หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการดูแลโคนมในแต่ละสถานะ

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-PCOT-637A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการดูแลโคนมในแต่ละสถานะ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6121     เกษตรกรเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์สุกร โค กระบือ ม้า แพะ แกะ    

6121     เกษตรกรเลี้ยงวัว    

6121     คนงานฝีมือในการเลี้ยงปศุสัตว์    

6121     คนเลี้ยงวัว/ควาย    

6121     เกษตรกรผลิตนมโคดิบ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการวางแผนการดูแลโคนมในแต่ละสถานะ การกำหนดโปรแกรมจัดการโคนมในแต่ละช่วงอายุ การบันทึกใบประวัติและการจัดเก็บข้อมูลของโค การคัดเลือกโคเข้าขยายพันธุ์สัตว์ หลักการเลือกน้ำเชื้อและขั้นตอนการขยายพันธุ์สัตว์ การดูแลโคหลังผสม และสามารถถ่ายทอดให้พนักงานนำไปปฏิบัติได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ปศุสัตว์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565- มาตรฐานฟาร์มโคนม กรมปศุสัตว์- พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557- พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558- ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม พ.ศ. 2560- พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561- พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
C5010201

กำหนดโปรแกรมการจัดการโคนม

กำหนดโปรแกรมจัดการตัวโคนมในแต่ละช่วงอายุ 

C5010201.01 175422
C5010201

กำหนดโปรแกรมการจัดการโคนม

กำหนดกลุ่มโคนมในแต่ละระยะ

C5010201.02 175423
C5010201

กำหนดโปรแกรมการจัดการโคนม

กำหนดวิธีการบันทึกใบประวัติและการจัดเก็บข้อมูลของโคและถ่ายทอดให้พนักงานนำไปปฏิบัติ

C5010201.03 175424
C5010202

กำหนดกลุ่มโคนมเข้าขยายพันธุ์ 

กำหนดวิธีการคัดเลือกโคนมเข้าขยายพันธุ์และถ่ายทอดให้พนักงานนำไปปฏิบัติ

C5010202.01 175425
C5010202

กำหนดกลุ่มโคนมเข้าขยายพันธุ์ 

กำหนดหลักการเลือกน้ำเชื้อและขั้นตอนการขยายพันธุ์โคนมและถ่ายทอดให้พนักงานนำไปปฏิบัติ

C5010202.02 175426
C5010202

กำหนดกลุ่มโคนมเข้าขยายพันธุ์ 

กำหนดวิธีการดูแลโคนมหลังผสมพันธุ์ (กลับสัด ตรวจท้อง) และถ่ายทอดให้พนักงานนำไปปฏิบัติ

C5010202.03 175427
C5010202

กำหนดกลุ่มโคนมเข้าขยายพันธุ์ 

ตรวจสอบปัญหาและวิธีการแก้ไขในโคนมที่ผสมไม่ติด

C5010202.04 175428

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- พื้นฐานความรู้ทางด้านสัตวบาล ชีววิทยา กายวิภาค พันธุกรรม การจัดการเลี้ยงโคนม ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มโคนมตามข้อกำหนด ความรู้ด้านกฎระเบียบข้อบังคับโดยกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินกิจการฟาร์มโคนม

- ทักษะความเป็นผู้นำ การบริหารจัดการคน การตัดสินใจ วิเคราะห์แก้ไขปัญหา วางแผนงานกลยุทธ์ รู้กลไกการตลาด บริหารต้นทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

- ระบบการดำเนินงานตามความปลอดภัยทางชีวภาพ

- ความรู้การบัญชีเบื้องต้น

- การสรรหา คัดสรรและพัฒนาบุคลากรตามโครงงานที่วางแผนไว้

- ทักษะการเจรจาต่อรอง

- ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะการเลือกน้ำเชื้อและขั้นตอนการขยายพันธุ์สัตว์

- ทักษะการกำหนดกลุ่มโคนมในแต่ละระยะ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เกี่ยวกับการขยายพันธุ์สัตว์

- ความรู้เกี่ยวกับหลักการเลือกน้ำเชื้อ

- ความรู้เกี่ยวกับการจัดการตัวสัตว์ในแต่ละช่วงอายุ

- ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกใบประวัติและการจัดเก็บข้อมูลของโค

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- สามารถกำหนดกลุ่มโคนมในแต่ละระยะ

- สามารถกำหนดวิธีการบันทึกใบประวัติและการจัดเก็บข้อมูลของโค

- สามารถกำหนดวิธีการดูแลโคนมหลังผสมพันธุ์

- แฟ้มสะสมผลงาน

- ผลคะแนนการสัมภาษณ์

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

- ความรู้เกี่ยวกับการจัดการตัวโคนมในแต่ละช่วงอายุ

- ความรู้เรื่องวิธีการคัดเลือกโคนมเข้าขยายพันธุ์

- ความรู้เรื่องหลักการเลือกน้ำเชื้อและขั้นตอนการขยายพันธุ์โคนม

- ความรู้เรื่องวิธีการดูแลโคนมหลังผสมพันธุ์

- ผลคะแนนทดสอบความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

 เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานหลักฐานความรู้ ที่คลอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้

(ง) วิธีการประเมิน

สอบข้อเขียน 

สอบสัมภาษณ์ 

แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

- คะแนนวัดความสมบรูณ์ร่างกายของโคนม (Body Condition Score: BCS) หมายถึง ตัววัดความสมบูรณ์ของร่างกายโดนม ซึ่งความสมบูรณ์จะให้เป็นระดับคะแนน (0-5) คะแนนต่ำมาก หมายถึง โคผอมมาก คะแนนสูงมาก หมายถึง โคอ้วนมาก โคนมที่ดีควรมีความสมบรูณ์ร่างกายที่ไม่อ้วนหรือผอมเกินไป ระดับคะแนนควรอยู่ที่ 2.5-4.0 

- กลุ่มโคนมในแต่ละระยะ หมายถึง กลุ่มโคนมที่อยู่ในอายุและระยะการให้ผลผลิตที่แตกต่างกัน  เช่น   ลูกโค โครุ่น โคสาว โคท้อง โครีดนม โคดรายหรือโคที่หยุดรีดนม

- การดูแลโคนมหลังผสมพันธุ์ หมายถึง การจัดการดูแลเมื่อโคได้รับการผสมพันธุ์ไปแล้ว เช่น การตรวจการกลับสัด การตรวจการตั้งท้อง การผสมกรณีที่โคไม่ท้อง การดูแลโคท้อง เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน 

สอบสัมภาษณ์

แฟ้มสะสมผลงาน

 



ยินดีต้อนรับ