หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการดำเนินงานและการจัดการด้านสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมภายในฟาร์มโคเนื้อ

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-YMMY-608A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการดำเนินงานและการจัดการด้านสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมภายในฟาร์มโคเนื้อ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6121     เกษตรกรเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์สุกร โค กระบือ ม้า แพะ แกะ    

6121     เกษตรกรเลี้ยงวัว    

6121     คนงานฝีมือในการเลี้ยงปศุสัตว์    

6121     คนเลี้ยงวัว/ควาย    

6121     เจ้าของฟาร์มเลี้ยงโคเนื้อ/โคนม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในเรื่องการวางแผนการดำเนินงานและการจัดการด้านสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมภายในฟาร์มโคเนื้อ สามารถวางระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) กำหนดโปรแกรมวัคซีนและโปรแกรมถ่ายพยาธิของโคเนื้อ จัดทำระบบและขั้นตอนการดูแลรักษาสุขภาพโคเนื้อภายในฟาร์ม วางผังฟาร์มและโรงเรือนตามมาตรฐานฟาร์ม สร้างระบบการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมภายในฟาร์มให้สะอาดและปลอดภัยและจัดทำระบบการจัดการผลกระทบกับชุมชนรอบฟาร์ม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ปศุสัตว์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565- การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคเนื้อ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557- พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558- ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม พ.ศ. 2560- พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561- พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558- พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์การจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B6010401

วางระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)

เข้าใจระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ของฟาร์มโคเนื้อ

B6010401.01 175288
B6010401

วางระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)

กำหนดมาตรการเข้าออกฟาร์มโคเนื้อเพื่อป้องกันโรคระบาด

B6010401.02 175289
B6010401

วางระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)

ถ่ายทอดวิธีการจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพให้กับหัวหน้างานเพื่อวางแผนปฏิบัติงาน

B6010401.03 175290
B6010402

กำหนดโปรแกรมวัคซีนและโปรแกรมถ่ายพยาธิของโคเนื้อ

กำหนดโปรแกรมวัคซีนและโปรแกรมถ่ายพยาธิของโคเนื้อให้กับหัวหน้างานเพื่อวางแผนปฏิบัติงาน 

B6010402.01 175294
B6010402

กำหนดโปรแกรมวัคซีนและโปรแกรมถ่ายพยาธิของโคเนื้อ

จัดหาทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับใช้ในการทำวัคซีนและการถ่ายพยาธิของโคเนื้อภายในฟาร์ม

B6010402.02 175295
B6010403

สร้างระบบการดูแลรักษาสุขภาพโคเนื้อ

เข้าใจระบบและขั้นตอนการดูแลรักษาสุขภาพโคเนื้อ

B6010403.01 175307
B6010403

สร้างระบบการดูแลรักษาสุขภาพโคเนื้อ

จัดทำระบบและขั้นตอนการดูแลรักษาสุขภาพโคเนื้อภายในฟาร์ม

B6010403.02 175308
B6010403

สร้างระบบการดูแลรักษาสุขภาพโคเนื้อ

ถ่ายทอดระบบและขั้นตอนการดูแลรักษาสุขภาพโคเนื้อให้กับหัวหน้างานเพื่อวางแผนปฏิบัติงาน

B6010403.03 175309
B6010404

วางผังฟาร์มและโรงเรือนโคเนื้อตามมาตรฐานฟาร์ม

เข้าใจหลักการวางผังฟาร์มและโรงเรือนเลี้ยงโคเนื้อรวมทั้งการจัดวางแปลงพืชอาหารสัตว์ หลุมหมักพืชอาหารสัตว์และระบบบำบัดของเสียตามมาตรฐานฟาร์ม

B6010404.01 175315
B6010404

วางผังฟาร์มและโรงเรือนโคเนื้อตามมาตรฐานฟาร์ม

จัดวางผังฟาร์มและโรงเรือนเลี้ยงโคเนื้อรวมถึงแปลงพืชอาหารสัตว์ตามมาตรฐานฟาร์ม

B6010404.02 175316
B6010405

สร้างระบบการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมภายในฟาร์มโคเนื้อให้สะอาดและปลอดภัย

เข้าใจหลักการจัดการของเสียภายในฟาร์มโคเนื้อ

B6010405.01 175323
B6010405

สร้างระบบการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมภายในฟาร์มโคเนื้อให้สะอาดและปลอดภัย

จัดทำระบบการจัดการของเสียภายในฟาร์มโคเนื้อ

B6010405.02 175324
B6010405

สร้างระบบการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมภายในฟาร์มโคเนื้อให้สะอาดและปลอดภัย

