หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลสุขภาพโคเนื้อ

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-YQKF-581A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลสุขภาพโคเนื้อ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6121     เกษตรกรเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์สุกร โค กระบือ ม้า แพะ แกะ    

6121     เกษตรกรเลี้ยงวัว    

6121     คนงานฝีมือในการเลี้ยงปศุสัตว์    

6121     คนเลี้ยงวัว/ควาย    

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในหลักการสุขาภิบาลสัตว์เบื้องต้น สามารถระบุสาเหตุและอาการของโรคที่สำคัญในโคเนื้อ เข้าใจวิธีการป้องกันโรคติดต่อและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ปฏิบัติงานการให้ยา วัคซีน สารเสริมสุขภาพสัตว์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง ภายใต้คำแนะนำของสัตวบาลหรือสัตวแพทย์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ปศุสัตว์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคเนื้อ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์     - พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557- พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558- ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม พ.ศ. 2560- พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561- พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558- พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์การจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559- พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B4010601

ประยุกต์ใช้หลักการสุขาภิบาลโคเนื้อเบื้องต้น

ระบุสาเหตุของแหล่งกำเนิดเชื้อโรคในโคเนื้อ

B4010601.01 174925
B4010601

ประยุกต์ใช้หลักการสุขาภิบาลโคเนื้อเบื้องต้น

อธิบายพฤติกรรมของโคปกติ/โคป่วย

B4010601.02 174926
B4010601

ประยุกต์ใช้หลักการสุขาภิบาลโคเนื้อเบื้องต้น

ระบุถึงปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพของโคเนื้อ

B4010601.03 174927
B4010601

ประยุกต์ใช้หลักการสุขาภิบาลโคเนื้อเบื้องต้น

อธิบายความสำคัญของวัคซีน และความแตกต่างของการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคในโคเนื้อ

B4010601.04 174928
B4010601

ประยุกต์ใช้หลักการสุขาภิบาลโคเนื้อเบื้องต้น

ระบุวิธีการป้องกันโรคติดต่อโคเนื้อและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

B4010601.05 174929
B4010602

อธิบายเกี่ยวกับอาการของโรคที่สำคัญในโคเนื้อ

ระบุชนิดของโรคที่มักเกิดในโคเนื้อ

B4010602.01 174936
B4010602

อธิบายเกี่ยวกับอาการของโรคที่สำคัญในโคเนื้อ

ระบุเกี่ยวกับโรคชนิดติดต่อ โรคไม่ติดต่อ และโรคสัตว์ติดคน-คนติดสัตว์ (Zoonosis)

B4010602.02 174937
B4010602

อธิบายเกี่ยวกับอาการของโรคที่สำคัญในโคเนื้อ

อธิบายเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค

B4010602.03 174938
B4010602

อธิบายเกี่ยวกับอาการของโรคที่สำคัญในโคเนื้อ

อธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์ที่แสดงออกต่ออาการเจ็บป่วย

B4010602.04 174939
B4010602

อธิบายเกี่ยวกับอาการของโรคที่สำคัญในโคเนื้อ

อธิบายเกี่ยวกับสรีระวิทยา (Physiology) และกายวิภาค (Anatomy) ของโคเนื้อ

B4010602.05 174940
B4010603

ให้ยา วัคซีน สารเสริมสุขภาพสำหรับโคเนื้อได้อย่างถูกต้อง ภายใต้คำแนะนำของสัตวบาลหรือสัตวแพทย์


อธิบายวิธีการให้ยาแต่ละชนิด (กล้ามเนื้อ/ใต้ผิวหนัง/เส้นเลือด และตำแหน่งในการฉีด)

B4010603.01 174941
B4010603

ให้ยา วัคซีน สารเสริมสุขภาพสำหรับโคเนื้อได้อย่างถูกต้อง ภายใต้คำแนะนำของสัตวบาลหรือสัตวแพทย์


อธิบายขั้นตอนในการควบคุมและการให้ยาโคเนื้อ

B4010603.02 174942
B4010603

ให้ยา วัคซีน สารเสริมสุขภาพสำหรับโคเนื้อได้อย่างถูกต้อง ภายใต้คำแนะนำของสัตวบาลหรือสัตวแพทย์


อธิบายวิธีการลดอุบัติเหตุในการให้ยาและรักษาโคเนื้อ

B4010603.03 174943
B4010603

ให้ยา วัคซีน สารเสริมสุขภาพสำหรับโคเนื้อได้อย่างถูกต้อง ภายใต้คำแนะนำของสัตวบาลหรือสัตวแพทย์


