หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการผลิตของฟาร์มโคนม

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-EIWX-641A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการผลิตของฟาร์มโคนม

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6121     เกษตรกรเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์สุกร โค กระบือ ม้า แพะ แกะ    

6121     เกษตรกรเลี้ยงวัว    

6121     คนงานฝีมือในการเลี้ยงปศุสัตว์    

6121     คนเลี้ยงวัว/ควาย    

6121     เกษตรกรผลิตนมโคดิบ    

6121     เจ้าของฟาร์มเลี้ยงโคเนื้อ/โคนม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการวางแผนการผลิตของฟาร์มโคนม กำหนดปริมาณโครีดนมให้สอดคล้องกับการผลิตน้ำนม กำหนดขนาดฝูงให้สอดคล้องกับแผนการผลิตของฟาร์ม วางแผนการปรับปรุงพันธุ์โคนมในฟาร์ม วางแผนการขนส่งหรือจัดเก็บน้ำนมดิบให้คงคุณภาพที่ดี

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ปศุสัตว์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565- มาตรฐานฟาร์มโคนม กรมปศุสัตว์- พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557- พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558- ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม พ.ศ. 2560- พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561- พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
C6010201

วางแผนกำหนดปริมาณโครีดนมให้สอดคล้องกับการผลิตน้ำนม

วางแผนจัดกลุ่มโคขึ้นรีดเพื่อให้ได้น้ำนมตามแผนการผลิตของฟาร์ม

C6010201.01 175463
C6010201

วางแผนกำหนดปริมาณโครีดนมให้สอดคล้องกับการผลิตน้ำนม

กำหนดวิธีวิเคราะปริมาณน้ำนมและวางแผนการผลิต

C6010201.02 175464
C6010201

วางแผนกำหนดปริมาณโครีดนมให้สอดคล้องกับการผลิตน้ำนม

วางแผนกำลังการผลิตน้ำนมของฟาร์มเพื่อให้ได้น้ำนมตามแผนการผลิตของฟาร์ม

C6010201.03 175465
C6010202

วางแผนกำหนดจำนวนโคนมในฟาร์ม

วางแผนและกำหนดเกณฑ์การคัดทิ้งโคนมของฟาร์ม

C6010202.01 175466
C6010202

วางแผนกำหนดจำนวนโคนมในฟาร์ม

วางแผนการจัดการลูกโคหย่านม

C6010202.02 175467
C6010202

วางแผนกำหนดจำนวนโคนมในฟาร์ม

วางแผนการกำหนดขนาดฝูงให้สอดคล้องกับแผนการผลิตของฟาร์ม

C6010202.03 175468
C6010203

วางแผนการปรับปรุงพันธุ์โคนมในฟาร์ม

กำหนดลักษณะที่ดีของโคนม

C6010203.01 175469
C6010203

วางแผนการปรับปรุงพันธุ์โคนมในฟาร์ม

วางแผนการปรับปรุงพันธุ์เพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของโคนมในฟาร์ม

C6010203.02 175470
C6010204

วางแผนการขนส่งและจัดเก็บน้ำนมดิบ

กำหนดลักษณะคุณภาพน้ำนมที่ดีของฟาร์ม

C6010204.01 175471
C6010204

วางแผนการขนส่งและจัดเก็บน้ำนมดิบ

วางแผนการขนส่งและจัดเก็บน้ำนมดิบให้คงคุณภาพที่ดี

C6010204.02 175472

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- พื้นฐานความรู้ทางด้านสัตวบาล ชีววิทยา กายวิภาค พันธุกรรม การจัดการเลี้ยงโคนม ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มโคนมตามข้อกำหนด ความรู้ด้านกฎระเบียบข้อบังคับโดยกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินกิจการฟาร์มโคเนื้อ

- ทักษะความเป็นผู้นำ การบริหารจัดการคน การตัดสินใจ วิเคราะห์แก้ไขปัญหา วางแผนงานกลยุทธ์ รู้กลไกการตลาด บริหารต้นทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