ถ่ายทอดระบบการจัดการของเสียให้กับหัวหน้างานเพื่อวางแผนปฏิบัติงาน

B6010405.03 175325
B6010405

สร้างระบบการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมภายในฟาร์มโคเนื้อให้สะอาดและปลอดภัย

ควบคุมสภาพแวดล้อมภายในฟาร์มโคเนื้อให้สะอาดปลอดภัย

B6010405.04 175326
B6010406

สร้างระบบการจัดการผลกระทบต่อชุมชนรอบฟาร์มโคเนื้อ

เข้าใจหลักการจัดการผลกระทบกับชุมชนรอบฟาร์ม ทั้งเรื่องของกลิ่น เสียง และภาพลักษณ์ของฟาร์ม

B6010406.01 175327
B6010406

สร้างระบบการจัดการผลกระทบต่อชุมชนรอบฟาร์มโคเนื้อ

จัดทำระบบการจัดการผลกระทบกับชุมชนรอบฟาร์ม

B6010406.02 175328
B6010406

สร้างระบบการจัดการผลกระทบต่อชุมชนรอบฟาร์มโคเนื้อ

ถ่ายทอดระบบการจัดการผลกระทบกับชุมชนให้กับหัวหน้างานเพื่อวางแผนปฏิบัติงาน

B6010406.03 175329
B6010406

สร้างระบบการจัดการผลกระทบต่อชุมชนรอบฟาร์มโคเนื้อ

ควบคุมการปฏิบัติงานไม่ให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน

B6010406.04 175330

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- พื้นฐานความรู้ทางด้านสัตวบาล ชีววิทยา กายวิภาค พันธุกรรม การจัดการเลี้ยงโคเนื้อ ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มโคเนื้อตามข้อกำหนด ความรู้ด้านกฎระเบียบข้อบังคับโดยกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินกิจการฟาร์มโคเนื้อ

- ทักษะความเป็นผู้นำ การบริหารจัดการคน การตัดสินใจ วิเคราะห์แก้ไขปัญหา วางแผนงานกลยุทธ์ รู้กลไกการตลาด บริหารต้นทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

- ระบบการดำเนินงานตามความปลอดภัยทางชีวภาพ

- ความรู้การบัญชีเบื้องต้น

- การสรรหา คัดสรรและพัฒนาบุคลากรตามโครงงานที่วางแผนไว้

- ทักษะการเจรจาต่อรอง

- ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะในการวางแผนการดำเนินงานและการจัดการด้านสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมภายในฟาร์มให้เป็นไปตามมาตรฐาน และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนรอบข้าง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เกี่ยวกับการจัดการสุขาภิบาล

- ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับการทำฟาร์มโคเนื้อ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- สามารถกำหนดมาตรการเข้าออกฟาร์มโคเนื้อ

- สามารถกำหนดโปรแกรมวัคซีนและโปรแกรมถ่ายพยาธิของโคเนื้อ

- สามารถจัดทำระบบการจัดการของเสียภายในฟาร์มโคเนื้อ

- สามารถจัดวางผังฟาร์มและโรงเรือนเลี้ยงโคเนื้อรวมถึงแปลงพืชอาหารสัตว์ตามมาตรฐานฟาร์ม

- สามารถจัดทำระบบการจัดการผลกระทบกับชุมชนรอบฟาร์ม

- ผลคะแนนการสัมภาษณ์

- แฟ้มสะสมผลงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

- ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ของฟาร์มโคเนื้อ

- ความรู้เรื่องการดูแลรักษาสุขภาพโคเนื้อ

- ความรู้เกี่ยวกับการวางผังฟาร์มและโรงเรือนเลี้ยงโคเนื้อ

- ผลคะแนนการสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานหลักฐานความรู้ ที่คลอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้

(ง) วิธีการประเมิน

สอบสัมภาษณ์ 

แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

- ชุมชนรอบฟาร์ม หมายถึง บ้านเรือน หรือสถานที่ต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่บริเวณรอบฟาร์ม ที่อาจได้รับผลกระทบจาก กลิ่น เสียง หรือน้ำเสียจากฟาร์ม

- ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) หมายถึง ระบบการจัดการและมาตรการทางกายภาพที่ดำเนินการเพื่อป้องกันควบคุมโรค โดยการลดความเสี่ยงของการนำเชื้อโรคจากภายนอกเข้ามาสู่ฟาร์มหรือแพร่กระจายของเชื้อโรคภายในออกนอกฟาร์ม รวมถึงการแพร่กระจายของโรคในประชากรสัตว์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบสัมภาษณ์ 

แฟ้มสะสมผลงาน

 



ยินดีต้อนรับ