หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมกระบวนการรีดนมโคให้เป็นไปตามหลักปฎิบัติของการรีดนมโค

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-QVOJ-639A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมกระบวนการรีดนมโคให้เป็นไปตามหลักปฎิบัติของการรีดนมโค

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6121     เกษตรกรเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์สุกร โค กระบือ ม้า แพะ แกะ    

6121     เกษตรกรเลี้ยงวัว    

6121     คนงานฝีมือในการเลี้ยงปศุสัตว์    

6121     คนเลี้ยงวัว/ควาย    

6121     เกษตรกรผลิตนมโคดิบ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการควบคุมกระบวนการรีดนมโคให้เป็นไปตามหลักปฎิบัติของการรีดนมโค ตรวจสอบกระบวนการทำความสะอาดและการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์รีดนม กำหนดวิธีการจัดการน้ำนมและโคที่เป็นโรคเต้านมอักเสบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ปศุสัตว์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565- มาตรฐานฟาร์มโคนม กรมปศุสัตว์- พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557- พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558- ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม พ.ศ. 2560- พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561- พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
C5010401

วางแผนการรีดนมโคให้เป็นไปตามมาตรฐาน

อธิบายหลักการการรีดนมโคตามมาตรฐาน

C5010401.01 175440
C5010401

วางแผนการรีดนมโคให้เป็นไปตามมาตรฐาน

กำหนดจุดควบคุมวิกฤต (Critical Control Point) ในกระบวนการรีดนมโค

C5010401.02 175441
C5010401

วางแผนการรีดนมโคให้เป็นไปตามมาตรฐาน

กำหนดวิธีการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อในน้ำนม

C5010401.03 175442
C5010402

ตรวจสอบกระบวนการทำความสะอาดและวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์รีดนม

กำหนดขั้นตอนและวิธีการล้างทำความสะอาดอุปกรณ์รีดนม

C5010402.01 175443
C5010402

ตรวจสอบกระบวนการทำความสะอาดและวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์รีดนม

กำหนดจุดควบคุมวิกฤต (Critical Control Point) ในกระบวนการทำความสะอาดอุปกรณ์รีดนม

C5010402.02 175444
C5010402

ตรวจสอบกระบวนการทำความสะอาดและวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์รีดนม

แก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการทำความสะอาดอุปกรณ์รีดนม 

C5010402.03 175445
C5010402

ตรวจสอบกระบวนการทำความสะอาดและวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์รีดนม

กำหนดวิธีการบำรุงรักษา วงรอบการทำความสะอาดและอายุการใช้งานของอุปกรณ์รีดนมและถ่ายทอดให้พนักงานนำไปปฏิบัติ

C5010402.04 175446
C5010403

วางแผนการจัดการน้ำนมและโคที่เป็นโรคเต้านมอักเสบ

กำหนดวิธีการจัดการน้ำนมจากโคที่เป็นเต้านมอักเสบและถ่ายทอดให้พนักงานนำไปปฏิบัติ

C5010403.01 175447
C5010403

วางแผนการจัดการน้ำนมและโคที่เป็นโรคเต้านมอักเสบ

กำหนดแนวทางปฏิบัติต่อโคนมที่เป็นโรคเต้านมอักเสบและถ่ายทอดให้พนักงานนำไปปฏิบัติ

C5010403.02 175448

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- พื้นฐานความรู้ทางด้านสัตวบาล ชีววิทยา กายวิภาค พันธุกรรม การจัดการเลี้ยงโคนม ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มโคนมตามข้อกำหนด ความรู้ด้านกฎระเบียบข้อบังคับโดยกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินกิจการฟาร์มโคนม

- ทักษะความเป็นผู้นำ การบริหารจัดการคน การตัดสินใจ วิเคราะห์แก้ไขปัญหา วางแผนงานกลยุทธ์ รู้กลไกการตลาด บริหารต้นทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