- ระบบการดำเนินงานตามความปลอดภัยทางชีวภาพ

- ความรู้การบัญชีเบื้องต้น

- การสรรหา คัดสรรและพัฒนาบุคลากรตามโครงงานที่วางแผนไว้

- ทักษะการเจรจาต่อรอง

- ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะในการวางแผนจัดกลุ่มโคขึ้นรีดเพื่อให้ได้น้ำนมตามแผนการผลิตของฟาร์ม

- ทักษะในการกำหนดวิธีวิเคราะปริมาณน้ำนมและวางแผนการผลิต

- ทักษะในการวางแผนการเพิ่ม ลด หรือคงกำลังการผลิตน้ำนมของฟาร์ม 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะปริมาณน้ำนม

- ความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงพันธุ์โคนม

- ความรู้เกี่ยวกับคุณภาพน้ำนม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- สามารถวางแผนจัดกลุ่มโคขึ้นรีดเพื่อให้ได้น้ำนม

- สามารถวางแผนกำลังการผลิตน้ำนมของฟาร์ม

- วางแผนและกำหนดเกณฑ์การคัดทิ้งโคนมในฟาร์ม

- วางแผนการจัดการลูกโคหย่านมและการกำหนดขนาดฝูงให้สอดคล้องกับแผนการผลิตของฟาร์ม

- วางแผนการปรับปรุงพันธุ์เพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของโคนมในฟาร์ม

- กำหนดลักษณะคุณภาพน้ำนมที่ดีของฟาร์ม

- แฟ้มสะสมผลงาน

- ผลคะแนนการสัมภาษณ์

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

- วิธีวิเคราะปริมาณน้ำนม

- ความรู้เรื่องการจัดการลูกโคหย่านมและกำหนดขนาดฝูงให้สอดคล้องกับแผนการผลิตของฟาร์ม

- ความรู้เรื่องลักษณะที่ดีของโคนม

- ความรู้เรื่องลักษณะคุณภาพน้ำนมที่ดี

- ผลคะแนนการสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

 เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานหลักฐานความรู้ ที่คลอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้

(ง) วิธีการประเมิน

สอบสัมภาษณ์

แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

- วิธีวิเคราะห์ปริมาณน้ำนม หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการวิเคราะห์ปริมาณน้ำนมหรือผลผลิตที่ผลิตได้ในฟาร์ม 

- ลักษณะที่ดีของโคนม หมายถึง ลักษณายนอกของโคนมที่สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ ลักษณะรูปร่างกลับมีผลอย่างมากต่อสุขภาพ เช่น แม่โคที่มีเต้านมหย่อนยาน มีโอกาสเป็นโรคเต้านมอักเสบสูงกว่าโคที่มีเต้านมปกติ ดังนั้นการคัดเลือกโคนมที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ โดยลักษณะของโคนมที่ดี พิจารณาจาก 

1) ความสูง (Stature) พิจารณาจากแนวหลัง (จุดที่ผ่านกระดูกสะโพก) ถึงพื้นดินขณะโคยืนตรง ควรมีความสูงประมาณ 140 เซนติเมตร 

2) ความแข็งแรง (Strength) วัดความกว้างและความลึกของช่วงอก เนื่องจากบริเวณอกเป็นที่ตั้งของอวัยวะสำคัญทั้งต่อสุขภาพและการให้น้ำนม ซึ่งได้แก่ ปอดและหัวใจ ที่ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้นแม่โคที่อกกว้างและลึกมากจึงเป็นแม่โคที่มีลักษณะดี

3) ความลึกของลำตัว (Body depth) พิจารณาความยาวที่บริเวณกลางลำตัวจากหลังถึงท้อง ลักษณะนี้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความสามารถในการกินอาหารหยาบของโค แม่โคที่มีลำตัวลึก และซี่โครงกางกว้างมาก จึงเป็นแม่โคที่มีความสามารถในการกินอาหารหยาบได้ครั้งละมาก ๆ ดังนั้นลำตัวลึกจะดี