ใช้ซองควบคุมบังคับโคเนื้อได้

B4010603.04 174944
B4010603

ให้ยา วัคซีน สารเสริมสุขภาพสำหรับโคเนื้อได้อย่างถูกต้อง ภายใต้คำแนะนำของสัตวบาลหรือสัตวแพทย์


อธิบายหลักการประเมินน้ำหนักโคเนื้อ

B4010603.05 174945
B4010603

ให้ยา วัคซีน สารเสริมสุขภาพสำหรับโคเนื้อได้อย่างถูกต้อง ภายใต้คำแนะนำของสัตวบาลหรือสัตวแพทย์


อธิบายวัตถุประสงค์ของการให้ยากิน/ฉีด

B4010603.06 174946
B4010603

ให้ยา วัคซีน สารเสริมสุขภาพสำหรับโคเนื้อได้อย่างถูกต้อง ภายใต้คำแนะนำของสัตวบาลหรือสัตวแพทย์


อธิบายหลักการของความสะอาดและสุขอนามัยในการให้ยาและนำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม

B4010603.07 174947
B4010603

ให้ยา วัคซีน สารเสริมสุขภาพสำหรับโคเนื้อได้อย่างถูกต้อง ภายใต้คำแนะนำของสัตวบาลหรือสัตวแพทย์


ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาและสุขาภิบาลสัตว์ ได้อย่างเหมาะสม

B4010603.08 174948

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ความรู้พื้นฐานทางด้านสัตวบาล ชีววิทยา กายวิภาค พันธุกรรม การจัดการเลี้ยงโคเนื้อ

- ความรู้พื้นที่เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มโคนมตามข้อกำหนด 

- ความรู้พื้นฐานด้านการจัดการตัวสัตว์

- ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี

- ทักษะการอ่านและการสื่อสาร

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะในการปฏิบัติงานด้านการจัดการสุขาภิบาล การป้องกันดูแล และรักษาโรคของโคเนื้อ      

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เกี่ยวกับการจัดการสุขาภิบาล เพื่อให้โคเนื้อมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง

- ความรู้เกี่ยวกับโรคของโคเนื้อที่สำคัญ

- ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาและวัคซีน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- สามารถอธิบายพฤติกรรมของโคปกติ/โคป่วย

- สามารถให้ยาแต่ละชนิด (กล้ามเนื้อ/ใต้ผิวหนัง/เส้นเลือด และตำแหน่งในการฉีด)

- สามารถใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาและสุขาภิบาลสัตว์ ได้อย่างเหมาะสม

- ผลคะแนนสาธิตการปฏิบัติงานและการสัมภาษณ์

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

- ความรู้เกี่ยวกับโรคชนิดติดต่อ โรคไม่ติดต่อ และโรคสัตว์ติดคน-คนติดสัตว์ (Zoonosis)

- ความรู้เรื่องโรคสำคัญในโคเนื้อ

- ความรู้เรื่องพฤติกรรมของสัตว์ที่แสดงออกต่ออาการเจ็บป่วย

- ความรู้เรื่องสรีระวิทยา (Physiology) และกายวิภาค (Anatomy) ของโคเนื้อ

- ผลคะแนนทดสอบความรู้และการสัมภาษณ์

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานหลักฐานความรู้ ที่คลอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้

(ง) วิธีการประเมิน

สอบข้อเขียน

สอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

- สุขาภิบาล หมายถึง หมายถึงการปฏิบัติที่ช่วยรักษาสุขภาพและป้องกันโรค การระมัดระวังให้สัตว์ปราศจากโรค

- โรคสัตว์ติดคน-คนติดสัตว์ (Zoonosis) หมายถึง โรคที่สามารถแพร่ระบาดระหว่างสัตว์สู่คน หรือ คนสู่สัตว์ได้

- สรีระวิทยา (Physiology) ของโคเนื้อ หมายถึง หน้าที่และระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายโคเนื้อ

- กายวิภาค (Anatomy) ของโคเนื้อ หมายถึง โครงสร้างร่างกายของโคเนื้อ

- สารเสริมสุขภาพสำหรับโคเนื้อ หมายถึง สารที่เติมลงในอาหารสัตว์ เพื่อจุดประสงค์ทำให้อาหารสัตว์มีคุณภาพดีกระตุ้นการเจริญเติบโต เพิ่มประสิทธิภาพการใช้อาหารและให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามความต้องการของผู้บริโภค


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน

สอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