ยงสำหรับรับลูกไก่ การเตรียมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับระยะไก่เล็ก ไก่รุ่น และระยะปลดไก่

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ปศุสัตว์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565- มาตรฐานฟาร์มไก่เนื้อ กรมปศุสัตว์- พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557- พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558- ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม พ.ศ. 2560- พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561- พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558- พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์การจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
D4010301

เตรียมโรงเรือนเพื่อรับลูกไก่

เขียนขั้นตอนในการเตรียมโรงเรือนตามคู่มือการปฏิบัติ

D4010301.01 174827
D4010301

เตรียมโรงเรือนเพื่อรับลูกไก่

ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์การเลี้ยงก่อนรับลูกไก่

D4010301.02 174828
D4010302

เตรียมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับระยะไก่เล็ก ไก่รุ่น และระยะปลดไก่

สังเกตและประเมินสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเลี้ยงไก่ในแต่ละระยะได้

D4010302.01 174829
D4010302

เตรียมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับระยะไก่เล็ก ไก่รุ่น และระยะปลดไก่

สังเกตและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อเกิดความผิดปกติภายในโรงเรือนได้

D4010302.02 174830

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ความรู้พื้นฐานทางด้านสัตวบาล ชีววิทยา กายวิภาค พันธุกรรม การจัดการเลี้ยงไก่เนื้อ

- ความรู้พื้นที่เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มไก่เนื้อตามข้อกำหนด 

- ความรู้พื้นฐานด้านการจัดการตัวสัตว์

- ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี

- ทักษะการอ่านและการสื่อสาร

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- มีทักษะในการเตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์การเลี้ยงไก่



 - มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน

- มีทักษะการคิด การสื่อสาร สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานที่พบประจำ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- มีความรู้ในการอ่าน เขียน พูด ภาษาไทยขั้นพื้นฐานได้

 - มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพพื้นฐานและภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเบื้องต้น

 - มีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกไก่เนื้อ

- มีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่เนื้อ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- สามารถเขียนขั้นตอนในการเตรียมโรงเรือน

- ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์การเลี้ยงก่อนรับลูกไก่

- ผลคะแนนการสัมภาษณ์

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

- ความรู้เรื่องสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเลี้ยงไก่ในแต่ละระยะได้

- ผลคะแนนทดสอบความรู้         

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

 เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานหลักฐานความรู้ ที่คลอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้

(ง) วิธีการประเมิน

สอบข้อเขียน

สอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

 หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

- ระยะปลดไก่ หมายถึง ไก่ที่มีอายุมากอยู่ในระยะสิ้นสุดการเลี้ยง เป็นไก่ที่รอเพื่อจับขาย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน

สอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