4) ลักษณะความเป็นโคนม (Angularity) ใช้การพิจารณาหลายลักษณะประกอบกัน ได้แก่ ดูลักษณะความชัดเจนและความแบนของกระดูก ความกางของซี่โครง ลำคอเรียวบาง ผิวหนังเรียบ ขนเป็นมัน กล้ามเนื้อบาง มีลักษณะความเป็นเพศเมียชัดเจน ภาพโดยรวมเมื่อมองจากมุมมองด้านข้าง หรือมองจากมุมมองด้านบน จะมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม แม่โคที่มีลักษณะเป็นโคนมที่ดี ควรจะมีลำตัวค่อนข้างเป็นสามเหลี่ยม กระดูกมีลักษณะแบน

5) มุมสะโพก (Rump angle) แม่โคที่ดีควรมีปุ่มกระดูกสะโพกสูงกว่ากระดูกก้นกบ หากแม่โคมีปุ่มกระดูกสะโพกต่ำกว่าปุ่มกระดูกก้นกบ มีแนวโน้มที่จะเกิดการอักเสบในระบบสืบพันธุ์ และมีปัญหาการคลอดยาก เนื่องจากภายในอวัยวะสืบพันธุ์จะมีของเหลว หรือสิ่งสกปรกคั่งอยู่ภายใน ไม่สามารถไหลออกมาได้ ทำให้เกิดการหมักหมมและติดเชื้อเกิดการอักเสบได้ง่าย

6) ความยาวของสะโพก (Rump length) แม่โคที่มีความยาวของสะโพกมากจะเป็นลักษณะที่ดี

7) ความกว้างสะโพก (Rump width) แม่โคที่ดีควรมีความกว้างของสะโพกหรือความกว้างของกระดูกเชิงกรานมาก ลักษณะนี้มีความสัมพันธ์กับการคลอด พบว่าแม่โคที่มีเชิงกรานแคบกว่ามักจะคลอดยากเมื่อเทียบกับแม่โคอื่น ๆ ที่ให้ลูกขนาดเดียวกัน

8) ลักษณะขาหลังมองด้านข้าง (Rear leg side view) พิจารณาความเอียงของขาหลังจากเส้นสมมุติที่ลากจากข้อเข่าถึงส้นกีบ ลักษณะขาหลังมีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวและการรับน้ำหนักของโคขณะยืนและเดิน บอกให้ทราบถึงความยืดหยุ่นของขาและเท้า หากเป็นเส้นตั้งฉากกับพื้น เป็นลักษณะขาหลังที่ตรงมาก เป็นลักษณะที่ไม่ดี ทำให้รับน้ำหนักมากเกินไป ขาหลังที่ทำมุมพอดีไม่ตั้งตรงมากหรือลาดมากจึงเป็นลักษณะที่ดี ส่วนขาที่โค้งมาก ก็ไม่ดีเป็นเหตุให้กล้ามเนื้อและเอ็นต้องรับน้ำหนักมาก ทำให้ขา กล้ามเนื้อและเอ็น บาดเจ็บได้ง่าย

9) มุมกีบ (Foot angle) ลักษณะกีบที่ดีควรทำมุมกับพื้นปานกลางประมาณ 45 องศา เป็นกีบที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่น้อย ทำให้ลดการจัดการเรื่องแต่งกีบได้

- คุณภาพน้ำนมดิบที่ดี หมายถึง น้ำนมที่มีองค์ประกอบของน้ำนมตามธรรมชาติ มีปริมาณของเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำนมต่ำปราศจากเชื้อจุลินทร์ย์ก่อโรค ไม่มียาปฏิชีวนะหรือสารเคมีตกค้าง ปราศจากการปนเปื้อนของน้ำหรือสารอื่น มีรส กลิ่น และสีของน้ำนมดิบตามธรรมชาติมาจากแม่โคที่มีสุขภาพดี


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบสัมภาษณ์

แฟ้มสะสมผลงาน 

 



ยินดีต้อนรับ