- ระบบการดำเนินงานตามความปลอดภัยทางชีวภาพ

- ความรู้การบัญชีเบื้องต้น

- การสรรหา คัดสรรและพัฒนาบุคลากรตามโครงงานที่วางแผนไว้

- ทักษะการเจรจาต่อรอง

- ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะการรีดนมโคตามมาตรฐาน

- ทักษะบำรุงรักษาอุปกรณ์รีดนม

- ทักษะการใช้งานอุปกรณ์รีดนม

- ทักษะการถ่ายทอดความรู้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการรีดนมโค

- ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของอุปกรณ์รีดนม

- ความรู้เกี่ยวกับลักษณะและการป้องกันโรคเต้านมอักเสบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- สามารถกำหนดจุดควบคุมวิกฤต (Critical Control Point) ในกระบวนการรีดนมโค กระบวนการ

ทำความสะอาดอุปกรณ์

- สามารถกำหนดวิธีการจัดการน้ำนมจากโคที่เป็นเต้านมอักเสบ

- แฟ้มสะสมผลงาน

- ผลคะแนนการสัมภาษณ์

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

- ความรู้เรื่องหลักการการรีดนมโคตามมาตรฐาน

- ความรู้เรื่องจุดควบคุมวิกฤต (Critical Control Point) ในกระบวนการรีดนมโค 

- ความรู้เรื่องโรคที่เกี่ยวกับเต้านมในโค

- ผลคะแนนทดสอบความรู้และการสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

 เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานหลักฐานความรู้ ที่คลอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้

(ง) วิธีการประเมิน

สอบข้อเขียน 

สอบสัมภาษณ์ 

แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

- จุดควบคุมวิกฤต (Critical Control Point) หมายถึง กระบวนการหรือเหตุการณ์ที่ต้องระมัดระวังในการปฏิบัติงานเพื่อทำให้สามารถควบคุมเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น จุดเสี่ยงต่างๆ ที่อาจก่อให้โรคเต้านมอักเสบในแม่โค เป็นต้น

- โรคเต้านมอักเสบ หมายถึง การอักเสบของส่วนต่าง ๆ ของเต้านม เช่น กระเปาะสร้างนม ท่อน้ำนม ท่อรวมน้ำนมหรือโพรงหัวนม ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงลักษณะของเต้านม น้ำนมและส่วนประกอบของน้ำนม มีผลให้คุณภาพน้ำนมด้อยลงไป สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่อาจพบว่าเกิดจากเชื้อราหรือยีสส์ได้ โคสามารถติดเชื้อแบคทีเรียได้จาก 2 กรณี คือ 1) จากแม่โคที่เป็นโรคเต้านมอักเสบ 2) จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว



อาการของโรคเต้านมอักเสบมี 2 ลักษณะสำคัญคือ

    เต้านมอักเสบแบบแสดงอาการ จะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเต้านมและน้ำนมจะเกิดความผิดปกติมากน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ ปริมาณเชื้อ และตัวแม่โค เต้านมอาจมีลักษณะบวม แข็ง เท่านั้น หรือในโคที่เป็นรุนแรงมากอาจถึงกับเต้านมแตกก็มีส่วนลักษณะน้ำนมอาจพบตั้งแต่น้ำนมเป็นสีเหลืองเข้มข้นจนถึงเป็นน้ำใสมีหนองปนเลือด

    เต้านมอักเสบแบบไม่แสดงอาการ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเต้านมและน้ำนมให้เห็น การอักเสบแบบนี้พบได้มากกว่าเต้านมอักเสบแบบแสดงอาการ 8 – 10 เท่า และมีสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพน้ำนมเสื่อม เนื่องจากปริมาณเชื้อแบคทีเรียและเม็ดเลือดขาวในน้ำนมสูง สามารถตรวจได้โดยใช้น้ำยา CMT หาปริมาณเม็ดเลือดขาวในน้ำนม

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน 

สอบสัมภาษณ์ 

แฟ้มสะสมผลงาน

 



ยินดีต้อนรับ